บทความ

พระอภิธรรม ปรมัตถสัจจ

รูปภาพ
ปรมัตถธรรม  คือ ธรรมชาติที่เป็นความจริงแท้แน่นอน ที่ดำรงลักษณะเฉพาะของตนไว้โดยไม่ผันแปรเปลี่ยนแปลง เป็นธรรมที่ปฏิเสธ ความเป็นสัตว์ ความเป็นบุคคล ความเป็นตัวตนโดยสิ้นเชิง มี ๔ ประการ คือ จิต เจตสิก รูป และ นิพพาน 🙏ธรรมบรรยาย โดย พระอาจารย์ สมบัติ นันทิโก ๑. ปรมัตถสัจจ ๐๑ ๒. ปรมัตถสัจจ ๐๒ ๓. ปรมัตถสัจจ ๐๓ ๔. ปรมัตถสัจจ ๐๔ ๕. ปรมัตถสัจจ ๐๕ ๖. ปรมัตถสัจจ ๐๖ ๗. ปรมัตถสัจจ ๐๗ ๘. ปรมัตถสัจจ ๐๘ ๙. ปรมัตถสัจจ ๐๙ ๑๐. ปรมัตถสัจจ ๑๐ ๑๑. ปรมัตถสัจจ ๑๑ ๑๒. ปรมัตถสัจจ ๑๒

อรูปาวจรจิต ๑๒

รูปภาพ
เป็นจิตที่เกิดขึ้นโดยการเจริญสมถภาวนาของผู้ที่ได้รูปาวจรปัญจมฌานแล้ว เมื่อได้เจริญฌานให้ยิ่งขึ้นไป ก็จะเข้าถึงอรูปฌาน ฉะนั้นอรูปาวจรจิตจึงเป็นจิตที่ท่องเที่ยวอยู่ในภูมิ อันเป็นที่เกิดแห่งวัตถุอรูปและกิเลส อรูปเป็นส่วนมาก      วัตถุอรูป ได้แก่ อรูปาวจรจิต ๑๒ เจตสิก ๓๐ (วัตถุธรรม)      กิเลสอรูป ได้แก่ อรูปตัณหา หรือความยินดีพอใจในอรูปฌานและอรูปภพ อรูปสฺฺส ภโวติ = อรูปํ   ภูมิใด เป็นที่เกิดแห่งวัตถุอรูปและกิเลสอรูป ฉะนั้น ภูมินั้น ชื่อว่า อรูปภูมิ ได้แก่ อรูปภูมิ ๔ อรูเป อวจรตีติ = อรูปาวจรํ จิตใดย่อมท่องเที่ยวเกิดอยู่ในภูมิอันเป็นที่เกิดแห่งกิเลสอรูป และวัตถุอรูปฉะนั้น จิตนั้น ชื่อว่า อรูปาวจรจิต คาถาสังคหะ อาลมฺพนปุปเภเทน  จตุธารุปฺปมานสํ ปุญฺญปากกฺริยาเภทา  ปุน ทฺวาทสธาฐิตํฯ แปลความว่า "อรูปาวจรจิตนั้น กล่าวโดยประเภทแห่งอารมณ์ มี ๔ อย่าง เมื่อจำแนกโดยประเภทแห่งชาติ คือกุศล วิบาก กิริยา แล้ว มีจำนวน ๑๒ ประเภท" อธิบาย อรูปาวจรจิตนั้น เมื่อกล่าวโดยประเภทแห่งอารมณ์ มี ๔ อย่าง คือ อากาสานัญจายตนะ ๑ วิญญาณัญจายตนะ ๑ อากิญจัญญายตนะ ๑ เนวสัญญานาสั...

รูปาวจรจิต ๑๕

รูปภาพ
🙏 รูปาวจรจิต ๑๕  🙏  รูปาวจรจิต หมายถึงจิตที่เข้าถึงอารมณ์ของรูปฌาน หรือหมายถึงจิตที่ท่องเที่ยว เกิดอยู่ในภูมิอันเป็นที่เกิดแห่งวัตถุรูป และกิเลสรูปเป็นส่วนมาก วัตถุรูป ได้แก่ รูปาวจรจิต ๑๕ เจตสิก ๓๕ (วัตถุธรรม) กิเลสรูป ได้แก่ โลภเจตสิกที่เกี่ยวด้วยรูปตัณหา คือ ความพอใจในรูป ฌาน  อภิญญา และรูปภพ มีพระบาลีว่า รูปสฺส ภโวติ = รูป  “ภูมิใด เป็นที่เกิดแห่งวัตถุรูปและกิเลสรูป ภูมินั้นชื่อว่า รูป” ได้แก่ รูปภูมิ ๑๕ รูเป อวจรตีติ = รูปาวจรํ  “จิตใด  ย่อมท่องเที่ยวเกิดอยู่ในภูมิอันเป็นที่เกิดแห่งวัตถุรูปและกิเลสรูป  จิตนั้นชื่อว่า รูปาวจรจิต คาถาสังคหะ ปญฺจธา ฌานเภเทน  รูปาวจรมานสํ  ปุญฺญปากกฺกริยาเภทา  ตํ ปญฺจทสธา ภเว ฯ แปลความว่า รูปาวจรจิต กล่าวโดยประเภทฌาน มี ๕ เมื่อจำแนกโดยกุศล  วิบาก กิริยา แล้วมี ๑๕ อธิบาย รูปาวจรจิตนั้น เมื่อกล่าวโดยประเภทแห่งฌาน มี ๕ คือ รูปาวจรปฐมฌานจิต ๑ รูปาวจรทุติยฌานจิต ๑ รูปาวจรตติยฌานจิต ๑ รูปาวจรจตุตถฌานจิต ๑ รูปาวจรปัญจมฌานจิต ๑ รูปาวจรฌานจิตทั้ง ๕ นี้ เมื่อจำแนกโดยประเภทแห่งชาติ คือ กุศล วิบาก  ก...

