วันอังคาร

ปกิณกะ ๓

เสขิยวัตร ๗๕

เสขิยวัตร ๗๕ สิกขาบท กำหนดนับ ๑๐ สิกขาบทเป็นวรรคหนึ่ง ๆ ได้ ๗ วรรค อีก ๕ สิกขาบทนั้นจัดเป็น ๑ รวมเป็น ๘ วรรค  
    
(สารูป ๒๖) การกระทำให้สมควรแก่สมณะ
(โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐) วิธีที่จะขบฉัน
(ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖) การแสดงธรรม
(ปกิณกะ ๓คือที่เรี่ยรายอยู่นำมายกขึ้นสู่อุเทศ


ปกิณกะมี ๓ สิกขาบท 
ในปกิณกะ ๓ สิกขาบทนี้ ให้ภิกษุพึงทำความศึกษาสำเหนียกหมายไว้ ดังนี้

สิกขาบทที่ ๑.
ว่าเรามิได้เจ็บไข้ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระปัสสาวะ

สิกขาบทที่ ๒.
ว่าเรามิได้เจ็บไข้ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ บ้วนน้ำลาย รดลงในภูตคามอันเขียวสด คือ กอไม้ หย่อมหญ้า เครือลัดดา เสวาลชาติ อันงอกงามบนบกและในน้ำ

สิกขาบทที่ ๓.
ว่าเรามิได้เจ็บไข้ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ บ้วนน้ำลาย ลงไปในน้ำที่ควรจะดื่มกินได้

ให้ภิกษุพึงสำเหนียกนึกหมายจำไว้ ในปกิณกะสิกขาบทนี้

จบเสขิยวัตร ๗๕ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗

ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖

เสขิยวัตร ๗๕

เสขิยวัตร ๗๕ สิกขาบท กำหนดนับ ๑๐ สิกขาบทเป็นวรรคหนึ่ง ๆ ได้ ๗ วรรค อีก ๕ สิกขาบทนั้นจัดเป็น ๑ รวมเป็น ๘ วรรค  
    
(สารูป ๒๖) การกระทำให้สมควรแก่สมณะ
(โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐) วิธีที่จะขบฉัน
(ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖การแสดงธรรม
(ปกิณกะ ๓) คือที่เรี่ยรายอยู่นำมายกขึ้นสู่อุเทศ


ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์มี ๑๖ สิกขาบท
ในเทสนาปฏิสังยุตต์นั้น ให้ภิกษุผู้จะแสดงธรรมกล่าวสั่งสอนพึงศึกษาสำเหนียกนึกไว้ในใจ ดังนี้

สิกขาบทที่ ๑.
ว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้อันถือร่มกางอยู่ในมือ

สิกขาบทที่ ๒.
ว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้อันถือท่อนไม้กระบอง ๔ ศอกอยู่ในมือ

สิกขาบทที่ ๓.
ว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้อันถือศัสตรา คือ มีด พร้า ดาบ หอก ง้าว ตรี เป็นต้น

สิกขาบทที่ ๔.
ว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ถืออาวุธ คือ ธนู หน้าไม้ เกาทัณฑ์ ขวาก หลาว เป็นต้น

สิกขาบทที่ ๕.
ว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ อันสอดใส่รองเท้าไม้ฟังอยู่

สิกขาบทที่ ๖.
ว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ อันสอดใส่รองเท้าต่าง ๆ ยืนฟังธรรม

สิกขาบทที่ ๗.
ว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ อันนังฟังบนยวดยาน คานหาม รถ เกวียน เป็นต้น

สิกขาบทที่ ๘.
ว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ อันนอนฟังอยู่บนที่นอน

สิกขาบทที่ ๙.
ว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ อันนั่งรัดเข่าด้วยมือหรือผ้าฟังอยู่

สิกขาบทที่ ๑๐.
ว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ อันสวมหมวกโพกพันศีรษะฟังอยู่

สิกขาบทที่ ๑๑.
ว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ อันคลุมศีรษะฟังอยู่

สิกขาบทที่ ๑๒.
ว่าเรานั่งอยู่ไม่มีเครื่องปูลาด จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ อันนั่งอยู่บนอาสนะมีเครื่องปูลาด

สิกขาบทที่ ๑๓.
ว่าเรานั่งอาสนะต่ำ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ อันนั่งฟังอยู่บนอาสนะสูง

สิกขาบทที่ ๑๔.
ว่าเราจักไม่ยืนแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ อันนั่งฟังอยู่

