บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ พระอภิธัมมัตถสังคหะ

กิจจสังคหะ

รูปภาพ
แสดงการรวบรวมจิต เจตสิก โดยประเภทแห่งกิจชื่อว่า “ กิจจสังคหะ ” คาถาสังคหะ ปฏิสนฺธาทโย นาม-  กิจฺจเภเทน จุทฺทส ทสธา ฐานเภเทน   จิตฺตุปฺปาทา ปกาสิตา ฯ แปลความว่า บรรดาจิตทั้งหลายที่ปรากฏขึ้น มีปฏิสนธิจิต เป็นต้น ว่า โดยประเภทแห่งกิจ มี ๑๔ กิจ ว่า โดยประเภทแห่งฐาน มี ๑๐ ฐาน 🔅 อธิบาย ในบรรดาการงานทั้งหลาย ที่เกี่ยวด้วย กาย, วาจา หรือใจ ต่าง ๆ เหล่านี้ จะสำเร็จลุล่วงลงได้ ก็ล้วนแต่จะต้องอาศัยจิตและเจตสิก เป็นผู้ควบคุมและสั่งการให้การงานที่เกี่ยวด้วย กาย, วาจา ใจ ต่าง ๆ เหล่านั้น เป็นไปได้จนเป็นผลสำเร็จ กล่าวคือ ทางกาย ให้สำเร็จเป็นการกระทำต่าง ๆ มีการนั่ง-นอน-ยืน-เดิน-ขีด-เขียน เป็นต้น การงานเหล่านี้สำเร็จลงได้ เพราะจิตเจตสิกสั่งให้กระทำ ถ้าจิตเจตสิกไม่สั่งให้กระทำแล้ว การงานนั้นๆ ก็จะสำเร็จลงไม่ได้ ทางวาจา ให้สำเร็จเป็นการพูด, การอ่าน, การร้องเพลง, ร้องไห้, การปาฐกถา, การแสดงธรรม, การด่าทอ-บริภาษ เป็นต้น เหล่านี้สำเร็จลงได้เพราะจิตและเจตสิกสั่งให้กระทำ ถ้าจิตและเจตสิกไม่สั่งให้พูดแล้ว การงานนั้นก็จะสำเร็จลงไม่ได้แน่นอน ทางใจ การงานที่เกี่ยวกับใจ มีการคิดนึกเรื่องราวต่าง ...

เหตุสังคหะ

รูปภาพ
แสดงการรวบรวมจิตและเจตสิก โดยประเภทแห่งเหตุ ชื่อว่า “ เหตุสังคห ะ” คาถาสังคหะ โลโภ โทโส จ โมโห จ    เหตู อกุสลา ตโย อโลภาโทสาโมหา จ    กุสลาพฺยากตา ตถา ฯ แปลความว่า โลภะ, โทสะ โมหะเป็นอกุศลเหตุ อโลภะ, อโทสะ อโมหะเป็นกุศลเหตุ และอพยากตเหตุ อธิบาย “เหตุ” คือ ธรรมชาติที่ให้ผลธรรมเกิดขึ้น และให้ผลธรรมนั้นมีสภาพมั่นคงอยู่ในอารมณ์ กับทั้งยังผลธรรมนั้นให้เจริญยิ่งขึ้น ดังวจนัตถะว่า หิโนติ วตฺตติ ผลํ    เอเตหิ อิติ เหตุโว  ลทฺธเหตูหิ เต ถิรา    รูฬฺหมูลาว ปาทปา ฯ แปลความว่า ผลย่อมเป็นไปด้วยธรรมชาติเหล่านั้น ฉะนั้นธรรมชาติเหล่านั้น ชื่อว่า “เหตุ” (โอชา) ที่ตนได้แล้วนั้น เหมือนกับต้นไม้ทั้งหลายที่มีรากเจริญมั่นคงด้วยเหตุ หมายความว่า ธรรมทั้งหลายได้รับอุปการะจากเหตุ ย่อมมีสภาพมั่นคงในอารมณ์ และเจริญยิ่งขึ้น ประดุจต้นที่ตั้งมั่น และงอกงามเผยแผ่ไปฉะนั้น ธรรมที่เป็นเหตุ ทำให้ผลธรรมปรากฏขึ้น มี ๖ ประการ คือ :- โลภเหตุ องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก โทสเหตุ องค์ธรรมได้แก่ โทสเจตสิก โมหเหตุ องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก อโลภเหตุ องค์ธรรมได้แก่ อโลภเจตสิก อโทสเหตุ อง...

