วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ปฎิจจสมุปบาท

ควรทำความเข้าใจในอริยสัจ ๔ ก่อน เพื่อเป็นฐานในการวิปัสนาไตรลักษณ์ ในวงของปฎิจสมุปบาทจะนำมาใช้ร่วมกับวิปัสนาในตอนหลัง เมื่อรู้แจ้งเห็นทุกข์แล้วทั้งการเกิดขึ้นและการดับทุกข์ ปฎิจสมุปบาทจะใช้ในการกำกับอีกชั้นหนึ่ง สืบหาเหตุปัจจัยของทุกข์ในฝ่ายอนุโลม และทางดับทุกข์ในฝ่ายปฎิโลม ปฎิจสมุปบาทจะเป็นฝ่ายสนับสนุนวิปัสนา ตัววิปัสนาที่แท้จริงคือไตรลักษณะในอริยสัจ  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากไม่มีสุตตะมยปัญญาเป็นพื้นฐานแล้ว จินตามยปัญญาและภาวนามยปัญญาก็เกิดตามไม่ได้

หมายเหตุ: ทั้งอริยสัจและไตรลักษณ์มีความหมายครอบคลุมกระบวนธรรมทั้งหมด มีเนื้อหาจำนวนมาก ผู้ศึกษาต้องทำความเข้าใจเป็นไปตามลำดับจนกว่าจะวิปัสนาแยกธาตุ+แยกขันธ์ แยกรูป+แยกนาม ได้ด้วยปัญญาญาณ เห็นตามจริงในคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อเห็นตามจริงดังที่พระพุทธองค์นำมาเปิดเผยแล้ว ก็จะเป็นการทำลายความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนที่เคยยึดถือเอาไว้อย่างไม่มีอะไรติดค้าง ความลังเลสงสัยทั้งหมดที่เคยมีก็จะไม่เหลือ เพราะได้รู้เห็นตามสภาวะที่แท้จริงแล้ว ศีลวัตรข้อประพฤติปฎิบัติก็จะเป็นไปตามที่พระพุทธองค์วางกรอบแนวทางเอาไว้ ในปลายทางของผู้ปฎิบัติ เมื่อมาถึงจุดที่รู้ตามได้แล้วก็จะยกระดับจิตเข้าสู่วิถีของอารยชนได้โดยไม่ยากอีกต่อไป

🔅 ปฎิจจสมุปบาท โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
        หน้า๑ ความหมายของคำว่า "ปฏิจจสมุปบาท"
        หน้า๒ กระบวนการของปฏิจจสมุปบาท ๑๒ หัวข้อ

🔅 ปฎิจจสมุปบาทนานาทัศนะ โดย เสถียร โพธินันทะ
        หน้า๑ สมบูรณภาพนิยม
        หน้า๒ ปัจจยธรรม ปัจจยะสมุปปัณณธรรม
        หน้า๓ ปฎิจจสมุปบัณณะคืออะไร
        หน้า๔ มัชฌิมาปฏิปทาคืออะไร
        หน้า๕ อวิชชากับภวตัณหา
        หน้า๖ เหตุแห่งภพ
        หน้า๗ 
เหตุแห่งภพ (๒)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น