สิกขาบทที่ ๑๕.
ว่าเราเดินไปข้างหลังจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นใข้ อันเดินไปข้างหน้า

สิกขาบทที่ ๑๖.
ว่าเราเดินไปอยู่นอกหนทาง จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ อันเดินไปตามทาง

ให้ภิกษุพึงศึกษาสำเหนียกในวิธีแสดงธรรม อย่าให้ผิดจากพระพุทธบัญญัติ ในเทสนาปฏิสังยุตต์สิกขาบทนี้ ถ้าผิดจากนี้เป็นอาบัติทุกกฏ

จบธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ ๑๖ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗

วันจันทร์

โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐

เสขิยวัตร ๗๕

เสขิยวัตร ๗๕ สิกขาบท กำหนดนับ ๑๐ สิกขาบทเป็นวรรคหนึ่ง ๆ ได้ ๗ วรรค อีก ๕ สิกขาบทนั้นจัดเป็น ๑ รวมเป็น ๘ วรรค  
    
(สารูป ๒๖) การกระทำให้สมควรแก่สมณะ
(โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐วิธีที่จะขบฉัน
(ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖) การแสดงธรรม
(ปกิณกะ ๓) คือที่เรี่ยรายอยู่นำมายกขึ้นสู่อุเทศ

โภชนปฏิสังยุตต์มี ๓๐ สิกขาบท 
ในโภชนปฏิสังยุตต์ ให้ภิกษุพึงสำเหนียกไว้ ดังนี้

สิกขาบทที่ ๑.
ว่าเราจักทำสติเคารพรับบิณฑบาตให้เรียบร้อย มิได้ทำอาการไม่รู้ไม่เห็น เหมือนจะสาดเทเสีย

สิกขาบทที่ ๒.
ว่าเราจักหมายใจทอดนัยน์ตาลงในบาตร ไม่เหม่อเมินสายตาไปอื่นรับบิณฑบาต

สิกขาบทที่ ๓.
ว่าเราจักรับบิณฑบาตมี🔎สูปะ(๗๖) เสมอ คือ จะรับถั่วเขียว ถั่วขาว ผัก ที่แค่นควรจะนำไปด้วยมือ
ได้ พอให้เท่ากับส่วนเสี้ยวที่ ๔ แห่งข้าวสุกไม่ให้เกินประมาณ แต่จะรับกับแกงปลาเนื้อสิ่งอื่น ๆ ไม่ต้องห้าม

สิกขาบทที่ ๔.
ว่าเราจักรับบิณฑบาต พอเสมอขอบบาตรข้างใน ไม่ให้ล้นพูนปากบาตรขึ้นไป

สิกขาบทที่ ๕.
ว่าเราจักฉันบิณฑบาตทำสติเคารพ ไม่ทำอาการดังกินเล่นเช่นเด็กกิน

สิกขาบทที่ ๖.
ว่าเราจักหมายมุ่งลงในบาตร ฉันบิณฑบาตไม่เมินหน้าสายตาดูอื่น ๆ

สิกขาบทที่ ๗.
ว่าเราจักฉันบิณฑบาตเกลี่ยเสมอหน้า เปิบพอคำ ไม่ขุดเจาะให้เป็นหลุมเป็นร่องรอยลง

สิกขาบทที่ ๘.
ว่าเราจักฉันบิณฑบาต มีสูปะเครื่องคั่วผัดแล้วด้วยถั่ว พอเสมอเลี้ยวที่ ๔ แห่งข้าวสุกดังกล่าวมาแล้ว

สิกขาบทที่ ๙.
ว่าเราจักฉันบิณฑบาต ไม่ฟั้นฟอนแต่จอมกลาง กวาดมูนเข้ามาฟอนฉันแต่ตรงกลางแห่งเดียว

สิกขาบทที่ ๑๐.
ว่าเราจักมิได้กลบกับแกล้ม เครื่องคั่ว ผัด พล่า ยำ ปิ้ง จี่ทั้งปวงไว้ด้วยข้าวสุก เพราะหมายใจจะให้ทายกเอากับแกล้มอื่นมาเพิ่มเติมให้มากขึ้นด้วยโลภอาหาร

สิกขาบทที่ ๑๑.
ว่าเราไม่ได้เจ็บไข้ จักไม่ขอต้มแกงแลข้าวสุกแก่คนนอกจากญาติแลผู้ปวารณา เพื่อจะฉันเองแล้วจึงฉัน

สิกขาบทที่ ๑๒.
ว่าเราจักไม่หมายใจจะยกโทษ แลดูบาตรของภิกษุอื่น เพราะจะเพ่งเล็งโทษเป็นประมาณ

สิกขาบทที่ ๑๓.
ว่าเราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่นัก คือทำคำข้าวให้ย่อมกว่าไข่นกยูงลงมา ให้เขื่องกว่าไข่ไก่ขึ้นไป

สิกขาบทที่ ๑๔.
ว่าเราจักทำคำข้าวให้เป็นปริมณฑล คือทำให้กลมในซองมือ ไม่ปั้นให้รียาว

สิกขาบทที่ ๑๕.
ว่าเราจักไม่อ้าปากไว้คอยทำคำข้าว เมื่อเปิบคำข้าวยังไม่ถึงปาก

สิกขาบทที่ ๑๖.
ว่าเราจักไม่เปิบคำข้าว ป้อนนิ้วมือเข้าไปในปาก

สิกขาบทที่ ๑๗.
ว่าเราจักไม่พูดทั้งคำข้าว คือไม่อมคำข้าวเคี้ยวพลางพูดพลาง

สิกขาบทที่ ๑๘.
ว่าเราจักไม่เปิบคำข้าว โยน ซัดทิ้งให้เข้าไปในปาก

สิกขาบทที่ ๑๙.
ว่าเราจักไม่กัดคำข้าว แบ่งฉันแต่พอปาก กับแกล้มสิ่งอื่นไม่ต้องห้าม

สิกขาบทที่ ๒๐.
ว่าเราจักไม่ไพล่คำข้าวไว้ในแก้มให้พองตุ่ยดังลิงอมข้าวกิน

สิกขาบทที่ ๒๑.
ว่าเราจักไม่เปิบคำข้าว ฉันพลางสะบัดมือพลางให้เมล็ดข้าวสุกกระเด็นไป

สิกขาบทที่ ๒๒.
ว่าเราจักไม่เปิบคำข้าว ฉันเรี่ยรายเมล็ดข้าวให้ร่วงพรูสาง

สิกขาบทที่ ๒๓.
ว่าเราจักไม่แลบลิ้นรับคำข้าว

สิกขาบทที่ ๒๔.
ว่าเราจักไม่ฉันให้เสียงดังจับ ๆ

สิกขาบทที่ ๒๕.
ว่าเราจักไม่ฉันดูดเข้าสูดลมให้เสียงดังซูด ๆ

สิกขาบทที่ ๒๖.
ว่าเราจักไม่ฉันเลียมือ

สิกขาบทที่ ๒๗.
ว่าเราจักเปิบคำข้าวฉัน ไม่ขอดบาตรด้วยมือ แต่เมื่อจวนหมดจักกวาดรวมเข้า ไม่ต้องห้าม ข้าวต้ม ข้าวเปียกอันติดบาตรนั้น ขอด ไม่มีโทษ

สิกขาบทที่ ๒๘.
ว่าเราจักฉันไม่แลบลิ้นเลียริมฝีปาก

สิกขาบทที่ ๒๙.
ว่าเราจักไม่จับโอนฉันด้วยมืออันแปดเปื้อนอามิส

สิกขาบทที่ ๓๐.
ว่าเราจักไม่สาดเทน้ำล้างบาตร ทั้งเมล็ดข้าวลงในถิ่นบ้าน

ให้ภิกษุพึงทำความศึกษาในวิธีอันประกอบด้วยการขบฉัน อย่าให้ล่วงพระพุทธบัญญัติในโภชนปฏิสังยุตต์ ๓๐ สิกขาบทนี้
ถ้าผิดจากนี้เป็นอาบัติทุกกฏ

จบโภชนปฏิสังยุตต์ ๓๐ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗

สารูป ๒๖

เสขิยวัตร ๗๕

เสขิยวัตร ๗๕ สิกขาบท กำหนดนับ ๑๐ สิกขาบทเป็นวรรคหนึ่ง ๆ ได้ ๗ วรรค อีก ๕ สิกขาบทนั้นจัดเป็น ๑ รวมเป็น ๘ วรรค  
    
(สารูป ๒๖) การกระทำ
ให้สมควรแก่สมณะ
(โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐) วิธีที่จะขบฉัน
(ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖) การแสดงธรรม
(ปกิณกะ ๓) คือที่เรี่ยรายอยู่นำมายกขึ้นสู่อุเทศ

สารูปมี ๒๖ สิกขาบท
ในสารูป ๒๖ นี้ให้ภิกษุพึงทำการศึกษาฝึกใจสำเหนียกไว้อย่าให้หลงลืม ดังนี้
สิกขาบทที่ ๑.
ว่าเราจักนุ่งผ้าให้เป็น🔎ปริมณฑล(๗๗) คือนุ่งสงบจีบให้ชายเสมอกัน เหน็บพกให้แนบเนียน เหนือสะดือ
ขึ้นไปสัก ๔ นิ้ว ปิดเข่าลงมาประมาณ ๘ นิ้ว เมื่อนั่งลงก็จะคงปิดเข่า ๔ นิ้ว อย่างนี้ชื่อว่านุ่งผ้าเป็นปริมณฑล

สิกขาบทที่ ๒.
ว่าเราจักห่มผ้าจีวรให้เป็นปริมณฑล ถ้านอกเขตวัดให้ห่มคลุมผสมมุมม้วนขวาเข้าให้เสมอกัน (ตามบาลีใน มหาอัตฤกถาคัมภีร์ จตุตถสมันตปาสาทิกาคัมภีร์ มังคลัตถทีปนีคัมภีร์ ว่า สมปุปมาณํ จีวรํ ปารปนฺเตน สํหริตฺวา พาหาย อุปริ จปิตา อุโภ อนุตา พหิมุขา ติฏฐนุติ แปลความว่า ชายทั้ง ๒ อันพระภิกษุเมื่อห่มซึ่งจีวรจัดให้เสมอกัน ม้วนเข้าแล้ววางไว้เบื้องบนแห่งแขน มีหน้าในภายนอกให้ตั้งอยู่ริมอนุวาต ปกคอพันข้อมือแล้วหนีบไว้ใต้รักแร้ วางมอบบนแขนซ้าย ปกแข้งลงประมาณ ๔ นิ้ว ถ้าในเขตวัดให้ลดเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ถ้าห่มครองให้ชักจีวรแถบซ้ายพับขึ้นมาพาดบ่าเป็นสองชั้น พาดสังฆาฏิหน้าหลังเท่ากัน ยื่นหลังถึงขอบสบง เรียกว่า หางค่างหางโค ยื่นข้างหน้ามากเรียกว่า ชายแครงชายไหว ไม่ควร คาดรัดประคดเอวใต้นมสองนิ้ว อย่าให้ต่ำเลย ๔ นิ้ว ต้องนุ่งห่มให้เป็นปริมณฑลก่อน จึงแสดงอาบัติตก)
        หมายเหตุ : ข้อความทั้งหมดในวงเล็บ เป็นข้อความที่เรียบเรียงเพิ่มเติมไว้ในฉบับ ร.ศ. ๑๒๘

สิกขาบทที่ ๓.
ว่าเราจักนุ่งห่มให้เป็นปริมณฑล ปกปิดกายด้วยดีตามวิธีที่กล่าวแล้ว เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๔.
ว่าเราจักนุ่งห่มปกปิดกายด้วยดี นั่งในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๕.
ว่าเราจักสำรวมด้วยดี ไม่คะนองมือคะนองเท้า เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๖.
ว่าเราจักสำรวมด้วยดี ไม่คะนองมือคะนองเท้า นั่งในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๗.
ว่าเราจัดทอดนัยน์ตาลงดูข้างหน้าเพียงสัก ๔ ศอก ไม่เหลียวซ้ายเหลียวขวา ไม่กลับหลังมาแลดู เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๘.
ว่าเราจักทอดตาแลดูเพียง ๔ ศอกไม่เหม่อเมินสายตาดู นั่งในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๙.
ว่าเราจักไม่เลิกจีวรขึ้นพาดบ่า ให้เห็นสายประคด เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๑๐.
ว่าเราจักไม่เลิกจีวรขึ้นพาดบ่า นั่งในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๑๑.
ว่าเราจักไม่หัวเราะดังคิกคัก เฮฮา เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๑๒.
ว่าเราจักไม่หัวเราะดังคิกคัก เฮฮา นั่งในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๑๓.
ว่าเราจักไม่พูดเสียงดังให้เกินขนาดเสียง เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๑๔.
ว่าเราจักไม่พูดเสียงดังให้เกินขนาดเสียง นั่งในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๑๕.
ว่าเราจักไม่โยกโคลงกาย เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๑๖.
ว่าเราจักไม่โยกโคลงกาย นั่งในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๑๗.
ว่าเราจักไม่กรีดกรายแขน เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๑๘.
ว่าเราจักไม่กรีดกรายแขน นั่งในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๑๙.
ว่าเราจักไม่โคลงศีรษะ กลอกหน้า เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๒๐.
ว่าเราจักไม่โคลงศีรษะ กลอกหน้า นั่งในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๒๑.
ว่าเราจักไม่เท้าสะเอว เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๒๒.
ว่าเราจักไม่เท้าแขน นั่งในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๒๓.
ว่าเราจักไม่คลุมศีรษะ เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๒๔.
ว่าเราจักไม่คลุมศีรษะ นั่งในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๒๕.
ว่าเราจักไม่เขย่งเท้า เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๒๖.
ว่าเราจักไม่รัดเข่าด้วยมือหรือผ้า นั่งในถิ่นบ้าน

ให้ภิกษุพึงสำเหนียกนึกหมายไว้ตามกิจ เป็นสารูปแก่สมณะทั้ง ๒๖ อย่างนี้
ถ้าผิดจากนี้ต้องอาบัติทุกกฏ

จบสารูป ๒๖ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗


วันศุกร์

ปาฎิเทสนียะ ๔

ปาฎิเทสนียะ ๔ สิกขาบท

๑. สิกขาบทที่หนึ่ง
ความว่า ภิกษุพึงรับของเคี้ยวของฉันด้วยมือตน แต่มือนางภิกษุณีอันมิใช่ญาติอันเข้าไปในละแวกบ้าน นำมาเคี้ยวฉันกลืนให้ล่วงลำคอลงไป ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ภิกษุนั้นพึงแสดงอาบัติแก่ภิกษุว่า “คารยุหํอาวุโส ธมฺมํ อาปชฺชึ อสปฺปายํ ปาฏิเทสนียํ ตํ ปฏิเทเสมิ” ความว่า “ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้า
ต้องแล้วซึ่งอาบัติธรรม อันพระพุทธเจ้าจึงติเตียนเป็นธรรมไม่ให้มีความสบาย คือจะทำอันตรายแก่สวรรค์และนิพพาน เป็นธรรมชื่อว่า ปาฏิเทสนียะ ควรที่ภิกษุผู้ต้องพึ่งแสดงให้เป็นปกติบริสุทธิ์ด้วยเทศนา ข้าพเจ้าขอแสดงให้เป็นปกติ ซึ่งอาบัติธรรมนั้น”

๒. สิกขาบทที่สอง
ความว่า ภิกษุมากหลายรูปด้วยกัน มีทายกนิมนต์ฉันในตระกูล ถ้าแลมีนางภิกษุณีเข้าไปตักเตือนทายกให้เอาแกงข้าวสุกของฉันไปแถมไปเติมตามภิกษุที่คุ้นเคยกัน ให้ภิกษุทั้งหลายนั้นจึงดุรุกรานขับนางภิกษุณีนั้นเสียว่า “ไม่ใช่กิจของท่าน ท่านจงหลีกถอยไปเสียให้พ้นก่อน กว่าภิกษุทั้งหลายจะฉันอิ่ม” ถ้าไม่มีภิกษุแต่สักรูปหนึ่งอาจดุขับนางภิกษุณีนั้นเสียได้ เพิกเฉยเสียสิ้น ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะสิ้นทุกรูปด้วยกัน ภิกษุหมู่นั้นพึงแสดงอาบัติแก่ภิกษุโดยวิธีดังกล่าวมาแล้ว เปลี่ยนบทกิริยาเป็นพหูพจน์ว่า “อาปซุชิมหา ปฏิเทเสม” เท่านี้

๓. สิกขาบทที่สาม
ความว่า ตระกูลเสกขบุคคลคือ โสดาบันแลสกิทาคามีที่พระสงฆ์สมมติห้ามไว้ ไม่ได้นิมนต์ไว้ก่อน แล้วเข้าไปรับบิณฑบาตไม่ได้ ภิกษุมิได้เจ็บไข้ ตระกูลนั้นก็หาได้นิมนต์ไว้แต่ก่อนไม่ เข้าไปรับของเคี้ยวของฉันด้วยมือตนเองแล้ว ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
(อธิบายสิกขาบทนี้เพิ่มเติม - ตระกูลผู้เป็นเสกขบุคคลจะเป็นผู้ทำทานโดยไม่สนใจว่าตนเองจะหมดเนื้อหมดตัว พระพุทธองค์ทรงมีเมตตา จึงสั่งห้ามไม่ให้ภิกษุเดินผ่านหน้าบ้านเพื่อรับไทยทาน เว้นแต่จะได้รับกิจนิมนต์ เพื่อที่จะไม่เป็นการรบกวนการใช้ชีวิตในเพศคฤหัสถ์ของตระกูลที่เป็นเสกขบุคคลจนเกินไป)

๔. สิกขาบทที่สี่
ความว่า เสนาสนะมีอยู่ในป่า คือที่ไกลแต่บ้านไปได้ชั่ว ๒๕ เส้น เป็นที่เล่าลือว่า มีความรังเกียจด้วยการจะไปมา มีภัยเฉพาะหน้า คือมีโจรร้ายคอยตีชิงแลเข้าซ่องสุมซุ่มซ่อนอยู่ใกล้อาราม ภิกษุอยู่ในเสนาสนะเห็นปานนั้น ทายกมิได้มาสู่หาบอกเล่า🔎เผดียง(๗๕) ไว้ให้รู้ก่อน ได้นำขาทนียโภชนียะคือของเคี้ยวของฉัน
ยาวกาลิกมาถวายถึงภายในอาราม ภิกษุไม่เป็นไข้รับด้วยมือตนเอง แล้วจึงฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ

จบปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบทเท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗

ราชวรรคที่ ๙

ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท จัดเป็น ๙ วรรค

        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)

ราชวรรคที่ ๙ มี ๑๐ สิกขาบท ดังนี้
๑. อันเตปุรสิกขาบท
ความว่า ภิกษุอันไปยังราชตระกูลพระมหากษัตริย์อันทรงราชาภิเษกแล้ว เดินตรงย่างก้าวล่วงธรณีพระทวารเข้าไปในตำหนักที่พระบรรทม เวลาเสด็จอยู่กับนางกษัตริย์รัตนมเหสี พระราชเทวียังมิได้ออกที่เฝ้า ณ ภายใน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๒. รัตนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้เห็นของ ๆ คฤหัสถ์เจ้าของลืมไว้ หรือตกอยู่ที่นอกอารามเขตวัดหรือนอกอาวาสเขตที่พักที่แรม จะเป็นเพชร พลอย ทอง เงิน รูปพรรณต่าง ๆ ที่นับว่ารัตนก็ดี สิ่งที่เป็นที่ยินดีควรเก็บงำสงวนไว้ ตั้งแต่มีดพร้าเป็นต้นไป นับว่ารัตนสมมติก็ดี จึงเก็บเอามาเองหรือให้ผู้อื่นเก็บมารักษาไว้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นแต่ตกอยู่ในอาราม ในอาวาส ของที่ตกอยู่ในอารามหรืออาวาสนั้น ภิกษุได้พบเห็นแล้วจึงเก็บเองหรือให้ผู้อื่นเก็บไว้ ด้วยสันนิษฐานเข้าใจว่าจะเป็นของ ๆ ใคร เจ้าของจะมาเอาไป อันนี้เป็นวัตรปฏิบัติสมควรถ้าไม่เก็บเอามารักษาไว้ ต้องอาบัติวัตตเภททุกกฏ

๓. วิกาลคามปเวสนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุมีกิจที่จะไปบ้านในเวลาตั้งแต่ล่วงเที่ยงวันไปจนรุ่งเช้า เพื่อนภิกษุมีอยู่ มิได้อำลาบอกเล่าให้รู้ก่อน เข้าไปในบ้านในเวลาวิกาล ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นแต่เป็นการรีบด่วนที่ควรจะพึงไป

๔. สูจิฆรสิกขาบท
ความว่า ภิกษุกระทำเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำซึ่งกล่องสำหรับใส่เข็มให้แล้ว ไปด้วยกระดูก ๑ งาช้าง ๑ เขาหรือนอ ๑ พอทำเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ มีอันทำลายเสียเป็นวินัยกรรม ถ้ายังมิได้ทำลายเสียก่อน สำแดงอาบัติไม่ตก ถ้าเป็นของผู้อื่นให้ ภิกษุเอามาใส่เข็มเมื่อใด ต้องอาบัติปาจิตตีย์เมื่อนั้น ถ้าภิกษุทำให้ผู้อื่น เป็นอาบัติทุกกฏ

