บทความ

ภวังคจิต

รูปภาพ
ภวังคจิต ภวังคะ หรือ ภะ-วัง-คะ ภว+องฺคะ แปลตามพยัญชนะว่า "องค์ของภพ" มักใช้รวมกับจิต เป็นภวังคจิต ในทางพระพุทธศาสนา ถือว่า จิตมีลักษณะเกิดดับอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการสืบต่อสันตติของจิต ย่อมอาศัยการถ่ายทอดข้อมูลจากภวังคจิตจิตดวงเดิม ไปสู่จิตดวงใหม่ ด้วยกระบวนการของการทำงานของภวังคจิต เพราะเหตุว่าภวังคจิตเป็นเหตุให้สร้างจิตดวงใหม่ตลอดเวลาก่อนจิตดวงเก่าจะดับไป จึงชื่อว่าเป็นเหตุแห่ง "ภพ" หรือเป็นเหตุสร้าง"ภพ"  จิต ในทางศาสนาพุทธแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ๑.วิถีจิต จิตสำนึก ๒.ภวังคจิต จิตใต้สำนึก ภวังคจิต คือจิตใต้สำนึกในทางศาสนาพุทธหมายถึงเป็นกระบวนการทำงานแบบอัตตโนมัติของจิต จิตใต้สำนึกในความหมายของภวังคจิตนี้จึงอาจแตกต่างจากทางจิตวิทยาภวังคจิต เป็น วิบากจิต คือ จิตใต้สำนึกส่วนลึกที่สุดของจิตเป็นที่สั่งสมอารมณ์จนกลายเป็นอุปนิสัย ภวังคจิต จะเกิดคั่นระหว่างวิถีจิตในแต่ละวาระ ทำหน้าที่สืบต่อและดำรงภพชาติ ภวังคจิต จะเกิดขึ้นเมื่อวิถีจิตดับและเมื่อเกิดวิถีจิตกลับมาทำหน้าที่ ภวังคจิตก็จะดับลง เมื่อวิถีจิตดับลงภวังคจิตจะเกิดขึ้นมาใหม่ ถ้าไม่มีภวังคจิต พอขาดวิถีจิต จิตจะ...

จิตกับตัณหา

รูปภาพ
ลำดับนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาต่อไปอีกว่า ดูกรอานนท์ เราตถาคตจะแสดงในข้ออันเป็นที่สุดแต่โดยย่อ ๆ พอให้เข้าใจง่ายที่สุดนั้นก็คือ จิตกับตัณหา จิต นั้นจำแนกออกไปเรียกว่ากองกุศลคือกองสุข ตัณหา นั้นจำแนกออกไปเรียกว่ากองอกุศลคือกองทุกข์ ต้นเหง้าเค้ามูลแห่งทุกข์นั้น ก็คือจิตและตัณหานี้เอง จิตเป็นผู้คิดให้ได้ดีมีสุขขึ้น ส่วนตัณหานั้นก็ให้เกิดเห็นตาม จิตมีความสุขมากขึ้นเท่าใด ตัณหาก็ให้เกิดทุกข์ตามมากขึ้นไปเท่านั้น ดูกรอานนท์ แต่เบื้องต้น เมื่อเราตถาคต ยังไม่รู้แจ้งว่าสุขและทุกข์อยู่ติดด้วยกัน เราก็ถือเอากุศลจิตอันเดียวหมายจักให้เป็นสุขอยู่ทุกเมื่อ ส่วนทุกข์จะไม่ให้มา ก็ตั้งหน้าบำเพ็ญกุศลจิตเรื่อยไป เมื่อได้สุขเท่าใด ทุกข์ก็พลอยเกิดมีเท่านั้น ครั้นภายหลัง เราพิจารณาด้วยญาณจักษุปัญญา และเห็นแจ้งชัดว่าสุขและทุกข์ติดอยู่ด้วยกัน ครั้นรู้แจ้งแล้วก็ตรึกตรองหาอุบายที่จะกำจัดสุขและทุกข์ให้พรากออกจากกันมันแสนยากแสนลำบากเหลือกำลัง จนสิ้นปัญญาหาทางไปทางมาไม่ได้เราตถาคตจึงวางเสียซึ่งสุขคืนให้แก่ทุกข์ คือวางใจให้แก่ตัณหา ครั้นเราวางใจไว้ให้แก่ตัณหาแล้ว ความสุขในพระนิพพานก็เลยเข้ามารับเราให้ถึงนิพพานด...

