บทความ

๕. ญาณ ๑๖ (หน้า ๒)

รูปภาพ
( 🙏 กลับไปอ่าน ญาณ ๑๖ หน้าแรก  ) ๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ มุญจิตุกัมยตาญาณ หมายความว่า ญาณที่มีความปรารถนาใคร่จะพ้นจากรูปนาม โดยที่พิจารณาเห็นรูปนามเป็นของน่ากลัว มีทุกข์ มีโทษ เป็นเหยื่อลวงให้หลงติดอยู่ในวัฏฏสงสาร เป็นสังขารผู้ปรุงแต่งให้ได้รับความเดือดร้อนและมีความแปรปรวนอยู่เป็นนิตย์ จิตก็เกิดความเบื่อหน่าย อยากออก อยากหนี อยากหลุด อยากพ้นจากสังขตธรรม อยากพ้นจากสังสารวัฏ ใจก็น้อมไปสู่พระนิพพาน จิตของผู้ปฏิบัติธรรมเมื่อดำเนินมาถึงมุญจิตุกัมยตาญาณแล้ว ก็อยากจะหลุดอยากจะพ้นจากสังสารวัฏฏ์ เพราะพิจารณาเห็นแน่ชัดแล้วว่าความเกิดในภพนี้ความเป็นไปของขันธ์ที่เกิดแล้ว ความไม่เที่ยงของรูปนาม การสั่งสมกรรมที่จะให้เกิดอีกการเกิดมาอีกทำให้คติต่างๆที่จะไปเกิด เช่นทุคติ สุคติ ความบังเกิดขึ้นของขันธ์ทั้งหลายความเป็นไปแห่งผลกรรม ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ อุปายาส เป็นภัยเป็นทุกข์เป็นโทษ เป็นเหยื่อล่อให้หลงติดอยู่ในภพ เป็นสังขารปรุงแต่งให้ได้รับความเดือดร้อนทั้งนั้น จึงเกิดความเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ไม่ชอบ ไม่ติด จิตอยากออกอยากหนี อยากหลุด อยากพ้น เพราะเห็นประจักษ์ชัดแล้วว่า ถ้าไม่มีรูปนามเสียได้ จะ...

๕. ญาณ ๑๖

รูปภาพ
ผู้ปฏิบัติที่ใคร่ครวญพิจารณารูปนามอยู่เนืองๆ ด้วยวิธีการโดยแง่มุมต่างๆ เมื่อปัญญาญาณเกิดขึ้นก็จะเกิดขึ้นไปตามลำดับ ปัญญาความรู้ที่เกิดขึ้นจะเป็นเครื่องชี้วัดระดับปัญญาในขั้นการปฏิบัตินั้นเรียกว่าญาณ ซึ่งญาณปัญญามีถึง ๑๖ ระดับ แบ่งได้ดังนี้ ๑. นามรูปปริจเฉทญาณ นามรูปปริจเฉทญาณ คือ ปัญญาที่กำหนดรู้เห็นรูปนามขันธ์ ๕ ตามสภาวะที่แท้จริง เมื่อผู้ปฏิบัติดำเนินการปฏิบัติตามวิธีต่างๆ ที่ได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้น ผลของการปฏิบัติจะทำให้วิปัสสนาญาณต่างๆ ปรากฏเกิดขึ้นตามลำดับ เริ่มตั้งแต่นามรูปปริจเฉทญาณ เป็นต้นไป การกำหนดรูปนามทางขันธ์ ๕ สำหรับผู้เริ่มปฏิบัติขอให้กำหนดรูปนามทางขันธ์ ๕ โดยกำหนดดังนี้ ( รูปปรมัตถ์ ) ในสรีระร่างกายนั้นประกอบด้วย รูป ๒๘ รูป คือ นิปผันนรูป ๑๘ ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ ปสาทรูป ๕ วิสยรูป ๔ ภาวะรูป ๒ หทยรูป ๑ ชีวิตรูป ๑ อาหารรูป ๑ อนิปผันรูป ๑๐ ได้แก่ ปริจเฉทรูป ๑ วิญญัติรูป ๒ วิการรูป ๓ ลักขณะรูป ๔ การกำหนดรูปขันธ์ต้องกำหนดที่นิปผันนรูป๑๘ (ส่วนอนิปผันรูป ๑๐ ไม่ต้องกำหนดรู้เพราะไม่สามารถนำมาพิจารณาโดยความเป็นไตรลักษณ์ได้) เจตสิก ๕๒ กำหนดเวทนาเจตสิกที่ประกอบกับโลกียจิต ๘๑ เป็นเวท...