๕. มัญจสิกขาบท
ความว่า ภิกษุจะให้ทำเตียงหรือตั้งขึ้นใหม่ จึงทำให้มีเท้าสูงประมาณ ๘ นิ้วพระสุคต (๑๐ นิ้ว ๓ กระเบียดช่างไม้) แม่แคร่รองเชิงข้างล่างต่างหาก วัดแต่พื้นแม่แคร่ขึ้นไปถึงพื้นเตียงเป็นประมาณ ถ้าสูงกว่า ๕ นิ้วพระสุคตเจ้าขึ้นไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตัดรอนให้ต่ำลงมาตามประมาณก่อน จึงแสดงอาบัติได้

๖. ตุโลนัทธสิกขาบท
ความว่า ภิกษุพึงให้ทำเตียงหรือสั่งหุ้มพื้นด้วยปกผ้าลาดคลุมไว้เบื้องบน พอทำเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เลิกรื้อนุ่นขึ้นเสียให้หมดก่อน จึงแสดงอาบัติได้

๗. นีสีทนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุจะให้ทำผ้านิสีทนะ คือผ้าสำหรับปูนั่ง จึงทำให้พอประมาณ คือ ยาว ๒ คืบ กว้างคืบครึ่ง ชายยาวคืบหนึ่งฉีก ๓ แฉก ติดต่อเข้าตามผืน วัดตามขนาดคืบพระสุคตเจ้า (คือ ยาว ๑ ศอก ๕ นิ้ว ๑ กระเบียด กว้าง ๑ ศอก ๓ อนุกระเบียด ชาย ๑ คืบ ๔ นิ้ว ๒ อนุกระเบียดช่างไม้) ถ้าทำให้กว้างยาวเกินประมาณนี้ พอเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตัดทอนให้ได้ขนาดก่อน จึงแสดงอาบัติได้

๘. กัณฑปฏิจฉาทิสิกขาบท
ความว่า ภิกษุจะให้ทำผ้าสำหรับปิดซับแผลหิด แผลฝี จึงทำให้ต้องด้วยประมาณ คือ ยาว ๔ คืบ กว้าง ๒ คืบตามคืบพระสุคตเจ้า (ยาว ๒ ศอกคืบ ๔ นิ้ว ๒ กระเบียด กว้าง ๑ ศอก ๔ นิ้ว ๑ กระเบียดช่างไม้) ถ้าทำเกินขนาดนี้ไป พอเสร็จต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตัดทอนลงให้ได้ขนาดเสียก่อน จึงแสดงอาบัติได้

๙. วัสสิกสาฎีกสิกขาบท
ความว่า ภิกษุจะให้ทำผ้าสำหรับอาบน้ำฝน จึงทำให้ควรประมาณ คือ ยาว ๖ คืบ กว้าง ๒ คืบครึ่ง ตามขนาดคืบพระสุคตเจ้า (ยาว ๔ ศอก ๓ กระเบียด กว้าง ๑ ศอก ๑ คืบ ๔ นิ้ว ๑ กระเบียด ๑ อนุกระเบียดอย่างช่างไม้) ถ้าทำเกินขนาดนี้ไป พอเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตัดทอนลงให้ได้ขนาดเสียก่อน จึงแสดงอาบัติได้

๑๐. สุคตจีวรสิกขาบท
ความว่า ภิกษุจะให้ทำจีวรยาวกว้างมีประมาณเท่าจีวรพระสุคต หรือเกินขนาดจีวรพระสุคตขึ้นไป พอเสร็จแล้วต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตัดทอนให้หย่อนย่อมลงก่อน จึงแสดงอาบัติได้ ขนาดจีวรพระสุคตนั้นยาว ๙ คืบ กว้าง ๖ คืบ ตามขนาดคืบพระสุคตเจ้า (ยาว ๖ ศอก ๑ นิ้ว ๒ อนุกระเบียด กว้าง ๔ ศอก ๓ กระเบียดช่างไม้) ภิกษุจะทำจีวรห่มพึงให้รู้ประมาณจีวรพระสุคต แล้วทำให้ย่อมลงมา จีวรจึงใช้ได้ ไม่เป็นอาบัติ

จบราชวรรค ๑๐ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