พุทธวิธีในการสอนของพระพุทธเจ้า

รูปภาพ
อานนท์ การแสดงธรรมให้คนอื่นฟัง มิใช่สิ่งที่กระทำโดยง่าย ผู้แสดงธรรมแก่คนอื่นพึงตั้งธรรมห้าอย่างไว้ในใจ คือ ๑.เราจักกล่าวชี้แจงไปตามลำดับ ๒.เราจักกล่าวชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงให้เข้าใจ ๓.เราจักแสดงด้วยอาศัยเมตตา ๔.เราจักไม่แสดงด้วยเห็นแก่อามิส ๕.เราจักแสดงไปโดยไม่กระทบตนและผู้อื่น ภารกิจสำคัญของการศึกษาคือการฝึกอบรมบุคคลให้พัฒนาปัญญา ให้เกิดความรู้ความเข้าใจในข้อเท็จจริงและสภาวะของสิ่งทั้งหลาย มีทัศนคติต่อสิ่งทั้งหลายอย่างถูกต้อง ปฏิบัติและจัดการกับสิ่งทั้งหลายตามที่ควรจะเป็น เพื่อให้เกิดเป็นประโยชน์ตน คือ ความมีชีวิตอยู่อย่างสำเร็จผลดีที่สุด มีจิตใจเป็นอิสระ มีสุขภาพจิตสมบูรณ์ และประโยชน์ต่อผู้อื่น คือ สามารถช่วยสร้างสรรค์ประโยชน์สุขแก่ชนทั้งหลายที่อยู่ร่วมกันเป็นสังคมได้ ลีลาการสอน เมื่อมองกว้างๆ การสอนของพระพุทธเจ้าแต่ละครั้ง จะดำเนินไปจนถึงผลสำเร็จ โดยมีคุณลักษณะซึ่งเรียกได้ว่าเป็น ลีลาในการสอน ๔ อย่าง ดังนี้ ๑. สันทัสสนา อธิบายให้เห็นชัดเจนแจ่มแจ้ง เหมือนจูงมือไปดูเห็นกับตา ๒. สมาทปนา จูงใจให้เห็นจริงด้วย ชวนให้คล้อยตาม จนต้องยอมรับและนำไปปฏิบัติ ๓. สมุตเตชนา เร้าใจให้แกล้วกล้า บ...

พระโพธิสัตว์เป็นอย่างไร

รูปภาพ
พระโพธิสัตว์ หมายถึง ผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า คำว่า "โพธิสัตว์" แปลว่า ผู้ข้องอยู่ในพระโพธิญาณ ทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานเชื่อว่ามีพระโพธิสัตว์เป็นจำนวนมาก แต่รายละเอียดความเชื่อแตกต่างกันไป ประเภทของพระโพธิสัตว์  พระธัมมปาละ ระบุไว้ในอรรถกถาสโมทานกถา (ในปรมัตถทีปนี) ว่าพระโพธิสัตว์มี  ๓ ประเภท คือ ๑. พระมหาโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญบารมีเพื่อให้ได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ๒. พระปัจเจกโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญบารมีเพื่อให้ได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ๓. พระสาวกโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญบารมีเพื่อให้ได้เป็นพระอนุพุทธะ นอกจากนี้ ในอรรถกถาเถรคาถา (ในปรมัตถทีปนี) พระธัมมปาละยังจำแนกพระมหาโพธิสัตว์ออกเป็นอีก ๓ ประเภท คือ   ๑. ปัญญาธิกโพธิสัตว์ คือพระโพธิสัตว์ที่สร้างบารมีโดยใช้ปัญญาเป็นตัวนำ ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด ๒๐ อสงไขยกับเศษแสนมหากัป คือตั้งความปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา ๗ อสงไขย หลังจากนั้นจึงออกปากกล่าววาจาต่อหน้าพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา ๙ อสงไขย รวมเป็น ๑๖ อสงไขย และได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกเป็น พระนิยตโพธิสัตว์ เมื่อเหลือเวลาอ...