วิปัสสนูปกิเลส ๑๐

รูปภาพ
วิปัสสนูปกิเลส มี ๑๐ คือ ๑. โอภาส คือ แสงสว่าง หมายถึงแสงสว่างในวิปัสสนา สำหรับผู้ปฏิบัติแต่ละท่านจะมีกำลังของแสงสว่างไม่เท่ากัน บางท่านส่องสว่างเพียงที่นั่ง ส่องสว่างตลอดภายในห้อง ส่องสว่างภายนอกห้องด้วย ส่องสว่างไปทั่ววิหารทั้งหมด เป็นต้น ส่องสว่างไปไกลเป็นโยชน์ๆ (แต่ของพระพุทธเจ้าส่องสว่างไปตลอด ๑๐,๐๐๐ โลกธาตุ) เมื่อเกิดขึ้นอย่างนี้ผู้ปฏิบัติก็คิดว่า “ แสงสว่างเช่นนี้ไม่เคยปรากฏแก่ตัวเราเลยเราคงบรรลุมรรคผลแน่แล้ว ” เมื่อเข้าใจผิดเช่นนี้ก็ยึดถือเอาแสงสว่างนั้นเองว่าเป็นมรรคผล จึงเป็นเหตุให้วิปัสสนาญาณออกไปนอกทาง เพราะผู้ปฏิบัติจะละทิ้งอารมณ์วิปัสสนาเดิมแล้วกลับไปนั่งชื่นชมแสงสว่างนั้นอยู่ด้วยอำนาจของตัณหา มานะ และทิฏฐิ โดยส่วนมากวิปัสสนูปกิเลสนี้มักเกิดแก่ผู้ที่เจริญวิปัสสนาภาวนา แบบสมถวิปัสสนา คือ เจริญสมถะมาก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนาภายหลัง เมื่อเกิดโอภาสแสงสว่าง และกิเลสทั้งหลายก็ไม่เกิดขึ้นกับเราเลย เพราะว่ากิเลสที่ถูกข่มไว้ด้วยอำนาจของสมาธิไม่สามารถกำเริบได้ จึงทำให้ผู้ที่ได้สมถวิปัสสนานั้นเกิดความคิดว่า “ ได้เป็นพระอรหันต์ ” ๒. ญาณ หมายถึง วิปัสสนาญาณ ในขณะที่ผู้ปฏิบัติกำลังเท...

พุทธวงศ์ ๒๕ พระองค์

รูปภาพ
พุทธวงศ์ หมายถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงอุบัติขึ้นมาแล้วในโลก มีทั้งสิ้นจนถึงปัจจุบัน ๒๕ พระองค์ ๑. ทีปังกรพุทธวงศ์ พระโพธิสัตว์พระนามว่าทีปังกรพระองค์นี้ ทรงบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ทรงบำเพ็ญบารมีมา ๑๖ อสงไขย กับอีกแสนกัป เมื่อพระองค์จะทรงสงเคราะห์มหาชนได้เสด็จจาริกไปบนภูเขานารทกูฏซึ่งมียักษ์ อยู่ ทรงแสดงอานุภาพ และโปรดให้ยักษ์ตนนั้นพร้อมบริวาร ๑๐,๐๐๐ ตนให้ดำรงอยู่ในศีลธรรม ๒. โกณฑัญญพุทธวงศ์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า โกณฑัญญะ เสด็จปฏิสนธิในตระกูลกษัตริย์แห่งนครรัมมวดี ทรงมีพระชนมายุ  ๑๐๐,๐๐๐ ปี ครั้นทรงบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้วทรงยับยั้งอยู่ด้วยความสุขในผล สมาบัติ  ณ โคนโพธิพฤกษ์ ๗ สัปดาห์ ทรงประกาศพระสัทธรรมให้รุ่งเรือง ๓. มังคลพุทธวงศ์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า มังคละ พระประยูรญาติทั้งหลายได้ขนานพระนามว่ามงคล เพราะพระองค์ ประสูติด้วยมงคลสมบัติทุกอย่าง ครั้นเมื่อพระองค์ทรงยังเป็นพระโพธิสัตว์ ได้มอบลูกน้อย ๒ องค์แก่ยักษ์ เพื่อเป็นทาน พระองค์ทรงมีพระชนมายุ ๙๐,๐๐๐ ปี พระศาสนาของพระองค์ดำรงอยู่ ๙๐,๐๐๐ ปีแล้วได้อันตรธานไป ๔. สุมนพุทธวงศ์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพ...