วันอาทิตย์

(ค) ปัญหาของมนุษย์ ที่มาในชื่อของทุกข์มากมาย

 (ค) ปัญหาของมนุษย์ ที่มาในชื่อของทุกข์มากมาย

เท่าที่ได้บรรยายมา ถ้าเข้าใจความหมายของทุกข์ในอริยสัจ และแยกออกได้ชัดจากทุกข์ในไตรลักษณ์พร้อมทั้งมองเห็นความเกี่ยวโยงกันระหว่างทุกข์ในหมวดธรรม ๒ ชุดนี้แล้ว ก็ถือเป็นอันสมวัตถุประสงค์ระหว่างที่บรรยายนั้น ได้ยกทุกข์ชื่อต่างๆ หรือทุกข์ในลักษณะอาการต่างๆ มาให้ดูเป็นตัวอย่าง และได้ขอให้เข้าใจว่า ทุกข์ต่างๆ มากมายนั้น ไม่พึงถือเป็นเรื่องเคร่งครัดนัก แต่มองได้ว่าเป็นการที่ท่านยกขึ้นมากล่าวเพื่อนำความเข้าใจ ให้ง่ายและชัด เป็นเรื่องที่ต่างกันไปไดตามถิ่นฐานกาลสมัย พูดง่ายๆ ก็คือแสดงตัวอย่างเรื่องราวที่เป็นปัญหาของมนุษย์ (ใครในสมัยนี้ ถ้าสนใจ ก็อาจจะรวบรวมปัญหาหรือทุกข์ของมนุษย์ในสมัยปัจจุบันมาทำเป็นบัญชีไว้) ดังที่ท้ายสุด พระพุทธเจ้าก็ทรงสรุปไว้ให้แล้ว ที่ว่า “โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ คือทุกข์” เมื่อได้ความเข้าใจอย่างนี้แล้ว จะแสดงชื่อทุกข์ที่ท่านจำแนกแจกแจงไว้ในที่ต่างๆ ให้เห็นตัวอย่างต่อไป ทุกข์ที่ท่านจำแนกไว้ ส่วนใหญ่เป็นทุกข์ในอริยสัจ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับคน เป็นปัญหาที่จะต้องแก้ไข เป็นสิ่งควรคำนึงเพื่อปลดเปลื้องเสียด้วยการปฏิบัติ ส่วนทุกข์ที่ครอบคลุมความทั้งหมดอย่างในไตรลักษณ์ ท่านแสดงไว้แต่พอเป็นหลัก เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเท่าทันตามความเป็นจริงในที่นี้จะยกมาแสดงเฉพาะชุดสำคัญๆ หรือที่ท่านกล่าวถึงกันบ่อยๆ ดังนี้

ชุดที่ ๑ ทุกข์ ๑๒
เป็นชุดไขความสำหรับแสดงความหมายของทุกข์ในอริยสัจ ๔ มีดังนี้

๑) ชาติ ความเกิดเป็นทุกข์ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ต่างๆ อเนกประการ ท่านแบ่งซอยออกเป็น
    ก. คัพโภกกันติมูลกทุกข์ ทุกข์เกิดจากการเกิดอยู่ในครรภ์ อยู่ในที่อันแสนจะคับแคบอึดอัด มีดตื้อ แออัดด้วยสิ่งที่น่ารังเกียจ ดุจหนอนในของเน่าหรือในน้ำครำ
    ข. คัพภปริหรณมูลกทุกข์ ทุกข์เกิดจากการบริหารครรภ์ มารดาจะขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว ลุก นั่ง เดิน วิ่ง แรงหรือเบา กินดื่มของร้อนเย็นเปรี้ยวเผ็ด เป็นต้น มีผลกระทบต่อเด็กในครรภ์ทั้งสิ้น
    ค. คัพภวิปัตติมูลกทุกข์ ทุกข์เกิดจากการวิบัติของครรภ์ เช่น ท้องนอกมดลูก เด็กตายในครรภ์ต้องผ่าตัดออก เป็นต้น
    ง. วิชายนมูลกทุกข์ ทุกข์เกิดจากการคลอด ทั้งถูกกระทุ่งกระแทกพลิกหัน ทั้งถูกกดถูกบีบถูกอัดกว่าจะผ่านช่องอันแสนแคบออกมาได้ เจ็บปวดแสนสาหัส
    จ. พหินิกขมนมูลกทุกข์ ทุกข์เกิดจากการออกมาภายนอก เด็กแรกคลอดมีร่างกายและผิวละเอียดอ่อนดังแผลใหม่ ถูกสัมผัสจับต้องเช็ดล้างแสนเจ็บแสบ
    ฉ. อัตตุปักกมมูลกทุกข์ ทุกข์เกิดจากทำตัวเอง เช่น ฆ่าตัวตายบ้าง ประพฤติวัตรบำเพ็ญตบะทรมานตนบ้าง โกรธเคืองเขาแล้วไม่กินข้าว หรือทำร้ายตัวเองบ้าง เป็นต้น
    ช. ปรุปักกมมูลกทุกข์ ทุกข์เกิดจากคนอื่นทำให้ เช่น ถูกฆ่า ถูกจองจำ ถูกทำร้าย เป็นต้น
๒) ชรา ความแก่ ทำให้อวัยวะทั้งหลายย่อหย่อนอ่อนแอ อินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น เป็นต้น ทำหน้าที่
บกพร่องผิดเพี้ยน กำลังวังชาเสื่อมถอย หมดความแคล่วคล่องว่องไว ผิวพรรณไม่งดงามผ่องใสหนังเหี่ยวย่น ความจำเลอะเลือนเผลอไผล เสื่อมอำนาจและความเป็นเสรีทั้งภายนอกและภายในเกิดทุกข์กายและทุกข์ใจได้มาก
๓) มรณะ ความตาย ยามจะสิ้นชีพ เคยทำชั่วไว้ ก็เห็นนิมิตของบาปกรรม มีคนหรือของรักก็ต้องพลัดพรากจากไป ส่วนประกอบในร่างกายก็พากันหยุดทำหน้าที่ ทุกข์ทางกายก็อาจมีมาก จะทำอะไรจะแก้ไขอะไรก็ทำไม่ได้แก้ไขไม่ได้
๔) โสกะ ความเศร้าโศก ได้แก่ความแห้งใจ เช่น เมื่อสูญเสียญาติ เป็นต้น
๕) ปริเทวะ ความคร่ำครวญหรือร่ำไร ได้แก่ บ่นเพ้อไปต่างๆ เช่น เมื่อสูญเสียญาติ เป็นต้น
๖) ทุกข์ ความทุกข์กาย ได้แก่ เจ็บปวด เช่น กายบาดเจ็บ ถูกบีบคั้น เป็นโรค เป็นต้น (*๑๔๙)
๗) โทมนัส ความทุกข์ใจ ได้แก่ เจ็บปวดรวดร้าวใจ ที่ทำให้ร้องไห้ ตีอกชกหัว ลงดิ้น เชือดตัวเอง กินยาพิษ ผูกคอตาย เป็นต้น
๘) อุปายาส ความคับแค้น หรือสิ้นหวัง ได้แก่ เร่าร้อนทอดถอนใจ ในเมื่อความโศกเศร้าเพิ่มทวี เป็นต้น
๙) อัปปิยสัมปโยค การประสบคนหรือสิ่งซึ่งไม่เป็นที่รัก เช่น ต้องพบต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่ชอบหรือชิงชัง เป็นต้น
๑๐) ปิยวิปโยค การพลัดพรากจากคนหรือสิ่งอันเป็นที่รัก เช่น จากญาติ จากคนรัก สูญเสียทรัพย์สิน
๑๑) อิจฉตาลาภ การไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา คือปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สมหวัง
๑๒) อุปาทานขันธ์ ขันธ์ทั้งห้าซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน กล่าวคือ ทุกข์ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นทุกข์ของอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เมื่อว่าโดยสรุป หรือโดยรวบยอด ก็คือ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

ชุดที่ ๒ ทุกข์ ๒(*๑๕๐)
เป็นเพียงการสรุปทุกข์ชนิดต่างๆ ในแนวหนึ่ง ได้แก่

๑) ปฏิจฉันนทุกข์ ทุกข์ปิดบัง หรือทุกข์ซ่อนเร้น ไม่ปรากฏออกมาให้เห็นชัดๆ เช่น ปวดหู ปวดฟัน ใจเร่าร้อนเพราะไฟราคะและไฟโทสะ เป็นต้น
๒) อัปปฏิจฉันนทุกข์ ทุกข์ไม่ปิดบังหรือทุกข์เปิดเผย เช่น ถูกหนามตำ ถูกเฆี่ยน ถูกมีดฟัน เป็นต้น

ชุดที่ ๓ ทุกข์ ๒ (*๑๕๑)
เป็นเพียงการสรุปทุกข์ชนิดต่างๆ อีกแนวหนึ่ง ได้แก่

๑) ปริยายทุกข์ ทุกข์โดยปริยาย หรือทุกข์โดยอ้อม ได้แก่ ทุกข์ทุกอย่างที่กล่าวถึงข้างต้น นอกจากทุกขเวทนา
๒) นิปปริยายทุกข์ ทุกข์โดยนิปริยาย หรือทุกข์โดยตรง ได้แก่ ความรู้สึกทุกข์ ที่เรียกว่าทุกขทุกข์ หรือทุกขเวทนา นั่นเอง


ในคัมภีร์มหานิทเทส และจูฬนิทเทส บางแห่งแสดงชื่อทุกข์ไว้อีกเป็นอันมาก (*๑๕๒) มีทั้งที่ซ้ำกับที่แสดงไว้แล้วข้างต้น และที่แปลกออกไป ขอยกมาจัดเป็นกลุ่มๆ ให้ดูง่าย ดังนี้

ก) ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ โสก-ปริเทว-ทุกขะโทมนัสส-อุปายาสทุกข์
ข) เนรยิกทุกข์ ติรัจฉานโยนิกทุกข์ ปิตติวิสยิกทุกข์ มานุสกทุกข์ (ทุกข์ของสัตว์นรก ทุกข์ของสัตว์ดิรัจฉาน ทุกข์ของสัตว์ในแดนเปรต ทุกข์ของมนุษย์)
ค) คัพโภกกันติมูลกทุกข์ (ทุกข์เกิดจากการลงเกิดในครรภ์) คัพเกฐิติมูลกทุกข์ (ทุกข์เกิดจากการอยู่ในครรภ์) คัพภวุฏฐานมูลกทุกข์ (ทุกข์เกิดจากการออกจากครรภ์) ชาตัสสูปนิพันธิกทุกข์ (ทุกข์ติดพันตัวของผู้ที่เกิดแล้ว) ชาตัสสปราเธยยกทุกข์ (ทุกข์เนื่องจากต้องขึ้นต่อผู้อื่นของผู้ที่เกิดแล้ว) อัตตูปักกมทุกข์ (ทุกข์ที่ตัวทำแก่ตัวเอง) ปรูปักกมทุกข์ (ทุกข์จากคนอื่นทำให้)
ง) ทุกขทุกข์ สังขารทุกข์ วิปริณามทุกข์
จ) โรคต่างๆ เช่น โรคตา โรคหู เป็นต้น รวม ๓๕ ชื่อ
ฉ) อาพาธ คือ ความเจ็บไข้ที่เกิดจากสมุฏฐาน ๘ อย่าง คือ ดี เสมหะ ลม สมุฏฐานต่างๆ ประชุมกันอุตุแปรปรวน บริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ ถูกเขาทำ เช่น ฆ่าและจองจำ เป็นต้น และผลกรรม
ช) หนาว ร้อน หิว กระหาย อุจจาระ ปัสสาวะ ทุกข์จากสัมผัสแห่งเหลือบยุงลมแดดและสัตว์เลื้อยคลาน
ญ) ทุกข์เพราะความตายของมารดา ความตายของบิดา ความตายของพี่น้องชาย ความตายของพี่น้องหญิง ความตายของบุตร ความตายของธิดา
ฎ) ทุกข์เพราะความสูญเสียญาติ ความสูญเสียโภคะ ความสูญเสียด้วยโรค ความสูญเสียศีล ความสูญเสียทิฏฐิ

ในมหาทุกขักขันธสูตร และจูฬทุกขักขันธสูตร (*๑๕๓) พระพุทธเจ้าตรัสถึงทุกขขันธ์ คือกองทุกข์ต่างๆมากมาย ซึ่งเป็นปัญหาแก่มนุษย์สืบเนื่องมาจากกาม โดยสรุป ทุกขขันธ์ หรือกองทุกข์เหล่านั้น ได้แก่

ก) ความลำบากตรากตรำเดือดร้อน ตลอดกระทั่งสูญเสียชีวิต เนื่องมาจากประกอบการงานหาเลี้ยงชีพ
ข) ความเศร้าโศกเสียใจ ในเมื่อเพียรพยายามในการอาชีพแล้ว โภคะไม่สำเร็จผล
ค) แม้เมื่อโภคะสำเร็จผลแล้ว ก็เกิดความทุกข์ยากลำบากใจ ในการที่ต้องคอยอารักขาโภคทรัพย์
ง) ความเศร้าโศกเสียใจ เมื่อสูญเสียโภคทรัพย์นั้นไป อารักขาไว้ไม่สำเร็จ เช่น ถูกโจรปล้น ไฟไหม้
จ) การทะเลาะวิวาทแก่งแย่ง ทำร้ายกัน ถึงตายบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ระหว่างราชากับราชาบ้าง คฤหบดีกับคฤหบดีบ้าง แม้กระทั่งระหว่างมารดาบิดากับบุตร พี่กับน้อง และเพื่อนกับเพื่อน
ฉ) การทำสงครามประหัตประหารกันระหว่างหมู่ชน ๒ ฝ่าย ในสมรภูมิ ซึ่งต่างพากันล้มตายและได้รับความทุกข์แสนสาหัสเพราะถูกอาวุธหรือเนื่องมาจากการต่อสู้กันนั้น
ช) การทำสงครามที่ฝ่ายหนึ่งรุกรานโจมตีบ้านเมืองของอีกฝ่ายหนึ่ง และจากการต่อสู้กันก็ต้องบาดเจ็บล้มตาย ได้รับทุกข์เป็นอันมาก
ญ) การทำทุจริตก่ออาชญากรรมต่างๆ เช่น ปล้นทรัพย์ ทำความผิดทางเพศ เป็นต้น แล้วถูกจับกุมลงโทษต่างๆ ถึงตายบ้าง ไม่ถึงตายบ้าง
ฎ) การประกอบกรรมทุจริตทางกาย วาจา ใจ ครั้นตายแล้วก็ไปได้รับทุกข์ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ในพระบาลีและอรรถกถา ยังกล่าวถึงทุกข์ชื่ออื่นๆ กระจายกันอยู่แห่งละเล็กละน้อยอีกหลายแห่ง บางแห่งมีเพียงคำบรรยายอาการของความทุกข์ (เหมือนอย่างในมหาทุกขักขันธสูตร และจูฬทุกขักขันธสูตรข้างบนนี้) โดยไม่เรียกชื่อทุกข์ไว้โดยเฉพาะ บางแห่งก็ระบุชื่อทุกข์เฉพาะอย่างลงไป เช่น สังสารทุกข์ (*๑๕๔) อบายทุกข์ วัฏฏมูลกทุกข์ อาหารปริเยฏฐิทุกข์ (*๑๕๕) เป็นต้น (*๑๕๖)

อย่างไรก็ดี เรื่องทุกข์นี้ เราสามารถพรรณนาแสดงรายชื่อขยายรายการออกไปได้อีกเป็นอันมาก เพราะปัญหาของมนุษย์มีมากมาย ทั้งทุกข์ที่เป็นสามัญแก่ชีวิตโดยทั่วไป และทุกข์ที่แปลกกันออกไปตามสภาพแวดล้อมของยุคสมัย ถิ่นฐาน และสถานการณ์ แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องบรรยายในที่นี้ให้เยิ่นเย้อเนิ่นนาน

ข้อสำคัญอยู่ที่จะต้องรู้ความมุ่งหมาย
การที่ท่านแสดงชื่อทุกข์ต่างๆ ไว้มากมายนั้น ก็เพื่อให้เรารู้จักมันตามสภาพ คือตามที่เป็นจริง (ปริญญากิจ) เพื่อปฏิบัติต่อทุกข์นั้นๆ อย่างถูกต้อง ด้วยการยอมรับรู้สู้หน้าสิ่งที่มีอยู่ ซึ่งตนจะต้องเกี่ยวข้อง ไม่ใช่เลี่ยงหนี อำพรางปิดตาหลอกตัวเอง หรือแม้กระทั่งปลอบใจตนประดุจดังว่าทุกข์เหล่านั้นไม่มีอยู่ หรือตนเองหลีกหลบไปได้แล้ว และกลายเป็นสร้างปมปัญหา เสริมทุกข์ให้หนักหนาซับซ้อนและรุนแรงยิ่งขึ้น แต่ให้เข้าเผชิญหน้า ทำความรู้จัก แล้วเอาชนะ อยู่เหนือมัน ทำตนให้ปลอดพ้นได้จากทุกข์เหล่านั้น ปฏิบัติต่อทุกข์โดยทางที่จะทำให้ทุกข์ไม่อาจเกิดขึ้นได้ ตั้งแต่อย่างชั่วคราว จนถึงโดยถาวร

(๑๔๙) พึงสังเกตว่า ในทุกข์ชุดนี้ ไม่มีพยาธิ ซึ่งตามปรกติจะต่อจากชรา ที่เป็นเช่นนี้ ท่านอธิบายว่า เพราะพยาธินั้นเป็นทุกข์ที่ไม่แน่นอนตายตัว คือหลายคนมี แต่บางคนก็อาจจะไม่มี และอีกประการหนึ่ง พยาธินั้นจัดเข้าในข้อทุกข์กายนี้แล้ว (วิสุทธิฎีกา ๓/๑๗๙) อย่างไรก็ดี ในบาลีบางแห่งก็พบว่ามีพยาธิอยู่ในทุกข์ชุดนี้ด้วย ในกรณีเช่นนั้น ขอให้ดูอธิบายใน วินยฎีกา ๔/๖๕
(๑๕๐) วิสุทธิ.๓/๘๓-๘๔; วิภงค.อ.๑๒๐; ปญจ.อ.๓๓๖; วินยฎีกา ๔/๑๓; วิสุทธิ ฎีกา ๓/๑๘๑
(๑๕๑) วิสุทธิ.๓/๔๓-๘๔; วิภงด.อ.๑๒๐; ปญจ.อ.๓๓๖; วินยฎีกา ๔/๑๓; วิสุทธิ ฎีกา ๓/๑๘๑
(๑๕๒) ขุ.ม.๒๙/๒๓/๑๙; ๕๑/๕๒; ข.จ.๓๐/๖๘/๑๓; ๑๔๔/๗๔, ๑๔๐/๓๐๖
(๑๕๓) ม.ม.๑๒/๑๕๘/๑๖๙, ๒๑๓/๑๘๑)
(๑๕๔) เช่น วิสุทธิ.๓/๑๒๖; วิภงค.อ.๑๘๘,๑๙๓; บางแห่งในจูฬนิทเทส เช่น ๓๐/๖๘/๑๔ ฉบับอักษรไทย มี สสารทุกข์ แต่ความจริงเป็นปาฐะที่คลาดเคลื่อน ที่ถูกต้องเป็นสงฺขารทุกข์
(๑๕๕) ทุกข์ ๓ ชื่อหลังนี้ กล่าวถึงบ่อยๆ ในสังเวควัตถุ (เรื่องน่าสังเวช หรือสิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช) ๘ ประการ (เช่น วิสุทธิ.๑/๑๗๑ ที่.อ.๒/๒๕๓; ม.อ.๑/๔๐๘; ส.อ.๓/๒๕๐; ฯลฯ); อาหารปริเยฏฐิทุกข์ (ทุกข์ในการแสวงหาอาหาร หรือทุกข์เกิดจากการหากิน) ก็ตรงกับเนื้อความในข้อ ก) ข้างบนนี้ ส่วนทุกข์ชื่ออื่นๆ ก็รวมอยู่แล้วในคำบรรยายข้างต้น ไม่โดยตรงก็โดยอ้อม
(๑๕๖) ในหนังสือธรรมวิจารณ์ ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, พิมพ์ครั้งที่ ๒๐ พ.ศ.๒๕๐๑) หน้า ๑๓-๑๗ ทรงประมวลทุกข์ชื่อต่างๆ จากหลายแหล่งมารวมไว้ ๑๐ อย่าง บางอย่างทรงตั้งชื่อเรียกใหม่ให้เป็นพวกๆกัน มีดังนี้ ๑. สภาวทุกข์ หรือทุกข์ประจำสังขาร คือชาติ ชรา มรณะ ๒. ปกิณณกทุกข์ หรือทุกข์จร คือโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส (รวมทั้ง อัปปิยสัมปโยค ปิยวิปโยค และอิจฉตาลาภ) ๓. นิพัทธทุกข์ คือ ทุกข์เนืองนิตย์ หรือทุกข์เจ้าเรือน ได้แก่หนาว ร้อน หิว กระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ๔. พยาธิทุกข์ หรือทุกขเวทนา ๕. สันตาปทุกข์ ทุกข์คือความเร้ารุม หรือทุกข์ร้อน ได้แก่ความกระวนกระวายใจเพราะไฟกิเลส ๖. วิปากทุกข์ หรือผลกรรม ได้แก่วิปฏิสาร การถูกลงอาชญา การตกอบาย ๗. สหคตทุกข์ ทุกข์ไปด้วยกันหรือทุกข์กำกับกัน คือทุกข์ที่พ่วงมากับโลกธรรมที่เป็นอิฏฐารมณ์ เช่น ได้ลาภแล้วทุกข์เพราะระวังรักษา ๘. อาหารปริเยฏฐิทุกข์ คือทุกข์ในการหากิน ได้แก่ อาชีวทุกข์ คือ ทุกข์เนื่องด้วยการหาเลี้ยงชีวิต ๙. วิวาทมูลกทุกข์ คือทุกข์มีวิวาทเป็นมูล เช่น กลัวแพ้ หวั่นหวาดในการรบกัน สู้คดีกัน ๑๐. ทุกขขันธ์ หรือทุกข์รวบยอด คือ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

🔅 บทที่ ๓ ไตรลักษณ์
คำอธิบายไตรลักษณ์ตามหลักวิชาในคัมภีร์
๑. ความเข้าใจเกี่ยวกับศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
วิเคราะห์ความหมายของไตรลักษณ์
                พิเศษ: ทุกข์ในอริยสัจ แยกให้ชัด จากทุกข์ในไตรลักษณ์
                    (ก) หมวดใหญ่ของทุกข์ 
                    (ค) ปัญหาของมนุษย์ ที่มาในชื่อของทุกข์มากมาย
                ชุดที่ ๑ ทุกข์ ๑๒
                ชุดที่ ๒ ทุกข์ ๒
                ชุดที่ ๓ ทุกข์ ๒
                ก) ขอบเขตความหมาย
                ข) ความหมายพื้นฐาน
                ค) ความหมายที่ไม่ต้องอธิบาย
                ง) ความหมายที่อธิบายทั่วไป
                อัตตา กับ มานะ
        คุณค่าทางจริยธรรม
            จ. คุณค่าทางจริยธรรมของไตรลักษณ์ตามลำดับข้อ
                ๑. อนิจจตา
                ๒. ทุกขตา
                ๓. อนัตตตา




วันศุกร์

(ข) ไตรลักษณ์มี ๓

 (ข) ไตรลักษณ์มี ๓

ไม่ใช่แค่ทุกข์ และทั้งสามเป็นฐานของทุกข์ในอริยสัจ ได้บอกแล้วว่า ทุกข์ในไตรลักษณ์ คือลักษณะหรืออาการที่ปัจจัยต่างๆ ขัดแย้งกันกดอัดบีบคั้น ทำให้คงทนอยู่ไม่ได้นั้น เป็นสภาพของสังขารคือทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ปุถุชนคนทั่วไปจะรู้จักเข้าใจได้ หรือพูดอีกสำนวนหนึ่งโดยใช้คำที่แทนกันได้ว่า เป็นสภาวะตามธรรมดาแห่งธรรมชาติของขันธ์ทั้ง ๕ ถึงแม้ว่าทุกข์ คือภาวะกดดันขัดแย้งบีบคั้นที่ว่านี้ จะมีอยู่เป็นเรื่องธรรมดาของธรรมชาติ แต่ตัวคนเองหมดทั้งชีวิต และสิ่งที่คนเกี่ยวข้องในการเป็นอยู่ทุกอย่าง ก็คือสังขารหรือขันธ์ ๕ ทั้งนั้น ถ้าคนไม่รู้เข้าใจ ปฏิบัติต่อมันไม่แยบคาย ก็จะกลายเป็นว่า คนนั่นแหละจะเกิดภาวะกดดันบีบคั้นทนไม่ได้ขึ้นมากับตัวเอง ซึ่งก็คือทุกข์ แต่เป็นทุกข์ของคน เป็นทุกข์ในอริยสัจ เป็นของจริงขึ้นมาในตัวคน ทั้งที่ไม่มีจริง ทั้งที่ไม่มีจริงในธรรมดาของธรรมชาติ

ที่นี้ ที่ว่าขันธ์ทั้ง ๕ หรือประดาสังขารเป็นทุกข์ในไตรลักษณ์นี้ ความจริงก็เป็นวิธีพูดให้สะดวกเท่านั้น ถ้าจะพูดให้ถูกจริง ก็ควรจะว่าเป็นทุกข์ ซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งในลักษณะ ๓ ที่เรียกว่าไตรลักษณ์ และลักษณะ ๓ นั้นก็คือ
   ➤ เป็นอนิจจา ไม่เที่ยง เกิดขึ้นมาแล้วก็สลายหายไป
   ➤ เป็นทุกขา มีปัจจัยที่ก่อที่เกี่ยวขัดแย้งบีบคั้นคงสภาพอยู่ไม่ได้
   ➤ เป็นอนัตตา มีสภาวะของมันที่ปรากฏตามความเป็นไปของเหตุปัจจัย ไม่เป็นไม่มีตัวตนหรือตัวการพิเศษที่ไหนจะมาแทรกแซงครอบครองเป็นเจ้าของควบคุมบังคับบัญชาให้เป็นอย่างอื่นไปได้

จะพูดให้จำง่ายก็ได้ว่า ไม่คงที่ ไม่คงทน และไม่คงตัว นี่ก็หมายความว่า ที่ว่าเป็นทุกข์นั้น ยังพูดแค่ลักษณะเดียว ที่จริง ขันธ์ ๕ หรือเบญจขันธ์ หรือสรรพสังขารนั้น ไม่ใช่แค่เป็นทุกข์เท่านั้น แต่เป็นอนิจจา เป็นทุกขา และเป็นอนัตตา แล้วที่จากไตรลักษณ์ ไปเกิดเป็นทุกข์ในอริยสัจ ก็ไม่ใช่แค่จากทุกข์ในไตรลักษณ์ ไปเป็นทุกข์ในอริยสัจ แต่ที่จริงคือ จากไตรลักษณ์ครบ ๓ ทั้ง อนิจจา ทุกขา และอนัตตา ไปเป็นตัวตั้งให้คนที่รู้ไม่ทันมันก่อเป็นทุกข์ในอริยสัจขึ้นมา นั่นแง่หนึ่งละว่าสังขารหรือเบญจขันธ์ซึ่งรวมคนหมดตัวแล้วทั้งกายและใจ เป็นอนิจจา ทุกขา และอนัตตา เป็นไตรลักษณ์ครบทั้ง ๓ เป็นเรื่องของสภาวะตามธรรมดาของธรรมชาติทั้งนั้น ไม่ต้องมีตัวคนเข้าไปยุ่งเกี่ยว มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น จึงยังไม่มาเข้าในเรื่องของอริยสัจ (ทั้งที่ทุกข์ ทุกขา ก็มีอยู่ในไตรลักษณ์) ก็ถามต่อไปว่า แล้วเมื่อไรล่ะ เบญจขันธ์ หรือขันธ์ ๕ จึงจะมาเป็นทุกข์ในอริยสัจ ก็ตอบว่า เมื่อมันกลายเป็นเบญจอุปาทานขันธ์ หรือเป็นอุปาทานขันธ์ ๕

อุปาทานขันธ์ ๕ คืออะไร? ก็คือ ขันธ์ ๕ ที่มีอุปาทานยึดถือยึดครอง ท่านใช้คำแบบทางการว่า “ประกอบด้วยอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน” จะว่าขันธ์ ๕ ที่เกิดจากอุปาทาน เป็นที่วุ่นวายของอุปาทาน หรือที่รับใช้อุปาทาน ก็ได้ทั้งนั้น เป็นเรื่องของอวิชชาตัณหาอุปาทาน อันนี้แหละคือ ทุกข์ที่เป็นข้อ ๑ ในอริยสัจ ๔

เมื่อได้ความเข้าใจเป็นพื้นฐานที่จะมองแล้ว ก็มาศึกษาพุทธพจน์ที่ตรัสในเรื่องนี้ เริ่มตั้งแต่ดูความแตกต่างระหว่าง ขันธ์ ๕ กับอุปาทานขันธ์ ๕ (เคยแสดงในบทว่าด้วยขันธ์ ๕) ขอยกมาดูอีกครั้งหนึ่ง ดังนี้
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ เธอทั้งหลายจงฟัง”
“ขันธ์ ๕ เป็นไฉน? รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร วิญญาณ ซันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตามเหล่านี้ เรียกว่า ขันธ์ ๕”
“อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม ที่ประกอบด้วยอาสวะ (สาสวะ) เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน (อุปาทานิยะ) เหล่านี้ เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕” (*๑๔๒)

ถ้าสังเกตจะเห็นว่า เวลาพระพุทธเจ้าทรงแสดงไตรลักษณ์ จะตรัสเป็นประจำว่า ขันธ์ ๕ เป็นอนิจจา เป็นทุกขา เป็นอนัตตา เพราะเป็นเรื่องความจริงของสภาวะตามธรรมดาในธรรมชาติ ว่ารูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ตรัสว่าอุปาทานขันธ์ ๕ เป็นอนิจจา เป็นทุกขา เป็นอนัตตา เพราะรวมอยู่แล้วในขันธ์ ๕ ที่ตรัสนั้น ไม่ต้องตรัสต่างหาก เพียงแต่ว่า ใครไปยึดขันธ์ ๕ ที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตานั้นเข้า ก็กลายเป็นอุปาทานขันธ์ ๕ เกิดเป็นทุกข์ขึ้นมา ตัวอย่างที่ตรัสถึงขันธ์ ๕ ตามหลักไตรลักษณ์
“ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง (อนิจจัง) เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง;
“ภิกษุทั้งหลาย รูป ปัจจัยบีบคั้นคงสภาพอยู่มิได้ (ทุกข์) เวทนา...สัญญา...สังขารทั้งหลาย..วิญญาณ ปัจจัยบีบคั้นคงสภาพอยู่มิได้;
“ภิกษุทั้งหลาย รูป ไม่เป็นตัวตน (อนัตตา) เวทนา...สัญญา...สังขารทั้งหลาย..วิญญาณ
ไม่เป็นตัวตน; อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหายติดแม้ในรูป แม้ในเวทนา...แม้
ในสัญญา...แม้ในสังขารทั้งหลาย...แม้ในวิญญาณ, เมื่อหายติด (นิพพิทา) ย่อมคลายออก (วิราคะ),
เพราะคลายออก ย่อมหลุดพ้น; เมื่อหลุดพ้น ย่อมมีญาณว่า หลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า สิ้น
กำเนิด จบมรรคาชีวิตประเสริฐ (พรหมจรรย์) เสร็จกรณีย์ ไม่มีกิจอื่นอีกเพื่อภาวะเช่นนี้” (*๑๔๓)

พอรู้เข้าใจเบญจขันธ์ หรือบรรดาสังขาร ตามหลักไตรลักษณ์อย่างนี้ เห็นความจริงชัดแล้ว ก็ไม่เกิดเป็นอุปาทานขันธ์ขึ้นมา หรือเลิกเป็นอุปาทานขันธ์ แต่ตรงกันข้าม กลายเป็นหลุดพ้นอิสระ หมดปัญหา สว่างสดใสเบิกบาน ไม่เกิดมีทุกข์อีกต่อไป ผู้ที่เคยสวดหรือฟัง 🔎พระสูตรหมุนธรรมจักร ที่ทรงแสดงอริยสัจ ๔ แก่เบญจวัคคีย์ คงจำได้หรือนึกออกว่า พระพุทธเจ้าตรัสความหมายของอริยสัจข้อที่ ๑ คือทุกข์ ค่อนข้างยาว และเราก็ถือกันเป็นหลักทำนองคำจำกัดความของทุกขอริยสัจนั้นว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แลคือทุกขอริยสัจ: ความเกิด ก็เป็นทุกข์ ความแก่ ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บ ก็เป็นทุกข์ ความตาย ก็เป็นทุกข์ ความประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้ข้อนั้น ก็เป็นทุกข์, โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ (*๑๔๔)

ข้อพึงสังเกตให้ชัดก็คือ คำสรุปความหมายตอนลงท้ายที่ว่า “โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์" (สงขิตุเตน ปญจุปาทานกุขนุธา ทุกขา) ตรงนี้เป็นสาระสำคัญ คือ ที่ว่านั่นก็ทุกข์ นี่ก็ทุกข์นั้น รวมความแล้ว ก็อยู่แค่ที่ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ แล้วก็ให้สังเกตต่อไปอีกว่า พระธรรมจักรที่ทรงแสดงแก่เบญจวัคคีย์นี้ เป็นปฐมเทศนา ไม่เคยมีใครได้ฟังมาก่อน พูดง่ายๆ ว่า ผู้ฟังไม่มีพื้นมาเลยที่จะรู้จักแม้แต่คำว่าทุกข์ในความหมายของพระพุทธศาสนา ที่นี้ จะขอให้เทียบกับพระสูตรที่ทรงแสดงอริยสัจในเวลาต่อมา

ครั้งหนึ่ง เมื่อประทับที่เมืองสาวัตถี (แสดงว่านานหลังจากปฐมเทศนา) พระพุทธเจ้าตรัสอริยสัจครบทั้งหมดแก่พระภิกษุสงฆ์ (แสดงว่าผู้ฟังมีพื้น) จะยกมาให้ดูว่า พระองค์ตรัสความหมายของทุกข์ ตรงไปที่อุปาทานขันธ์ ๕ อย่างเดียว ไม่มีอย่างอื่นเลย ดังนี้
"ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกข์เป็นไฉน? ทุกข์นั้น พึงกล่าวว่า คืออุปาทานขันธ์ ๕.
อุปาทานขันธ์๕ เป็นไฉน? คือ รูปอุปาทานขันธ์ ๕ เวทนาอุปาทานขันธ์ ๑ สัญญาอุปาทานขันธ์ ๕ 
สังขารอุปาทานขันธ์ ๑ วิญญาณอุปาทานขันธ์ ๑, ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยเป็นไฉน? คือ ตัณหา อันนำให้มีภพใหม่ ประกอบด้วยนันทิราคะ ครุ่นใคร่ใฝ่หาในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธเป็นไฉน? คือ ความจางคลายดับไปไม่เหลือ แห่งตัณหานั่นแล ความสละ ความไถ่ถอนเสียได้ ความหลุดพ้น ความไม่ติดค้าง ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทุกขนิโรธ.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นไฉน? คือ อริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ ฯถฯ สัมมาสมาธิ. ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (*๑๔๕)

เมื่อเทียบตามพุทธพจน์นี้แล้ว ทำให้มองได้ว่า ที่ตรัสในปฐมเทศนา เป็นต้น ว่านั่นก็เป็นทุกข์ นี่ก็เป็นทุกข์ มากหลายอย่างนั้น เป็นการยกสภาพต่างๆ ที่คนทั่วไปรู้เข้าใจพูดจานึกกันว่านั่นๆ คือทุกข์ เอามานำความเข้าใจก่อน แล้วจึงมาถึงตัวสาระของความหมายที่แท้จริง คืออุปาทานขันธ์ ๕ ซึ่งถ้าพูดขึ้นมาเดี่ยวๆ ทันที คนทั่วไปซึ่งไม่มีพื้นความรู้ จะไม่เข้าใจเลย เพราะฉะนั้น จึงเป็นไปได้ว่า ในกรณีอื่นๆ หรือในการทรงแสดงธรรมครั้งอื่น บางครั้ง พระพุทธเจ้า อาจทรงยกตัวอย่างทุกข์หรือปัญหาของมนุษย์อย่างอื่นๆ มาแสดงว่าเป็นทุกข์ หรือสำหรับคนทั่วไป ไม่ว่าเขาจะพูดถึง นึกถึงทุกข์นึกถึงปัญหาอะไรของคน ก็ว่ากันไป สุดแต่จะนึกขึ้นมา แต่ในที่สุดก็มาถึงตัวจริง ที่ทรงชี้ว่าทั้งหมดทั้งปวงนั้น ก็อยู่ที่อุปาทานขันธ์ ๕ อันนี้เอง ทั้งนี้ คงจะเป็นอย่างที่ตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ในข้อที่เราบัญญัติว่า นี้เป็นทุกขอริยสัจนั้น มีอักขระนับปริมาณมิได้ มีพยัญชนะนับปริมาณมิได้ มีคำชี้แจงแสดงไขนับปริมาณมิได้ ว่า ทุกขอริยสัจนี้ คือแม้ดังนี้ๆ ฯลฯ ในข้อที่เราบัญญัติว่า นี้เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้น มีอักขระนับปริมาณมิได้ มีพยัญชนะนับปริมาณมิได้ มีคำชี้แจงแสดงไขนับปริมาณมิได้ ว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ คือแม้ดังนี้
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแล เธอทั้งหลายพึงทำความเพียร เพื่อรู้ตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(*๑๔๖)

พุทธพจน์นี้ เท่ากับย้ำเตือนให้มองกว้างออกไปว่า ดังที่รู้กันอยู่แล้ว หลักธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ก็รวมลงได้ในอริยสัจ ๔ นี้ แม้บางครั้ง คำสอนนั้นจะไม่จะไม่ได้ออกชื่ออริยสัจชัดออกมา แต่ก็เห็นได้ว่าอยู่ในอริยสัจนั่นเอง อย่างพุทธพจน์ตอนหนึ่งที่จะตัดมาให้ดูจากจูฬทุกขักขันธสูตรต่อไปนี้ แสดงถึงปัญหาโทษภัยความทุกข์ที่เกิดจากกาม ก็คือจากกามตัณหา พร้อมทั้งการปฏิบัติที่เป็นขั้นตอนหนึ่งของอริยมรรค สู่ผลที่เป็นกุศลในระดับหนึ่งแห่งการก้าวไปสู่นิโรธขั้นสุดท้าย ขอคัดมาประกอบความเข้าใจในทุกขอริยสัจ ดังนี้


“ดูกรมหานาม แม้เรา ก่อนแต่สัมโพธิ เมื่อยังไม่ตรัสรู้ เป็นโพธิสัตว์อยู่ ก็มองเห็นเป็นอย่างดี ด้วยสัมมาปัญญา ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความหวานชื่นน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่งนัก ดังนี้ แต่เรายังมิได้ประสบปีติและความสุข นอกเหนือจากกาม นอกเหนืออกุศลธรรม หรือประสบกุศลธรรมอื่นที่สงบซึ้งยิ่งกว่านั้น เราก็ยังปฏิญาณมิได้ก่อนว่าเป็นผู้ไม่วกเวียนมาหากาม แต่เมื่อใด เรามองเห็นเป็นอย่างดี ด้วยสัมมาปัญญา ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความหวานชื่นน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่งนัก ดังนี้ และเราก็ได้ประสบปีติและความสุข นอกเหนือจากกาม นอกเหนืออกุศลธรรม กับทั้งยังได้ประสบกุศลธรรมอื่นที่สงบซึ้งยิ่งกว่านั้นอีก เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณได้ว่า เป็นผู้ไม่วกเวียนมาหากาม

ดูกรมหานาม ก็อะไรเล่าเป็นคุณ (ความหวานชื่น ข้อดี) ของกามทั้งหลาย?
ดูกรมหานาม กามคุณ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ รูปที่พึงรู้ด้วยตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนรัก ชวนใคร่ น่าติดใจ, เสียงที่พึงรู้ด้วยหู ... กลิ่นที่พึงรู้ตัวยจมูก ... รสที่พึงรู้ตัวยลิ้น ... โผฏฐพพะที่พึงรู้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนรัก ชวนใคร่น่าติดใจ, ดูกรมหานาม เหล่านี้แล คือกามคุณ ๕ ประการ, ความสุข ความโสมนัสใด อาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้เกิดขึ้น นี้คือคุณของกามทั้งหลาย

ดูกรมหานาม ก็อะไรเล่าเป็นโทษ (ข้อเสีย จุดอ่อน) ของกามทั้งหลาย?
กุลบุตรในโลกนี้ เลี้ยงชีวิตด้วยศิลปสถานะใด จะด้วยการนับคะแนนก็ดี ด้วยวิชาคำนวณก็ดี ด้วยวิชาประเมิน
ก็ดี ตัวยกสิกรรมก็ดี ด้วยการค้าขายก็ดี ด้วยการเลี้ยงโคก็ดี ด้วยวิชาแม่นธนูก็ดี ด้วยการเป็นราชบุรุษก็ดี ด้วยศิลปะอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ต้องหน้าสู้หนาว ต้องหน้าสู้ร้อน ถูกสัมผัสแต่เหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานรบกวน หิวกระหายเจียนตาย ดูกรมหานาม แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นชัดกับตัว มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง

“ดูกรมหานาม ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้น ทั้งที่ขยัน เอาการเอางาน พยายามอยู่อย่างนี้ โภคะ
เหล่านั้นก็ไม่สำเร็จผล เขาย่อมเศร้าโศก ฟูมฟาย พิไรร่ำ ตีอก คร่ำครวญ ถึงความฟันเฟือนเลือนหลงว่า ความขยันของเราสูญเปล่าเสียแล้วหนอ ความพยายามของเราไม่ออกผลเลยหนอ ดูกรมหานาม แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นชัดกับตัว .. เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง

“ดูกรมหานาม ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้นขยัน เอาการเข้างาน พยายามอยู่อย่างนี้ โภคะเหล่านั้น
สำเร็จผล การคอยรักษาโภคะเหล่านั้นก็เป็นตัวบังคับ ให้เขากลับเสวยความทุกข์ยากไม่สบายใจว่า ทำอย่างไร ราชาทั้งหลายจะไม่พึงริบเอาโภคะของเราไปเสีย พวกโจรจะไม่มาปล้น ไฟจะไม่ไหม้ น้ำจะไม่พัดพาเอาไป ทายาทอัปรีย์จะไม่เอาไปผลาญเสีย”

เมื่อกุลบุตรนั้น คอยรักษาคุ้มครองอยู่อย่างนี้ ราชาทั้งหลายริบเขาโภตะเหล่านั้นไปเสียก็ดี โจรมาปล้นเอาไปเสียก็ดี ไฟไหม้เสียก็ดี น้ำพัดพาไปเสียก็ดี ทายาทอัปรีย์เอาไปผลาญเสียก็ดีเขาย่อมเศร้าโศก ฟูมฟาย พิไรรา ตีอก คร่ำครวญ ถึงความฟันเพื่อนเลือนหลงว่า สิ่งที่เราเคยมี เป็นของเรา เราก็ไม่มี ไม่เป็นของเราเสียแล้ว ดูกรมหานาม แม้นี้ ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นชัดกับตัว เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง

“ดูกรมหานาม อีกประการหนึ่ง เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นต้นเค้า เพราะกามเป็นตัวบังคับ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล แม้ราชาทั้งหลายก็วิวาทกับพวกราชา แม้พวกกษัตริย์ที่วิวาทกับพวกกษัตริย์ แม้พวกพราหมณ์ก็วิวาทกับพวกพราหมณ์ แม้พวกคฤหบดีก็วิวาทกับพวกคฤหบดี แม้มารดาก็วิวาทกับบุตร แม้บุตรก็วิวาทกับมารดา แม้บิดาก็วิวาทกับบุตร แม้บุตรก็วิวาทกับบิดา แม้พี่ชายน้องชายก็วิวาทกับพี่ชายน้องชาย แม้พี่สาวน้องสาวก็วิวาทกับพี่สาวน้องสาว แม้พี่ชายน้องชายก็วิวาทกับพี่สาวน้องสาว แม้เพื่อนก็วิวาทกับเพื่อน คนเหล่านั้นพากันเข้าทะเลาะแก่งแย่งวิวาทกันในที่นั้นๆ ทำร้ายซึ่งกันและกันด้วยฝ่ามีอบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศาสตราบ้าง ถึงความตายไปตรงที่นั้นบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ดูกรมหานาม แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นชัดกับตัว

“ดูกรมหานาม อีกประการหนึ่ง เพราะกามเป็นเหตุ - เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแลฝูงชนต่างถือดาบและโล่ ผูกสอดแล่งธนู วิ่งเข้าสู่สงคราม ทั้ง ๒ ฝ่าย เข้าโรมรันพันตู เมื่อลูกศรทั้งหลายถูกยิงไปบ้าง เมื่อหอกทั้งหลายถูกพุ่งไปบ้าง เมื่อดาบทั้งหลายถูกกวัดแกว่งอยู่บ้าง ฝูงชนเหล่านั้น บ้างถูกลูกศรเสียบ บ้างถูกหอกแทง บ้างถูกดาบตัดศีรษะ พากันถึงตายไปตรงนั้นบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ดูกรมหานาม แม้นี้ ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นชัดกับตัว ..เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง”

“ดูกรมหานาม อีกประการหนึ่ง เพราะกามเป็นเหตุ ... เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล ฝูงชนถือดาบและโล่ ผูกสอดแล่งธนู ตรูกันเข้าไปสู่เชิงกำแพงที่ฉาบด้วยเชือกตมร้อน เมื่อลูกศรถูกยิงไปบ้าง เมื่อหอกถูกพุ่งไปบ้าง เมื่อดาบถูกกวัดแกว่งบ้าง ชนเหล่านั้น บ้างถูกลูกศรเสียบบ้างถูกหอกแทง บ้างถูกรดด้วยโคมัยร้อน บ้างถูกสับด้วยคราด บ้างถูกตัดศีรษะตัวยดาบ พากันถึงตายไปตรงนั้นบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ดูกรมหานาม แม้นี้ ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นชัดกับตัว เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง” (*๑๔๗)

(๑๔๒) สํ.ข.๑๗/๓๕-๙๖/๕๘-๖๐
(๑๔๓) เช่น สํ.ข.๑๗/๓๕-๔๑/๒๗
(๑๔๔) สํ.ม.๑๙/๑๖๖๕/๕๒๘
(๑๔๕) สํ.ข.๑๗/๒๗๙/๑๙๓; สํ.ม.๑๙/๑๖๗๘/๕๓๔ (แห่งนี้ มีคำว่าอริยสัจต่อท้ายทุกข้อ); สํ.ม.๑๙/๑๖๘๕๕๓๕ ว่า ทุกขอริยสัจ จึงกล่าวว่า คือ อายตนะภายใน ๖
(๑๔๖) สํ.ม.๑๙/๑๖๙๖/๕๓๙
(๑๔๗) ม.มู.๑๒/๒๑๑/๑๔๐

🔅 บทที่ ๓ ไตรลักษณ์
คำอธิบายไตรลักษณ์ตามหลักวิชาในคัมภีร์
๑. ความเข้าใจเกี่ยวกับศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
วิเคราะห์ความหมายของไตรลักษณ์
                พิเศษ: ทุกข์ในอริยสัจ แยกให้ชัด จากทุกข์ในไตรลักษณ์
                    (ก) หมวดใหญ่ของทุกข์ 
                    (ข) ไตรลักษณ์มี ๓ ไม่ใช่แค่ทุกข์ และทั้งสามเป็นฐานของทุกข์ในอริยสัจ
                ชุดที่ ๑ ทุกข์ ๑๒
                ชุดที่ ๒ ทุกข์ ๒
                ชุดที่ ๓ ทุกข์ ๒
                ก) ขอบเขตความหมาย
                ข) ความหมายพื้นฐาน
                ค) ความหมายที่ไม่ต้องอธิบาย
                ง) ความหมายที่อธิบายทั่วไป
                อัตตา กับ มานะ
        คุณค่าทางจริยธรรม
            จ. คุณค่าทางจริยธรรมของไตรลักษณ์ตามลำดับข้อ
                ๑. อนิจจตา
                ๒. ทุกขตา
                ๓. อนัตตตา

(ก) หมวดใหญ่ของทุกข์

 พิเศษ: ทุกข์ในอริยสัจ แยกให้ชัด จากทุกข์ในไตรลักษณ์

(ก) หมวดใหญ่ของทุกข์
บทบรรยายตอนนี้ ความจริงเป็นเรื่องของไตรลักษณ์ คือ อนิจจตา ทุกขตา และอนัตตตา ทั้งหมด แต่เมื่อพูดมาถึงทุกขตา คือเรื่องทุกข์ ก็มีการพูดโยงไปเกี่ยวพันกับเรื่องทุกข์ที่มีอยู่ในหลักธรรมหมวดอื่นด้วยโดยเฉพาะทุกข์ในอริยสัจ ๔ เพราะเนื่องกัน ถึงกันอยู่ แต่เมื่ออธิบายโยงถึงกันหรือพันกัน บางทีก็ทำให้สับสนได้พูดง่ายๆ ว่า ทุกข์ในไตรลักษณ์ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของธรรมชาติ บางทีก็ไปเกิดเป็นทุกข์ในอริยสัจ คือเมื่อคนไม่รู้เข้าใจทำกับมันไม่ถูก ทุกข์ในธรรมชาติ ก็เกิดเป็นปัญหาขึ้นแก่ตัวคน พูดในทางกลับกันว่า เพราะทุกข์ในไตรลักษณ์ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของธรรมชาติมีอยู่ มันมีภาวะกดอัดขัดแย้งบีบคั้นคงสภาพอยู่ไม่ได้ตามธรรมดาของมันก็จริง แต่เมื่อคนมีปัญญาไม่ถึงมัน ไม่ได้อย่างใจตัว ก็มาเกิดเป็นความกดดันอึดอัดขัดแย้งบีบคั้นขึ้นในชีวิตจิตใจของคน ทุกข์ในอริยสัจก็เลยเกิดมีเกิดเป็นขึ้นมาพูดอีกอย่างหนึ่งว่า ทุกข์ในไตรลักษณ์ ก็เป็นธรรมชาติไปตามธรรมดาของมัน เราไปยกเลิกมันไม่ได้ ก็ต้องฝึกเจริญปัญญาขึ้นมาให้รู้เท่าทัน แล้วก็ปฏิบัติไปตามเหตุปัจจัย แต่ทุกข์ในอริยสัจ ที่เป็นเรื่องของคนนี้ เรายกเลิกไป ทำให้หมดสิ้นได้ และก็ทำอย่างนั้นได้ ด้วยการมีปัญญารู้เท่าทัน และปฏิบัติต่อทุกข์ในไตรลักษณ์คือสรรพสังขารนั่นแหละให้ถูก

นอกจากนั้น และเห็นง่ายกว่านั้น ยังมีทุกข์อีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า ทุกขเวทนา คือความรู้สึกไม่สบายเจ็บปวด เป็นต้น ที่มีชุดของเขา คือมีสุขเวทนา รู้สึกสบาย ชื่นกายชื่นใจ และอทุกขมสุขแวทนา เฉยๆ (อุเบกขา) 
ข้อนี้ก็เกี่ยวข้องอาศัยสภาวะของสิ่งทั้งหลายที่เป็นทุกข์ในไตรลักษณ์นี้ด้วยเช่นกัน แต่เมื่อมันเป็นความรู้สึกของคน รับรู้ได้ทันที ก็เลยเข้าใจง่าย แทบไม่ต้องใช้ปัญญาอะไร แค่กิ่งไม้ไม่เที่ยงเป็นทุกข์คงทนอยู่ไม่ได้ หักหล่นลงมาถูกศีรษะ คนโดนทุกข์ของธรรมชาติมากระทบตัวเข้า ก็เจ็บปวดศีรษะ เกิดทุกขเวทนา บางทีก็แทบทนไม่ไหว ทุกขเวทนาอย่างที่ว่านี้ง่าย ก็แก้ไข ไปหาหมอ หรือทำแผล ใส่ยา รอเวลาแผลหาย ตรงไปตรงมา ก็จบ

แต่ถ้าเกิดไม่รู้ว่ากิ่งไม้ที่มันทุกข์ตามธรรมดาของธรรมชาติแล้วมันทนอยู่ไม่ไหว ก็หักตกลงมาโดนตัวเกิดไปสงสัยคนนั้น ระแวงคนนี้ว่าคนไหนคิดประทุษร้าย แล้วจงใจขว้างกิ่งไม้มาจะให้เราเจ็บตัวหรือตายไปคราวนี้เลยคิดวุ่นวาย มีโกรธมีแค้นมีคิดต่างๆ นานา เริ่มไม่สบายใจ และกดดันบีบคั้นลึกลงไป ตอนนี้มีทุกขเวทนาพ่วงมาด้วย แต่ทุกข์ใหญ่อยู่ลึกลงไป เป็นปัญหาของทุกขอริยสัจขึ้นแล้ว คราวนี้เรื่องราวอาจจะใหญ่โตหรือยืดเยื้อยาวนาน ทุกขอริยสัจมา พลอยให้ทุกขเวทนาขยายและยืดยาวแยกยื่นบานปลายออกไปได้เยอะแยะ อาจจะไม่จบ

ได้พูดมา พอเห็นง่ายๆ แต่ที่จริง ทุกขอริยสัจนี้เป็นเรื่องใหญ่เท่าไรก็ได้ พาเดือดร้อนกันไป แม้แต่ถึงขั้นสงครามโลกก็มี พูดง่ายๆ นี่ก็คือปัญหาของมนุษย์ เมื่อมองให้ดี จะเห็นว่า แต่ก่อนนั้น มีทุกข์เดียวแค่ในไตรลักษณ์ แต่พอมีคนมีชีวิตขึ้นมา ทั้ง ๓ ทุกข์นั้นทั้งทุกข์ในไตรลักษณ์ ทุกขเวทนา และทุกขอริยสัจ ก็มากันครบเลย เมื่อมีความเข้าใจเบื้องต้นอย่างนี้แล้ว ก็มาดูหลักกันสักหน่อย ตอนแรกก็สรุปที่ได้พูดมา ได้สาระว่า “ทุกข์” ปรากฏในหมวดธรรมสำคัญ ๓ หมวด เรียงตามง่ายยาก ได้แก่
    (๑) ในเวทนา (เวทนา ๓ คือ ทุกข์ สุข อทุกขมสุข หรืออุเบกขา, เวทนา ๕ คือ ทุกข์ สุข โทมนัส โสมนัสและอุเบกขา) เรียกเต็มว่า ทุกขเวทนา
    (๒) ในไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกข์ อนัตตา) เรียกเต็มว่า ทุกขลักษณะ
    (๓) ในอริยสัจ ๔ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) เรียกเต็มว่า ทุกขอริยสัจ
ทุกข์ในหมวดธรรมทั้งสามนั้น มีความหมายเกี่ยวโยงเนื่องอยู่ด้วยกัน แต่มีขอบเขตกว้างแคบกว่ากันเป็นบางแง่บางส่วน หรือเป็นผลสืบต่อจากกัน ดังนี้

ทุกข์ ที่มีความหมายกว้างที่สุด ครอบคลุมทั้งหมด คือ ทุกข์ในไตรลักษณ์ หรือ ทุกขลักษณะ หรือ ทุกขตา ได้แก่ ภาวะที่ไม่คงตัว คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เพราะมีความบีบคั้นกดดันขัดแย้งที่เกิดจากความเกิดขึ้นและความเสื่อมสลาย ดังได้อธิบายแล้วข้างต้น ซึ่งเป็นลักษณะของสังขารทั้งหลายทั้งปวง (สพเพ สงขาราทุกขา) กินขอบเขตเท่ากันกับความไม่เที่ยง คือ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ (ยทนิจจํ ตํ ทุกข์)

ทุกข์ ที่มีความหมายแคบที่สุด เป็นเพียงอาการสืบเนื่องด้านหนึ่งเท่านั้น ก็คือ ทุกข์ที่เป็นเวทนา เรียกชื่อเต็มว่า ทุกขเวทนา หรือความรู้สึกทุกข์ ได้แก่ อาการสืบเนื่องจากทุกข์ในไตรลักษณ์ หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นในบุคคลเนื่องมาจากทุกข์ในไตรลักษณ์นั้น กล่าวคือ ความรู้สึกบีบคั้นกดดันข้องขัดของคน ซึ่งเกิดขึ้น เมื่อความบีบคั้นกดดันขัดแย้งที่เป็นสภาพสามัญของสิ่งทั้งหลาย เป็นไปในระดับหนึ่ง หรือในอัตราส่วนหนึ่ง โดยสัมพันธ์กับสภาพกายและสภาพจิตของเขา ดังได้อธิบายมาแล้วในข้อความบางตอนข้างต้น ทุกขเวทนานี้ ก็เป็นทุกข์ตามความหมายในไตรลักษณ์ด้วย เช่นเดียวกับเวทนาอื่นๆ ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสุขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ก็ตาม หมายความว่า เวทนาทุกอย่าง จะเป็นทุกขเวทนาก็ดี สุขเวทนาก็ดีอทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกไม่ทุกข์ไม่สุข คือเฉยๆ) หรืออุเบกขาเวทนา ก็ดี ล้วนเป็นทุกข์ในความหมายที่เป็นลักษณะสามัญนั้นทั้งสิ้น

ทุกข์ในอริยสัจ หรือ ทุกขอริยสัจ ก็คือ สภาวะที่เป็นทุกข์ในไตรลักษณ์นั่นเอง ซึ่งมาเป็นที่ตั้งที่อาศัยที่ก่อเกิดเป็นปัญหาขึ้นแก่มนุษย์ เนื่องจากมนุษย์ทำให้เป็นปัญหาขึ้นมาขยายความว่า สังขารทั้งหลายถูกบีบคั้นตามธรรมดาของมัน โดยเป็นทุกข์ในไตรลักษณ์ และสังขารเหล่านั้นนั่นแหละ (ไม่ทั้งหมดและไม่เสมอไป) เมื่อคนไม่รู้เท่าทันและปฏิบัติจัดการไม่ถูก มันก็ก่อความบีบคั้นขึ้นแก่คน โดยเป็นทุกข์ในอริยสัจ (แต่การที่มันจะกลายเป็นของบีบคั้นคนขึ้นมาได้ ก็เพราะมันเองเป็นสภาวะที่ถูกบีบคั้น โดยเป็นทุกข์ในไตรลักษณ์ จึงไม่อาจเป็นไปได้ที่มันจะให้ความสมอยากเต็มแท้แน่จริงแก่คน) พูดง่ายๆ ว่า ทุกขอริยสัจ หมายเฉพาะเรื่องของเบญจขันธ์ ที่เป็นอุปาทานขันธ์ เรียกเป็นศัพท์ว่า ได้แก่ทุกข์เฉพาะส่วนที่เป็นอินทรียพัทธ์ คือเนื่องด้วยอินทรีย์ เกี่ยวกับชีวิต ไม่รวมถึงทุกข์ที่เป็นอนินทรียพัทธ์ (ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์) ซึ่งเป็นทุกข์ในไตรลักษณ์ แต่ไม่จัดเป็นทุกข์ในอริยสัจ (พึ่งสังเกตว่า ทุกขอริยสัจ เป็นทุกข์ในไตรลักษณ์ด้วย สมุทัย และมรรค ก็เป็นทุกข์ในไตรลักษณ์ด้วย โดยเป็นเรื่องตามธรรมดาของธรรมชาติ แต่ไม่เป็นทุกขอริยสัจ)


ข้อสังเกตบางอย่างที่จะช่วยให้กำหนดขอบเขตของทุกข์ในอริยสัจง่ายขึ้น พอประมวลได้ดังนี้
    ๑) เป็นอินทรียพัทธ์ คือ เนื่องด้วยอินทรีย์ เกี่ยวข้องกับชีวิต เป็นปัญหาสำหรับมนุษย์ ไม่รวมถึงอนินทรียพัทธ์ ไม่ใช่ทุกข์ในข้อความว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ (สพเพ สงขารา ทุกขา)” หรือในข้อความว่า “สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ (ยทนิจจ์ ต์ ทุกข์)” ซึ่งหมายถึงทุกข์ในไตรลักษณ์ที่กินความกว้างขวางครอบคลุมทั้งหมด
    ๒) เป็นเรื่องที่เกิดจากกรรมกิเลส คือ เป็นทุกข์ที่เป็นปัญหาของมนุษย์ เกิดจากกิเลสและกรรมของคน (ใช้ศัพท์ตามพระบาลีว่า เกิดจากทุกขสมุทัย คือ เกิดจากตัณหา, และพึงสังเกตตามพุทธพจน์ที่ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์”)
    ๓) เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับปริญญากิจ คือ ตรงกับกิจในอริยสัจข้อที่ ๑ อันได้แก่ ปริญญา อธิบายว่าปริญญา คือการกำหนดรู้ หรือการรู้จักตามสภาพที่มันเป็น เป็นกิจที่มนุษย์จะต้องกระทำต่อทุกข์ในอริยสัจ คือการทำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาของตน ทุกข์ในอริยสัจ จำกัดเฉพาะทุกข์ที่เกี่ยวกับกิจคือปริญญานี้เท่านั้น
    ๔) เน้นความหมายในแง่ที่ว่าเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ หรือเป็นที่รองรับของทุกข์ (ทุกขวตถุตาย) ไม่เพ่งความหมายในแง่ว่ามีความบีบคั้นกดดันขัดแย้งด้วยการเกิดขึ้นและการเสื่อมสลาย (อุทยพุพย ปฏิปีฟันฎเจน) ซึ่งเป็นความหมายที่เต็มเนื้อหาของทุกข์ในไตรลักษณ์

เรื่องทุกข์ในอริยสัจ ยังมีข้อพึงเข้าใจยิ่งขึ้นไปอีก เบื้องต้นนี้ พูดให้ได้แง่สังเกตเป็นพื้นฐานไว้ก่อน แล้วจะได้วกกลับมาพูดต่อไป แต่ตอนนี้ ขอแทรกเรื่องทุกขตา หรือทุกข์ ๓ อย่าง เข้ามาประกอบการศึกษาก่อน ทุกขตา ๓ หรือ ทุกข์ ๓ เป็นธรรมชุดสำคัญ พบในพระสูตร ๓ แห่ง กับในคัมภีร์มหานิทเทสและจูฬนิทเทสหลายแห่ง เป็นพุทธพจน์แห่งหนึ่ง นอกนั้นเป็นภาษิตของพระสารีบุตร แต่ทุกแห่งนั้นแสดงไว้เพียงชื่อข้อธรรม ไม่อธิบายความหมายเลย (คงเป็นคำสามัญในยุคนั้น) จึงปรึกษาและเรียงข้อไปตามคำอธิบายในอรรถกถา ซึ่งส่วนมากลำดับข้อต่างจากเดิมในพระไตรปิฎก (ในพระสูตรเป็น ทุกขทุกขตา สังขารทุกขตา วิปริณามทุกขตา) ทุกขตาตหรือ ทุกข์ ๓ เป็นหลักธรรมที่แสดงความหมายของทุกข์ในไตรลักษณ์ โดยคลุมความเป็นทุกข์ของเวทนาทั้ง ๓ และโยงเข้าสู่ความเข้าใจทุกข์ในอริยสัจ มีดังนี้
    ๑) ทุกขทุกขตา หรือ ทุกขทุกข์ ทุกข์ที่เป็นความรู้สึกทุกข์ ได้แก่ ความทุกข์ทางกายและความทุกข์ทางใจ อย่างที่เข้าใจกันโดยสามัญ ตรงตามชื่อและตามสภาพ เช่น ความเจ็บปวด ไม่สบาย เมื่อยขบ เป็นต้น หมายถึง ทุกขเวทนานั้นเอง
    ๒) วิปริณามทุกขตา หรือ วิปริณามทุกข์ ทุกข์เนื่องด้วยความผันแปร หรือทุกข์ที่แฝงอยู่ในความแปรปรวน ได้แก่ ความรู้สึกสุขหรือสุขเวทนา ซึ่งเมื่อว่าโดยสภาวะที่แท้จริง ก็เป็นเพียงทุกข์ในระดับหนึ่ง หรือในอัตราส่วนหนึ่ง สุขเวทนานั้น จึงเท่ากับเป็นทุกข์แฝง หรือมีทุกข์ตามแฝงอยู่ด้วยตลอดเวลาซึ่งจะกลายเป็นความรู้สึกทุกข์ หรือก่อให้เกิดทุกข์ขึ้นได้ในทันทีที่เมื่อใดก็ตามสุขเวทนานั้นแปรปรวนไป พูดอีกอย่างหนึ่งว่า สุขเวทนานั้น ก่อให้เกิดทุกข์เพราะความไม่จริงจังไม่คงเส้นคงวาของมันเอง (อธิบายอีกนัยหนึ่งว่า ก็คือ ทุกข์ที่ผันแปรไปในระดับหนึ่ง หรืออัตราส่วนหนึ่ง)
    ๓) สังขารทุกขตา หรือ สังขารทุกข์ ทุกข์ตามสภาพสังขาร คือสภาวะของสังขารทุกสิ่งทุกอย่าง หรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดจากเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๕ ทั้งหมด เป็นทุกข์ คือ เป็นสภาพที่ถูกบีบคั้นกดดันด้วยการเกิดขึ้น และการเสื่อมสลายของปัจจัยต่างๆ ที่ขัดแย้ง ทำให้คงอยู่ในสภาพเดิมมิได้ไม่คงตัว ทุกข์ข้อที่สามนี้คลุมความของทุกข์ในไตรลักษณ์

🔅 บทที่ ๓ ไตรลักษณ์
คำอธิบายไตรลักษณ์ตามหลักวิชาในคัมภีร์
๑. ความเข้าใจเกี่ยวกับศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
วิเคราะห์ความหมายของไตรลักษณ์
                พิเศษ: ทุกข์ในอริยสัจ แยกให้ชัด จากทุกข์ในไตรลักษณ์
                    (ก) หมวดใหญ่ของทุกข์ 
                ชุดที่ ๑ ทุกข์ ๑๒
                ชุดที่ ๒ ทุกข์ ๒
                ชุดที่ ๓ ทุกข์ ๒
                ก) ขอบเขตความหมาย
                ข) ความหมายพื้นฐาน
                ค) ความหมายที่ไม่ต้องอธิบาย
                ง) ความหมายที่อธิบายทั่วไป
                อัตตา กับ มานะ
        คุณค่าทางจริยธรรม
            จ. คุณค่าทางจริยธรรมของไตรลักษณ์ตามลำดับข้อ
                ๑. อนิจจตา
                ๒. ทุกขตา
                ๓. อนัตตตา