ปกิณกะธรรม

🔆 ปฐมเหตุโลกและชีวิต 🔆  สวรรค์อยู่ที่ไหน 🔆  สวรรค์อยู่ที่ไหน 🔆  ข้อคิดเรื่อง เวสสันดรชาดก 🔆  บทปลงมนุษย์เอ๋ย 🔆 รู้จักพระไตรปิฎกเพื่อเป็นชาวพุทธที่แท้ (ย่อความ) 🔆 ปฏิจจสมุปบาทอย่างง่ายๆสำหรับผู้เริ่มศึกษา 🔆 ความรัก ๒ ระดับ ของบุคคลสำคัญสมัยพุทธกาล 🔆 กาลามสูตร ตรรกวิทยาและความศรัทธา 🔆 องุ่นเปรี้ยวและการมองโลกในแง่ร้าย กับ การปฏิบัติธรรม 🔆 ความสำคัญของสัมมาสมาธิในพุทธศาสนา 🔆 การฝึกสมาธิเบื้องต้นเพื่อความสุขในชีวิตประจำวัน 🔆 ๗ สิ่งที่พึงระวังในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน 🔆 การทำทานและผลของทาน 🔆 จากขันธ์ ๕ และไตรลักษณ์ สู่อนัตตลักขณสูตร 🔆  นางขุชชุตตราสาวพิการหลังค่อม 🔆  การเวียนว่ายตายเกิด 🔆  ปล่อยว่าง (อัญญาณุเบกขา) 🔆  วิปัสสนูปกิเลส 🔆  พุทธวงศ์ ๒๕ พระองค์ 🔆  ญาณทัสสนะ วน ๓ รอบ มี ๑๒ อาการ พระญาณก่อนการตรัสรู้ 🔆  สมสีสีบุคคล 🔆 จากอินเดียสู่เอเซีย 🔆  บารมี ๑๐ สำหรับผู้ปราถนาเป็นพระพุทธเจ้า 🔆  ที่มาของการแบ่งนิกายในศาสนาพุทธ 🔆  เถรวาท-มหายาน  🔆  พระโพธิสัตว์ 🔆 ...

เถรวาท-มหายาน ต่างกันอย่างไร

รูปภาพ
 คำถามที่คนจำนวนมากมักถามกัน: พุทธมหายานกับเถรวาทต่างกันอย่างไร ? หากต้องการเห็นสิ่งต่าง ๆ ใน ๒ นิกาย เราต้องย้อนกลับไปที่ประวัติศาสตร์ของพุทธศาสนาและพิจารณาการเกิดขึ้นและการพัฒนาของนิกายทั้ง ๒ นี้ หลังจากการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระองค์มีพระชันษา ๓๕ ชันษาจนถึงพระมหาปรินิพพานเมื่อชันษา ๘๐ ท่านใช้ชีวิตในการเทศนาสั่งสอนด้วยความทุ่มเททั้งกลางวันและกลางคืน พระพุทธองค์จะใช้เวลาในการนอนเพียงแค่วันละ ๒ ชั่วโมง การนอนของพุทธองค์ก็เพียงเพื่อให้กายดำรงอยู่ได้โดยปกติเท่านั้น ไม่ใช่การนอนเพราะความอยากนอน พระพุทธเจ้าตรัสสั่งสอนธรรมะกับคนทุกประเภท กษัตริย์, เจ้าชาย, พราหมณ์, ชาวนา, ขอทาน ฯ โดยพระพุทธเจ้าจะเป็นผู้ตรวจสอบว่าจะใช้วิธีการใด คุณลักษณะใดในการสอน ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น ลีลาในการสอนของพุทธองค์ คำสอนของพุทธองค์ทั้งหมดเรียกว่าพุทธวจนะ มี ๒ ส่วนคือ ส่วนแรก คือการวางกฏระเบียบต่างๆเรียกว่าพระวินัย ส่วนสอง คือคำเทศนาหรือวาทกรรมต่างๆเรียกว่าพระธรรม การประชุมสงฆ์หรือการสังคายนาครั้งนี้ ก็เพื่อให้เกิดความเข้าใจให้ตรงกันเกี่ยวกับหลักคำสอนและมีแนวทางปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียวกัน การสังคา...

พระโพธิสัตว์ ๕๔๗ ชาติ

รูปภาพ
๐๑.เอกนิบาต ๑๕๐ ชาติ ๑.๑ อปัณณกชาดก ๑.๒ วัณณุปถชาดก ๐๒.ทุกนิบาต ๑๐๐ ชาติ ๐๓.ติกนิบาต ๕๐ ชาติ ๐๔. จตุกกนิบาต ๕๐ ชาติ ๐๕. ปัญจกนิบาต ๒๕ ชาติ ๐๖. ฉักกนิบาต ๒๐ ชาติ ๐๗. สัตตกนิบาต ๒๑ ชาติ ๐๘. อัฏฐกนิบาต ๑๐ ชาติ ๐๙. นวกนิบาต ๑๒ ชาติ ๑๐. ทสกนิบาต ๑๖ ชาติ ๑๑. เอกาทสกนิบาต ๙ ชาติ ๑๒. ทวาทสนิบาต ๑๐ ชาติ ๑๓. เตรสนิบาต ๑๐ ชาติ ๑๔. ปกิณณกนิบาต ๑๓ ชาติ ๑๕. วิสตินิบาต ๑๔ ชาติ ๑๖. ติงสตินิบาต ๑๐ ชาติ ๑๗. จัตตาฬีสนิบาต ๕ ชาติ ๑๘. ปัญญาสนิบาต ๓ ชาติ ๑๙. สัฏฐินิบาต ๒ ชาติ ๒๐. สัตตตินิบาต ๒ ชาติ ๒๑. อสีตินิบาต ๕ ชาติ ๒๒. มหานิบาต ๑๐ ชาติ

พุทธประวัติ

รูปภาพ
พุทธประวัติ คือ ประวัติเรื่องราวต่าง ๆ ของพระโคตมพุทธเจ้า ตลอดถึงเรื่องราวต่างของบุคคลและสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้ จนถึงดับขันธปรินิพพาน สารบัญหน้าเว็บย่อย ๐๑. ศากยวงศ์ ๐๒. พระโพธิสัตว์จุติ ๐๓. ประสูติ ๐๔. คำทำนายโหราจารย์ ๐๕. เสด็จออกบรรพชา ๐๖. ตรัสรู้ ๐๗. เสวยวิมุติสุข ๐๘. ปฐมเทศนา ๐๙. พุทธกิจ ๔๕ พรรษา  - ๐๙.๑ พรรษาที่ ๑    🔊  - ๐๙.๒ พรรษาที่ ๒-๔    🔊  - ๐๙.๓ พรรษาที่ ๕    🔊  - ๐๙.๔ พรรษาที่ ๖    🔊  - ๐๙.๕ พรรษาที่ ๗    🔊  - ๐๙.๖ พรรษาที่ ๘     🔊  - ๐๙.๗ พรรษาที่ ๙    🔊  - ๐๙.๘ พรรษาที่ ๑๐    🔊   - ๐๙.๙ พรรษาที่ ๑๑-๔๕   ๑๐. ปรินิพพาน สถานที่หลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์๔ สังเวชนียสถาน แห่งที่๑ เสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช ปักไว้เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังทราบว่าตรงจุดนี้ เป็นที่ที่พระบรมศาสดาออกจากพระครรภ์ของพระมารดา ปัจจุบันสถานที่นี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศอินเดีย และสถานที่ประสูต...

๔. ดิรัจฉานภูมิ

รูปภาพ
ดิรัจฉาน หมายความว่า ไปขวาง คือเดินไปตามขวาง หรือขวางจากมรรคผลนิพพาน ดิรัจฉาน มี ๒ ชนิด คือ ดิรัจฉานที่ไม่เห็นได้ด้วยตาเป็นปกติ เช่น พญานาค กินนรา พญาครุฑ เป็นต้น และที่เห็นได้ด้วยตาเป็นปกติ เช่น สุนัข แมว ช้าง ปลา เป็นต้น ดิรัจฉาน จำแนกโดยขา มี ๔ จำพวก คือ ๑. อปทติรัจฉาน ได้แก่ ดิรัจฉานที่ไม่มีขา เช่น ปลา งู เป็นต้น ๒. ทวิปทติรัจฉาน ได้แก่ ดิรัจฉานที่มี ๒ ขา เช่น นก เป็นต้น ๓. จตุปปทติรัจฉาน (อ่านว่า จะ-ตุป-ปะ-ทะ-ติ-รัด-ฉาน) ได้แก่ ดิรัจฉานที่มี ๔ ขา เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น ๔. พหุปปทติรัจฉาน (อ่านว่า พะ-หุป-ปะ-ทะ-ติ-รัด-ฉาน) ได้แก่ดิรัจฉานที่มีขามากกว่า ๔ ขา เช่น ปู แมงมุม ตะขาบ เป็นต้น ดิรัจฉานโดยทั่วไป มีทั้งอดอยาก อ้วนพี มีความเดือดร้อน ที่มีสุขมากก็มีเหมือนกันแต่มีจำนวนน้อย ส่วนใหญ่จะมีความเดือดร้อนมาก มีความสุขน้อย  ดิรัจฉานมีสัญชาตญาณ หรือสัญญา ๓ อย่าง คือ ๑. กามสัญญา คือ รู้จักเสวยกามคุณ ๒. โคจรสัญญา คือ รู้จักกินนอน ๓. มรณสัญญา คือ รู้จักกลัวตาย สัญญาทั้ง ๓ นี้มีแก่สัตว์ดิรัจฉานทั้งหลาย คือสัตว์รู้จักสืบพันธุ์ รู้จักกิน รู้จักนอน และกลัวตายแต่มนุษย์นั้นมีสัญญาต่า...

โลกันตนรก

รูปภาพ
โลกันตนรก เป็นนรกขุมใหญ่พิเศษ ซึ่งตั้งอยู่ที่ระหว่างช่องว่างของขอบจักรวาลทั้ง ๓ ที่เชื่อมต่อกัน มีแต่ความมืดสนิท สัตว์ที่อุบัติในโลกันตนรกนี้จะมีร่างกายใหญ่โตมหึมามีเล็บเท้ายาวเกาะอยู่ตามขอบเชิงจักรวาลห้อยโหนตัวอยู่ตลอดกาล เมื่อไปพบพวกเดียวกันต่างก็คิดว่าเป็นอาหารจึงไล่ตะปบกัน จนตกลงมาในน้ำกรดที่เย็นยะเยือก สัตว์นั้นก็จะละลายเป็นจุณหายไป แล้วอุบัติเกิดขึ้นใหม่ที่ขอบจักรวาลนั้น ห้อยโหนตัวอยู่ไปมาและเมื่อ พบกันก็ตะปบกัน ต่อสู้กัน พลาดพลั้งก็ตกลงไปในน้ากรด ร่างก็ละลาย เป็นเช่นนี้ไปตลอดกาล (นรกขุมนี้เป็นขุมพิเศษ เป็นที่อยู่ของพวกอสุรกายประเภท นิรยอสุรา) ทำบาปกรรมอะไรจึงเกิดในโลกันตนรก ๑. เป็นผู้ประทุษร้ายทรมานบิดามารดา ปราศจากความกตัญญูกตเวที ๒. เป็นมิจฉาทิฏฐิบุคคล คือ ไม่เชื่อบุญบาป ไม่เชื่อนรกสวรรค์ แล้วทำบาปอยู่เป็นนิจ ๓. ประทุษร้ายต่อผู้ทรงศีล ทรงธรรม หรือกระทำปาณาติบาตฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเป็นประจำทุกวัน ด้วยอำนาจของกรรมหนักเหล่านี้ จึงส่งผลให้เกิดในโลกันตนรกซึ่งมืดมิดอยู่เป็นนิตย์ตลอดกาลนาน ครั้นเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก จึงมีโอกาสเห็นแสงสว่างขึ้นแวบหนึ่งประมาณชั่วฟ้าแล่บ...

๓. นรกภูมิ

รูปภาพ
อบายภูมิ ๔ แดนเกิดของกรรมฝุายชั่ว อบายภูมิ คือ ภูมิอันเป็นที่อยู่ของสัตว์ที่มีเจตนาฝ่ายอกุศลกรรมนำเกิด เป็นภูมิที่ขวางต่อนิพพาน มี ๔ ภูมิ ได้แก่ ๑. นิรยะ แปลตามศัพท์ว่า ที่ที่ไร้ความเจริญ หรือเรียกว่า นรกภูมิ ๒. ติรัจฉานโยนิ กำเนิดดิรัจฉาน ได้แก่ สัตว์ดิรัจฉานทุกประเภท หรือเรียกว่า ดิรัจฉานภูมิ ๓. เปตวิสย ะ วิสัยเปรต ได้แก่ ภูมิภพของเปรต หมายถึง สัตว์จำพวกหนึ่งที่เกิดมาเพื่อรับผลกรรมที่เป็นเศษของกรรม เช่นเมื่อไปนรกแล้ว พ้นจากนรก แต่กรรมนั้นยังไม่หมด ยังมีเศษของกรรมเหลืออยู่ ก็ต้องไปเกิดเป็นเปรต ใช้เศษของกรรมไปจนหมดก่อน ๔. อสุรกายะ แปลว่า สัตว์ที่ได้รับทุกข์ นรกภูมิ นรกภูมิ เป็นสถานที่เกิดของผู้ที่ทำบาปอกุศลไว้ เมื่อบุคคลผู้ทำบาปตายลง ถ้าบาปอกุศลนั้นส่งผลจะส่งผลนำเกิดในนรก ต้องเสวยผลของบาปที่ทำไว้ ได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัส แบ่งเป็นขุมได้ ๘ ขุม เรียกว่า “ มหานรก ๘ ขุม ” มหานรก มี ๘ ขุม      ๑. สัญชีวนรก แปลว่า คืนชีวิตขึ้นเอง หมายถึงสัตว์นรกในขุมนี้ถูกตัดเป็นท่อนเล็กท่อนใหญ่แล้วก็กลับคืนชีวิตขึ้นมาเองอีก ได้รับการทรมานอยู่ร่่ำไป      ๒. กาฬสุตตนรก ...