ในบรรดาศีลเหล่านั้น อรรถาธิบายในส่วนแห่งศีลมีอย่างเดียว นักศึกษาพึงทราบ โดยนัยที่ได้กล่าวมาแล้วนั่นเทียว
“ก็แหละ กายกรรม วจีกรรม อาชีพของภิกษุนั้น ย่อมเป็นสภาพบริสุทธิ์ด้วยดีในเบื้องต้น โดยแท้แล”
อีกประการหนึ่ง สิกขาบทเหล่าใดที่ตรัสไว้ว่าเป็นสิกขาบทเล็ก ๆ น้อย ๆ สิกขาบทนี้จัดเป็น อาภิสมาจาริกศีล สิกขาบทที่เหลือจัดเป็น อาทิพรหมจริยกศีล อีกประการหนึ่ง สิกขาบทที่นับเนื่องในอุภโตวิภังค์ (คำว่าอุภโตวิภังค์ ได้แก่วิภังค์ ๒ คือ ภิกขุวิภังค์และภิกขุนีวิภังค์) ชื่อว่า อาทิพรหมจริยกศีล สิกขาบทที่นับเนื่องในขันธกะและวัตรชื่อว่า อาภิสมาจาริกศีล อาทิพรหมจริยกศีลจะสำเร็จได้ก็ด้วยความสมบูรณ์แห่งอาภิสมาจาริกศีลนั้น เพราะเหตุฉะนั้นแหละ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนา ไม่ทำอาภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์แล้วจักทำอาทิพรหมจริยกธรรมให้บริบูรณ์ดังนี้ ข้อนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้” ศีล ๒ อย่างโดยแยกเป็นอาภิสมาจาริกศีลและอาทิพรหมจริยกศีล ยุติด้วยประการฉะนี้
แม้ศีลทั้งหลายนอกนี้ นักศึกษาก็พึงอธิบายให้พิสดาร โดยทำนองนี้นั่นเทียว แม้ในอธิการวิสัชนาอปริยันตศีลท่านพระธรรมเสนาบดีสารีปุตตะก็ได้กล่าวไว้ว่า “ศีลที่มิใช่มีลาภเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้แต่จิตก็ไม่ให้เกิดขึ้นเพื่อล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ตนสมาทานแล้ว เพราะลาภเป็นเหตุ เพราะลาภเป็นปัจจัย เพราะลาภเป็นตัวการ ไฉนเขาจักล่วงละเมิด นี้ชื่อว่า ศีลมิใช่มีลาภเป็นที่สุดนั้นๆ แม้ศีลทั้งหลายนอกนี้นักศึกษาก็พึ่งอธิบายให้พิสดารโดยทำนองนี้นั่นเทียว ศีล ๒ อย่างโดยแยกเป็นสปริยันตศีลและอปริยันตศีล ยุติด้วยประการฉะนี้
“วินัยเพื่อประโยชน์แก่ความสังวร ความสังวรเพื่อประโยชน์แก่ความไม่เดือดร้อนใจ ความไม่เดือดร้อนใจเพื่อประโยชน์แก่ความปราโมช ความปราโมชเพื่อประโยชน์แก่ปีติ ปีติเพื่อประโยชน์แก่ความสงบใจ ความสงบใจเพื่อประโยชน์แก่ความสุข ความสุขเพื่อประโยชน์แก่สมาธิ สมาธิเพื่อประโยชน์แก่ยถาภูตญาณทัสสนะ ยถาภูตญาณทัสสนะเพื่อประโยชน์แก่นิพพิทา นิพพิทาเพื่อประโยชน์แก่วิราคะ วิราคะเพื่อประโยชน์แก่วิมุตติ วิมุตติ เพื่อประโยชน์แก่วิมุตติญาณทัสสนะ วิมุตติญาณทัสสนะเพื่อประโยชน์แก่อนุปาทานปรินิพพาน การหลุดพ้นแห่งอนุปาทาจิตนี้ใด การพูดวินัยก็มีการหลุดพ้นแห่ง อนุปาทาจิตนั้นเป็นประโยชน์ การปรึกษาวินัยก็มีการหลุดพ้นแห่งอนุปาทาจิตนั้นเป็นประโยชน์ การเข้าไปอิงวินัยก็มีการหลุดพ้นแห่งอนุปาทาจิตนั้นเป็นประโยชน์ การเงี่ยโสตลงฟังวินัยก็มีการหลุดพ้นแห่งอนุปาทาจิตนั้นเป็นประโยชน์ "
โลกุตตรศีล ย่อมนำมาซึ่งการออกจากภพและเป็นภูมิแห่งปัจจเวกขณญาณด้วย ศีล ๒ อย่างโดยแยกเป็นโลกิยศีลและโลกุตตรศีล ยุติด้วยประการฉะนี้
อีกอย่างหนึ่ง ศีลที่หม่นหมองไปด้วยบาปธรรมทั้งหลาย มีการยกตนและข่มผู้อื่นเป็นต้นอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ส่วนภิกษุอื่น ๆ นี้นั้นเป็นผู้ทุศีลมีบาปธรรม ชื่อว่า หีนศีล ศีลที่ไม่หม่นหมองอย่างนั้นแต่เป็นชั้นโลกิยะ ชื่อว่ามัชฌิมศีล ศีลชั้นโลกุตตระ ชื่อว่า ปณีตศีล
ศีล ๓ อย่างโดยแยกเป็นหีนศีล, มัชฌิมศีลและปณีตศีล ยุติด้วยประการฉะนี้
อธิบายศีล ๔ อย่าง หมวดที่ ๑
อนึ่ง ภิกษุใดในศาสนานี้ ผู้มีศีลสมบูรณ์แล้ว ยังพยายามเพื่อต้องการสมาธิต่อไปอีก ศีลของภิกษุนี้ จัดเป็นวิเสสภาคิยศีล
“อานนท์ในกาลใดพระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดา ความพอพระทัยในบุรุษอันประกอบด้วยกามคุณ ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่พระมารดาพระโพธิสัตว์”
ดังนี้ ศีลนี้จัดเป็นธัมมตาศีล อนึ่ง ศีลในชาตินั้น ๆ ของจำพวกสัตว์ผู้บริสุทธิ์ เช่นพระมหากัสสปะเป็นต้นและของพระโพธิสัตว์ จัดเป็น ปุพพเหตุกศีล ศีล ๔ อย่างโดยแยกเป็นปกติศีลเป็นต้น ยุติด้วยประการฉะนี้
อธิบายศีล ๔ อย่าง หมวดที่ ๔
อนึ่ง ศีลใดที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ยึดถือซึ่งนิมิต ไม่ยึดถือซึ่งอนุพยัญชนะ อกุศลบาปธรรมทั้งหลายคืออภิชฌาและโทมนัสย่อมไหลไปสู่ภิกษุนั้นผู้ไม่สำรวมซึ่งจักขุนทรีย์เพราะมีจักขุนทรีย์ใดเป็นเหตุ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสังวรซึ่งจักขุนทรีย์นั้น ย่อมรักษาซึ่งจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสังวรในจักขุนทรีย์, ได้ยินเสียงด้วยโสตะแล้วได้ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้วได้ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว...ได้สัมผัสโผฏฐพพะด้วยกายแล้วได้รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วย่อมไม่ยึดถือ
อนึ่ง การวิรัติจากมิจฉาอาชีพอันใด ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจแห่งการล่วงละเมิดซึ่งสิกขาบท ๖ ประการ ที่ทรงบัญญัติไว้เพราะมีอาชีวะเป็นเหตุ และด้วยอำนาจแห่งบาปธรรมทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ คือ “การหลอกลวง การพูดเลาะเล็ม การกระทำนิมิต การด่าแช่ง การแสวงหาลาภด้วยลาภ” นี้จัดเป็น อาชีวปาริสุทธิศีล