เวทนาสังคหะ

รูปภาพ
แสดงการรวบรวมจิต เจตสิก โดยประเภทแห่งเวทนา ชื่อว่า “เวทนาสังคหะ” คาถาสังคหะ สุขํ ทุกฺขมุเปกฺขาติ   ติวิธา ตตฺถ เวทนา โสมนสฺสํ โทมนสฺส   มิติ เภเทน ปญฺจธา ฯ แปลความว่า ในเวทนาสังคหะนั้น ว่าโดยอารัมมณานุภวนลักขณะ คือตามประเภทแห่งอารมณ์แล้ว มีเวทนา ๓ อย่าง คือ ๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา ๓. อุเบกขาเวทนา เมื่อว่าโดยอินทริยเภท คือ ประเภทความเป็นใหญ่ของเครื่องรับอารมณ์แล้ว มีเวทนา ๕ อย่าง คือ เพิ่ม โสมนัสเวทนา และ โทมนัสเวทนา  รวมเข้าด้วยกัน จึงเป็นเวทนา ๕ อธิบาย “เวทนา” เป็นเจตสิกปรมัตถ์อย่างหนึ่ง ซึ่งมีการเป็นไปโดยอาการเสวยอารมณ์ เป็นลักษณะ หรือเป็นธรรมชาติที่มีความรู้สึกต่อบรรดาอารมณ์ต่าง ๆ ที่มาปรากฏ การสงเคราะห์จิต เจตสิก โดยประเภทแห่งเวทนานี้ มีแสดงไว้เป็น ๒ นัย คือ นัยที่ ๑ แสดงโดย อารัมมณานุภวนลักขณนัย คือ นัยที่แสดงการเสวยอารมณ์ ตามประเภทของอารมณ์  นัยที่ ๒ แสดงโดย อินนทริยเภทนัย คือ นัยที่แสดงถึงสภาพความเป็นใหญ่ในการเสวยอารมณ์ ตามประเภทของเครื่องรับอารมณ์ นัยที่ ๑ อารัมมณานุภวนลักขณนัย มีเวทนา ๓ ในบรรดาอารมณ์ ๖ คือ รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะและธัมมารมณ์ที่สั...

ความเบื้องต้น ปกิณณกสังคหวิภาค

รูปภาพ
ปริจิตเฉทที่ ๓ ปกิณณกสังคหวิภาค    นโ ม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทฺธสฺส ฯ ความเบื้องต้น  พระอนุรุทธาจารย์ได้รวบรวมพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๓ ขึ้น อันมีชื่อว่า ปกิณณกสังคหวิภาค ปกิณกกะ แปลว่า กระจัดกระจาย, คละกัน, เบ็ดเตล็ด, เรี่ยราย โดยทั่ว ๆ ไป   สังคหะ แปลว่า รวบรวม   วิภาค แปลว่า ส่วน หรือ ตอน ฉะนั้น ปกิณณกสังคหวิภาค จึงแปลว่า ส่วนที่รวบรวมจิตและเจตสิก ที่กระจัดกระจายอยู่โดยทั่ว ๆ ไป กล่าวคือ แสดงการรวบรวมจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้น โดยประเภทแห่งเวทนา, เหตุ, กิจ, ทวาร, อารมณ์ และวัตถุ ตามสมควร พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๓ ว่าด้วยปกิณณกสังคหวิภาคนี้ พระอนุรุทธาจารย์ได้แสดงคาถาสังคหะไว้ ๑๔ คาถา ซึ่งจะได้ขยายความตามลำดับคาถา ดังต่อไปนี้ คาถาสังคหะ ๑. สมฺปยุตฺตา ยถาโยคํ   เตปญฺญาส สภาวโต จิตฺตเจตสิกา ธมฺมาส   เตสํ ทานิ ยถารหํ ฯ แปลความว่า สภาวธรรม ๕๓ คือจิตและเจตสิก มีชื่อว่า นามเตปญฺญาสน (นาม ๕๓) ได้แสดงโดยลักษณะของตน ๆ ที่ประกอบด้วย เอกุปฺปาทตา (ความเกิดพร้อมกัน) เป็นต้น และการประกอบซึ่งกันและกัน ตามที่ประกอบได้โดยพิสดาร แสดงม...

โลกุตรจิตพิสดาร ๔๐ ดวง

รูปภาพ
การนับโลกุตรจิตนั้น มี ๒ นัย      ๑)โลกุตรจิต นับโดยย่อ มีจำนวน ๘ ดวง      ๒) โลกุตรจิต นับโดยพิสดาร มีจำนวน ๔๐ ดวง โลกุตรจิต โดยย่อ ๘ ดวงนั้น ได้แสดงไว้แล้ว ซึ่งได้แก่ มัคคจิต ๔ และผลจิต ๔ รวมเป็น ๘ ดวง โลกุตรจิตที่นับโดยย่อนี้ หมายถึงโลกุตรจิตที่ประกอบด้วย อารัมมนูปนิชฌาน โดยที่ ผู้ปฏิบัติพิจารณาการเกิดดับของสังขารธรรม รูป นาม เป็นอารมณ์ จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ที่เรียกว่า สุขวิปัสสกพระอรหันต์ โลกุตรจิตที่ไม่มี อารัมมนูปนิชฌานนี้ อนุโลมนับรวมอยู่ในปฐมฌาน โดยเหตุที่ว่า มีเจตสิกที่เป็นองค์ของปฐมฌานประกอบอยู่ครบ แต่พระโยคาวจรผู้เป็นสุขวิปัสสกไม่สามารถพิจารณาองค์ฌานให้เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้ และไม่อาจละองค์ฌาน มีวิตก วิจาร เป็นต้นได้ และไม่สามารถ เข้าปฐมฌานได้ หรือพระโยคาวจรฌานลาภีบุคคล ที่นิยมวิปัสสนา ไม่นิยมฌานที่ตนได้ แต่พิจารณาสังขารธรรม มีรูป นาม เป็นอารมณ์ ก็เป็นสุขวิปัสสกเหมือนกัน  ความแตกต่างขแฉองโลกุตรจิตตามประเภททา ืมมมมืืของฌาน จึงไม่มีในโลกุตรจิตที่ไม่ได้ประกอบ ด้วยอารัมมนูปนิชฌาน จึงมีได้เพียง ๔ ดวง ตามจำนวนที่นับโดยย่อเท่านั้น ส่วนโลกุ...