มหากิริยาจิต ๘

รูปภาพ
“ กิริยาจิต ” หมายถึงจิตที่ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่วิบาก เป็นเพียงจิตที่กระทำหน้าที่รับอารมณ์ผ่านมาทางทวารทั้ง ๖ หรือทำหน้าที่ให้สำเร็จการคิด การทำ การพูด เป็นกิริยาโดยภาวะที่เกิดขึ้นแก่พระขีณาสพ ไม่มีปัจจัยแห่งกุศล และอกุศลในอนาคตอีก กิริยาจิต จึงมี ๒ ประเภท คือ : - ๑. อเหตุกกิริยาจิต ได้แก่ จิตที่ไม่ใช่เป็นผลของกุศลและอกุศล และทั้งไม่ใช่จิตที่เป็นตัวกุศลและอกุศลด้วยเป็นจิตที่สักแต่เพียงกระทำหน้าที่รับอารมณ์ผ่านทวารทั้ง ๖ เท่านั้น ยังไม่ให้ถึงความเป็นชวนะ (เว้นแต่ หสิตุปาทะ เกิดที่ชวนะ) จึงยังไม่มีโอกาสสร้างเหตุ ฉะนั้น ย่อมไม่มีเหตุผลเหมือนดอกไม้ลม กล่าวคือ เป็นดอกไม้ที่ไร้ผล ๒. สเหตุกกามาวจรกิริยาจิต หรือ มหากิริยาจิต เป็นจิตที่ทำให้สำเร็จ การทำการพูด การคิดของพระอรหันต์ ผู้สิ้นกิเลสทั้งปวง เป็นกิริยาจิตที่เข้าถึงความเป็นชวนะ เสวยอารมณ์ที่เป็นโสมนัส หรือ อุเบกขา ซึ่งสักแต่เพียงว่าเป็นเวทนาชนิดที่ไม่ใช่เป็นเหตุแห่งตัณหาและอุปาทาน จึงไม่สามารถก่อให้เกิดผลในอนาคตขึ้นใหม่อีกได้ เปรียบเหมือนดอกไม้ที่มีต้นอันขาดรากเสียแล้ว อเหตุกกิริยาจิตได้แสดงมาแล้วในบทเรียนก่อน ต่อไปนี้จะได้แส...

มหาวิบากจิต ๘

รูปภาพ
วิบากจิต มีสภาพดังนี้ คือ : - ๑. ไม่ใช่เป็นจิตที่ต้องทำให้เกิดขึ้น ถ้ามีกุศลกรรม อกุศลกรรม เป็นเหตุแล้ววิบากจิต คือ ผล ก็ต้องมีแน่นอน ๒. วิบากจิต เป็นจิตที่สงบ ไม่ปรากฏอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นจิตที่ไม่มีความขวนขวาย หรือวิริยะ อุตสาหะ ยังมีกำลังอ่อน ต่างกับกุศล อกุศล และกิริยา ๓. วิบากจิต ไม่ปรากฏชัด ที่รู้สึกปรากฏชัดเฉพาะขณะหลับ ส่วนเวลาตื่น จิตขึ้นสู่วิถี เป็นกุศลบ้าง อกุสลบ้าง กิริยาบ้าง ย่อมเด่นชัดมากกว่าวิบากจิต ๔. เจตสิกที่เกิดกับวิบากจิต ก็มีกำลังอ่อนไปด้วย รวมทั้งปฏิสนธิ กัมมชรูปและจิตชรูป ที่เกิดจากวิบากจิตนั้น ก็ไม่ปรากฏอาการอย่างใดอย่างหนึ่งชัดเจนเหมือนกุศลจิต อกุศลจิต และกิริยาจิต เช่น ความชรา ย่อมเกิดแก่บุคคลทุกคน เมื่อความเกิดมีแล้ว ความชราจะต้องมีแน่นอน 🔅 สเหตุกกามาวจรวิบากจิต (มหาวิบาก) สเหตุกามาวจรวิบากจิต นิยมเรียกกันว่า กามาวจรวิบาก หรือมหาวิบากเพราะเป็นจิตที่เป็นผลของกามาวจรกุศลจิต หรือ มหากุศลจิต ๘ ดวงโดยตรง กล่าวคือ มหากุศลจิต ๘ ดวง เป็นเหตุให้มหาวิบากจิตเกิด ๘ ดวง เป็นผล และย่อมให้ผลตรงกันดวงต่อดวง เช่น มหากุศลจิต เป็นโสมนัส ญาณสัมปยุต อสังขาริก ก็ให้ผลเป็น ...