บทความ

๑๐. ปรินิพพาน

รูปภาพ
คืนวันนั้นเป็นวันเพ็ญวิสาขะปุรณมี (ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม) พระจันทร์เต็มดวง เวลาก็ล่วงมัชฌิมยามไปแล้ว พระบรมศาสดาบรรทมเหยียดพระกายในท่าสีหไสยาสน์ทรงระโหยโรยแรงยิ่งนัก แต่ก็ฝืนพระทัย ดำรงสติมั่น สั่งสอนให้โอวาทพระภิกษุสงฆ์สาวกเป็นครั้งสุดท้ายก่อนเสด็จปรินิพพานดังนี้ " อานนท์ เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว พวกเธอทั้งหลายอาจคิดไปว่า บัดนี้ไม่มีพระศาสดาแล้ว อาจรู้สึกว้าเหว่ไร้ที่พึ่ง พวกเธอจงอย่าคิดอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมวินัยเหล่านั้น จักเป็นองค์ศาสดาของพวกเธอทั้งหลายแทนเราต่อไป " " อีกเรื่องหนึ่ง คือพระฉันนะ เธอดื้อดึง มีทิฐิมานะมาก ไม่ยอมเชื่อฟังอ่อนน้อมใคร เพราะถือว่า เป็นอำมาตย์ ราชบริพารเก่าแก่ของเรา เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ขอให้สงฆ์ลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ คือเธอจะทำ จะพูด สิ่งใด หรือประสงค์จะอยู่อย่างไร ก็ปล่อยเธอตามสบาย สงฆ์ไม่ควรว่ากล่าวตักเตือน ไม่ควรพร่ำสอนเลย เธอจะรู้สึกตัวเองในทีหลัง " " อีกเรื่องหนึ่งคือ สิกขาบทบัญญัติที่เราได้บัญญัติไว้ เพื่อภิกษุทั้งหลาย จะได้อยู่ด้วยกันอย่างผาสุก ไม่กินแหนงแคลงใจกัน มีธรรมเป็นเ...

๐๖. ตรัสรู้

รูปภาพ
พระพุทธองค์ทรงค้นคว้าหาทางตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณด้วยวิธีการต่างๆ โดยบำเพ็ญเพียรทาง ทุกรกิริยา ทรมานกายให้ลำบากอย่างยิ่ง เริ่มแต่ทรงขบฟันด้วยฟัน อัดเพดานปากด้วยลิ้น ผ่อนลมหายใจเข้าออกให้เหลือน้อยๆ แล้วกลั้นลมหายใจนานๆ จนตัวร้อนเป็นไฟเหงื่อไหลย้อย หัวใจสวิงสวาย ทรงเสวยพระกระยาหารแต่น้อยจนถึงไม่เสวยเลย ในที่สุดพระวรกายก็ซูบผอมได้รับความลำบากอย่างยิ่ง จวนเจียนพระชนม์จะแตกสลาย นับว่าเป็นความเพียรอย่างยิ่ง ยากที่นักพรตใดๆ จะทำได้ แต่ก็หาสำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณไม่ เพราะทุกกรกิริยาไม่ใช่ทางแห่งการตรัสรู้ จึงมาทรงดำริเห็นว่า อันความเพียรนั้น ถ้าย่อหย่อนก็เสียผลทีหลัง ถ้าตึงเครียดนักก็มักพลาด ต่อเมื่อเดินทางสายกลางพอดีๆ ทั้งกายและใจจึงจะเกิดผล ดุจพิณสามสาย ถ้าหย่อนนักมักไม่ดัง ถ้าตึงนักก็ขาด แต่พอดีๆ จึงจะมีเสียงนิ่มนวลพอฟังได้ (ตำราประวัติพระพุทธเจ้าบางเล่มก็กล่าวว่า ช่วงที่พระองค์กำลังทรมานพระวรกายอยู่จนถึงที่สุดนั้น มีเทวดาเสด็จลงมาทรงพิณสามสาย ซึ่งได้ตั้งสายพิณไว้ ๓ ระดับ คือตึงเกินไป เล่นได้สักครู่สายพิณก็ขาด ตั้งสายพิณหย่อนเกินไป เสียงเพลงก็ไม่ไพเราะ และสุดท้ายตั้งสายพิณปานกลาง ...

๐๕. เสด็จออกบรรพชา

รูปภาพ
พระองค์ ได้เสด็จประพาสรอบพระนคร ๔ วาระด้วยกัน ได้ทรงเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช ทำให้สังเวชสลดพระทัยและเบื่อหน่ายในสังสารทุกข์ ทรงเห็นว่าการออกบรรพชาเป็นทางดีที่สุด ที่อาจทำให้พ้นจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย การที่ได้เห็นนักบวชก็เป็นเครื่องเตือนใจว่า การบวชจะช่วยให้มีเวลาว่างเป็นของตัว จะได้คิดค้นอะไรได้มาก เพราะฉะนั้นการเห็นเทวทูตสี่จึงเป็นเครื่องเตือนใจ วันหนึ่งเสด็จออกจากปราสาทไปพักในสวน พอดีพระนางพิมพ์พาประสูติพระโอรส อำมาตย์ก็ไปกราบทูลให้พระองค์ทรงทราบว่า บัดนี้พระนางพิมพาได้ประสูติพระโอรสแล้ว เพราะองค์ก็อุทาน " ราหุลํ ชาตํ " แปลว่า " บ่วงเกิดแล้ว " อำมาตย์ผู้นั้นได้ยินก็นึกว่า เจ้าชายสิทธัตถะตั้งชื่อลูกชายว่า "ราหุล" เลยกลับไปทูลพระเจ้าสุทโธทนะว่า มกุฎราชกุมารพอพระทัยในการที่มีลูก ตั้งชื่อให้แล้วว่า "ราหุล" ในความจริงนั้นไม่ใช่ พระองค์บ่นออกมาด้วยความรู้สึกในใจว่าบ่วงเกิดแล้ว "ราหุล" แปลว่า "บ่วง" มนุษย์เรานี่มีบ่วงอยู่ ๓ บ่วง มีบุตร เรียกว่า บ่วงพันคอ มีภรรยา เรียกว่า บ่วงผูกมือ มีทรัพย์ เรียกกว่า บ่วง...

๐๔. คำทำนายโหราจารย์

รูปภาพ
เมื่อพระองค์ประสูติแล้ว พระเจ้าสิริสุทโธทนะราชบิดา ก็ได้พาเสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์ อัญเชิญพราหมณ์ปุโรหิต ที่เป็นโหราจารย์ยอดเยี่ยม ๑๐๘ คน มาเลือกสรรค์ เอาแต่ผู้เชี่ยวชาญยอดเยี่ยมจริงๆ ได้ ๘ คน ในพราหมณ์โหราจารย์แปดคนนั้นเป็นคนแก่ เจริญด้วยวัยวุฒิเสียเจ็ดคน พยากรณ์รวมพร้อมกันเป็นสองคติว่า " พระกุมารนี้ถ้าอยู่ครองราชสมบัติ จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ ถ้าออกทรงผนวชจะได้ บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกในโลก " ส่วน โกณฑัญญะพราหมณ์ * ซึ่งยังเป็นเด็กหนุ่มอยู่ในขณะนั้น แต่สูงด้วยความรู้ ได้ถวายพยากรณ์เป็นคติเดียวว่า "พระกุมารพระองค์นี้ จะไม่อยู่ในราชสมบัติ จะเสด็จออกทรงผนวชและตรัสรู้เป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกในโลกแน่นอน" * ท่านโกณฑัญญะผู้นี้เชื่อในคำทำนายของตนเอง เลยออกบวชไปรออยู่ก่อน หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะ ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า ก็ได้เป็นศิษย์องค์แรกของพระองค์ ต่อมาได้ฟังปฐมเทศนาจากพระพุทธองค์ได้สำเร็จโสดาบัน และเป็นพระสงฆ์องค์แรกของพุทธศาสนา เจริญพระชันษา เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเติบโตขึ้น ทรงได้รับการศึกษาเล่าเรียนโดยเชิญ...

๐๓. ประสูติ

รูปภาพ
ประมาณ ๖๐๐ ปีเศษ ก่อนคริสต์ศักราชประเทศอินเดียหรือที่เรียกกันว่า ชมพูทวีปมีแคว้น หรือรัฐใหญ่ๆ รวมอยู่ 10 แคว้นด้วยกัน ในจำนวนนี้ ๘ แคว้น ปกครองแบบราชาธิปไตย คือมี พระเจ้าแผ่นดินปกครอง เช่น มคธ (ราชคฤห์ - เมืองหลวง), โกศล (สาวัตถี - เมืองหลวง), วังสะ (โกสัมพี - เมืองหลวง) เป็นต้น ที่เหลืออีก ๘ รัฐ เช่น วัชชี (เวสาลี - เมืองหลวง) มัลละ (ปาวา และกุสินารา - เมืองหลวง) เป็นต้น ปกครองแบบสามัคคีธรรม หรือคณะราชย์ ซึ่งก็คือ ระบบประชาธิปไตยนั่นเอง มีรัฐเล็กๆ ที่นับว่าเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยนั้นรัฐหนึ่ง อยู่ทางเหนือสุดของอินเดียที่เชิงเขา หิมพานต์ (ภูเขาหิมาลัย) ชื่อ กรุงกบิลพัสดุ์ อยู่ในความอารักขาของแคว้นโกศล มีกษัตริย์ราชวงศ์ศากยะปกครอง พระราชาทรงพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ พระอรรคมเหสีพระนามว่าพระนางศิริมหามายาเทวี คืนหนึ่งพระนางทรงสุบินนิมิต (ฝัน) ว่า มีท้าวมหาพรหมทั้งสี่ มายกแท่นบรรทม ของพระนาง ไปวางลงไว ภายใต้ต้นสาละใหญ่ ณ ป่าหิมพานต์ (ต้นสาละเป็นต้นไม้สกุลเดียว กับต้นรังของเรา) เหล่าเทพธิดาพากันนำพระนาง ไปสรงสนานในสระอโนดาต ซึ่งอยู่ข้างๆ ต้นสาละนั้น เพื่อชำระล้างมลทิน ในขณะนั้น มีลูกช้างเผื...

๐๒. พระโพธิสัตว์จุติ

รูปภาพ
พระพุทธเจ้าเมื่อยังมิได้ตรัสรู้ ได้ทรงบำเพ็ญบารมีอยู่ในชาติต่างๆ เรียกว่า "พระโพธิสัตว์" ในอดีตภพ พระโพธิสัตว์แห่งเรา บังเกิดเป็นสุเมธดาบส พบพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง มีพระนามว่า พระพุทธทีปังกรเจ้า ได้ตั้งความปราถนาไว้ ขอให้ได้เป็นพระพุทธเจ้าเช่นพระองค์ท่าน จำเดิมแต่นั้น ก็ทรงบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ มีทานบารมีเป็นต้น อุเบกขาบารมีเป็นที่สุด บำเพ็ญเป็นเวลานับด้วยกัลป์ สิ้นภพสิ้นชาติอันประมาณมิได้ พระชาติสุดท้าย บังเกิดเป็นพระเวสสันดรโพธิสัตว์ ก็ทรงสร้างทานบารมีอย่างยอดเยี่ยม สิ้นจากชาตินี้ก็ขึ้นไปอุบัติในสวรรค์ชั้นดุสิต เป็นเทพบุตรชื่อว่า "สันดุสิตเทวราช" เทพยดาในหมื่นจักรวาฬ จึงมาประชุมกันในสวรรค์ชั้นดุสิต ต่างยกหัตถ์ทั้งคู่ ชูอัญชลีกร ทูลอาราธนาว่า "ข้าแต่พระมหาวีระ กาลบัดนี้ สมควรที่พระองค์จะจุติลงไปบังเกิดในมาตุคัพโภทร เพื่อชนนิกรในมนุษย์โลก กับทั้งเทวโลก ข้ามให้พ้นจากห้วงแห่งความเวียนตายเวียนเกิด อันมิรู้จักจบสิ้น ให้รู้จริงบรรลุถึงทางปฏิบัติ ซึ่งจะเข้าสู่อมตมหานิพพาน" พระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาดูปัญจมหาวิโลกนะทั้ง ๕ คือ กาล ๑ ทวีป ๑ ประเทศ ๑ ตระกูล ๑ พระมารดา...

๐๑. ศากยวงศ์

รูปภาพ
ในยุคบรรพกาล ได้มีชนเผ่าเชื้อสายอริยกะหรืออารยันอพยพเข้ามาตั้งรกรากและราชธานี ณ เชิงเขาหิมาลัย ชนเผ่าที่อพยพเข้ามาในภายหลัง ก่อนหน้านั้นดินแดนแถบนี้ เป็นที่อยู่อาศัยของพวกมิลักขะ ซึ่งมีความเจริญที่น้อยกว่า พวกอริยกะหรืออารยันเป็นพวกที่นับถือในศาสนาพราหมณ์เคร่งครัด และเชื่อถือในระบบวรรณะอย่างสุดโต่ง โดยเชื่อว่าวรรณะทั้ง ๔ ไม่สามารถที่จะแต่งงานร่วมกันได้ ถ้าแต่งงานบุตรจะกลายเป็นจัณฑาลทันที พวกเขาถือว่าตนยิ่งใหญ่ และบริสุทธิ์กว่าสายเลือดอื่น ๆ จึงแต่งงานด้วยกันเองภายในหมู่พี่น้องและวงศาคณาญาติซึ่งมีอยู่ ๒ ตระกูลคือ  ๑. ศากยวงค์ ๒.โกลิยวงศ์ และเพราะความถือตัวจัดนี้เอง ที่ทำให้กรุงกบิลพัสดุด์ถูกทำลายอย่างย่อยยับ ด้วยอำนาจของพระเจ้าวิฑูฑภะ โอรสพระเจ้าปเสนทิโกศลแห่งสาวัตถี ซึ่งพระเจ้าวิฑูฑภะเอง ก็ใช่อื่นไกลเป็นพระนัดดาของพระเจ้ามหานามแห่งกรุงกบิลพัสดุ์นั้นเอง พระองค์ถูกเหยียดหยามจากพระญาติ ถึงขนาดเอาน้ำนมชำระล้างสถานที่ทุกแห่งที่พระองค์ประทับในกรุงกบิลพัสดุ์ คราวเสด็จเยี่ยมพระญาติ โดยพวกศากยะกรุงกบิลพัสดุ์รังเกียจว่า พระมารดาของพระองค์ไม่ใช่คนวรรณะกษัตริย์ แต่เป็นทาสีซึ่งเป็นคนละวรรณะก...

นัยที่ ๓ รูปสมุฏฐานนัย

รูปภาพ
นัยที่ ๓ รูปสมุฏฐานนัย แสดงเหตุเกิดแห่งรูป รูปร่างกายของคน สัตว์ เทวดา หรือ รูปพรหม นั้นล้วนแต่เกิดและยังมีชีวิตดำรงอยู่ได้ก็มาจาก เหตุ ๔ ประการ คือ กรรม จิต อุตุ และอาหาร หรือที่เรียกว่า เกิดมา จากสมุฏฐาน ๔  กรรม คือ เจตนาในการทำกุศล และ อกุศลต่างๆ ที่ได้สั่งสมไว้แล้ว เมื่อกรรมทั้งหลายสำเร็จลง เจตนาในการกระทำกรรมนั้นจะทำหน้าที่ ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายเกิดขึ้นในภูมิต่าง ๆ เป็นคน สัตว์ เทวดา พรหม ได้ ดังนั้น กรรมที่เป็นสมุฎฐานในเกิดรูป ก็ได้แก่เจตนา ๒๕ คือ เจตนาในอกุศลจิต ๑๒ เจตนาในมหากุศลจิต ๘ เจตนาในรูปาวจรกุศลจิต ๕ เจตนาทั้ง ๒๕ นี้ ย่อมทำให้รูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้นได้ นับตั้งแต่อุปปาทขณะของปฏิสนธิ จิตเป็นต้นไป (หนึ่งขณะจิตมี ๓ อนุขณะเล็ก คืออุปปาทะ(เกิด) ฐีติ(ตั้งอยู่) ภังคะ (ดับ) รูปที่เกิดจากกรรม เกิดขึ้นได้ตั้งแต่อนุขณะแรกของปฏิสนธิจิต (ส่วนเจตนาในอรูปวจรกุศลจิต จะส่งผลโดย นามปฏิสนธิในอรูป ภูมิ ๔) รูปที่เกิดจากกรรม เรียกว่า กรรมชรูป (อ่านว่า กัม-มะ-ชะ-รูป) มี ๑๘ รูป คือ ปสาทรูป ๕ ภาวรูป ๒ หทยรูป ๑ ชีวิตรูป ๑ ปริจเฉทรูป ๑ อวินิพโภครูป ๘  จิต  การที่รูปจะ...

นัยที่ ๒ รูปวิภาคนัย

รูปภาพ
คำว่า มาติกา หมายถึงแม่บท ในนัยที่ ๒ นี้ มีการจำแนกรูป ๒๘ ออกเป็น ๒ มาติกาด้วยกัน คือ ๑. เอกมาติกา การจำแนกรูปทั้งหมดเป็นอย่างเดียวกัน ๒. ทุกมาติกา การจำแนกรูปทั้งหมดเป็นสองอย่าง ๑. เอกมาติกา การจำแนกรูปทั้งหมดเป็นอย่างเดียวกัน เป็นการกล่าวรูป ๒๘ โดยการสรุปให้ทราบถึงความเป็นจริงของรูปอีกรูปแบบหนึ่งที่แตกต่างไปจาก รูปแบบในนัยที่ ๑ กล่าวคือในนัยที่ ๑ แสดงให้เห็นรูป ๒๘ ที่ละหมวดและแสดงในทราบว่าในหมวดนั้นๆ ประกอบด้วยรูปเท่าไหร่อะไรบ้าง และก็ยังแสดงให้ทราบอีกว่า รูปแต่ละรูปนั้นมีสภาวลักษณะของตนๆ เป็นอย่างไร เช่น ในหมวดมหาภูตรูป ๔ ประกอบด้วย ปฐวี อาโป เตโช วาโย และปฐวีมีลักษณะที่แข็ง เป็นต้น ส่วนในการจำแนกรูป ๒๘ โดยนัยวิภาคนัยนี้จะมุ่งหมายกล่าวว่ารูปทั้ง ๒๘ นั้นมีสภาวะทั้งหมดเป็นอย่างไร ซึ่งเราจะศึกษากันต่อไป รูปทั้งหมดเมื่อกล่าวโดยเอกมาติกาแล้วมีชื่อเรียกตามสภาวะได้ ๘ คือ ๑. อเหตุกะ ชื่อว่า อเหตุกะ เพราะว่ารูป ๒๘ นี้ เกิดขึ้นโดย ไม่ต้องอาศัยเหตุ ๖ เหตุ ๖ คือ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ ๒. สปัจจยะ ชื่อว่า สปัจจยะ เพราะว่ารูป ๒๘ นี้ เกิดขึ้นจากกรรม จิต อุตุ อาหาร เป็น...

หมวดที่ ๕ รูปปรมัตถ์ นัยที่ ๑/๒

รูปภาพ
ต่อจากรูปปรมัตถ์หน้า ๑ รูปประเภทที่สาม :วิสยรูป ๔ วิสยรูป ๔ ได้แก่ วัณณรูป สัททรูป คันธรูป รสรูป (อ่านว่า วัน-นะ-รูป , สัด-ทะ-รูป ,คัน-ทะ-รูป , ระ-สะ-รูป) คำว่า วิสัย เป็นคำในภาษาไทย แปลว่า ขอบเขต แดน ความเป็นอยู่ เช่นวิสัยทัศน์ คือการมองเห็นที่มีขอบเขต ดังนั้น คำว่า วิสยรูป จึงหมายถึง รูปที่เป็นที่ขอบเขต เช่น วัณณรูป (หรือ รูปารมณ์)เป็นขอบเขตของจักขุวิญญาณอาศัยเกิดขึ้นเท่านั้น (ไม่เป็นที่อาศัยของโสตวิญญาณหรืออื่นๆ) วิสยรูป มีการกระทบกับปสาทรูปทั้ง ๕ มีจักขุปสาทรูป เป็นต้น เป็นอารมณ์ให้แก่ ปัญจวิญญาณจิตทั้ง ๕ มีจักขุวิญญาณจิต เป็นต้น คำว่า โคจรรูป แปลว่า รูปอันเป็นที่โคจรท่องเที่ยวไปของจิต มีจักขุวิญญาณ เป็นต้น ฉะนั้นการจะเรียกว่าวิสยรูป หรือ โคจรรูป ก็เป็นไปตามความหมายข้างต้น ส่วนจำนวน ๔ ก็เป็นการนับเฉพาะ วัณณรูป สัททรูป คันธรูป รสรูป ถ้าจะนับเป็น ๗ ก็รวมเอา โผฏฐัพพารมณ์ ๓ คือ ปถวี เตโช วาโย เข้าไว้ด้วยกันเป็น ๗ เพราะทั้ง ๗ เป็นอารมณ์ให้แก่ จิต และเจตสิกเกิดร่วมได้ ๑.วัณณะรูป หรือ รูปายตนะ คือ สี เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ ได้แก่ สีต่างๆ ที่เกิดจากแสงสะท้อนแล้วมากระทบที่จักขุปสาท ...