วันอังคาร

๓. สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์

๓. สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์

ทั้งที่ความเป็นอนิจจัง ทุกข์ และอนัตตา นี้ เป็นลักษณะสามัญของสิ่งทั้งหลาย เป็นความจริงที่แสดงตัวของมันเองอยู่ตามธรรมดาตลอดทุกเวลา แต่คนทั่วไปก็มองไม่เห็น ทั้งนี้เพราะเป็นเหมือนมีสิ่งปิดบังคอยซ่อนคลุมไว้ ถ้าไม่มนสิการ คือไม่ใส่ใจพิจารณาอย่างถูกต้อง ก็มองไม่เห็น สิ่งที่เป็นเหมือนเครื่องปิดบังซ่อนคลุมเหล่านี้ คือ
    ก. สันตติ บังอนิจจลักษณะ
    ข. อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ 
    ค. ฆนะ บังอนัตตลักษณะ

๑. ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความเกิดและความดับ
หรือความเกิดขึ้นและความเสื่อมสิ้นไป ก็ถูกสันตติ คือ ความสืบต่อหรือความเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ปิดบังไว้ อนิจจลักษณะจึงไม่ปรากฏ, สิ่งทั้งหลายที่เรารู้เราเห็นนั้น ล้วนแต่มีความเกิดขึ้นและความแตกสลายอยู่ภายในตลอดเวลา แต่ความเกิดดับนั้นเป็นไปอย่างหนุนเนื่องติดต่อกันรวดเร็วมาก คือ เกิด-ดับ-เกิด-ดับ-เกิด-ดับ ฯลฯ ความเป็นไปต่อเนื่องอย่างรวดเร็วยิ่งนั้น ทำให้เรามองเห็นเป็นว่า สิ่งนั้นคงที่ถาวร เป็นอย่างหนึ่งอย่างเดิม ไม่มีความเปลี่ยนแปลง เหมือนอย่างตัวเราเองหรือคนใกล้เคียงอยู่ด้วยกัน มองเห็นกันเสมือนว่าเป็นอย่างเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แต่เมื่อเวลาผ่านไปนาน สังเกตดูหรือไม่เห็นกันนานๆ เมื่อพบกันอีกจึงรู้ว่าได้มีความเปลี่ยนแปลงไปแล้วจากเดิม แต่ตามความเป็นจริง ความเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาทีละน้อยและต่อเนื่องจนไม่เห็นช่องว่าง

ตัวอย่างเปรียบเทียบพอให้เห็นง่ายขึ้น เช่น ใบพัดที่กำลังหมุนอยู่อย่างเร็วยิ่ง มองเห็นเป็นแผ่นกลมแผ่นเดียวนิ่ง เมื่อทำให้หมุนช้าลง ก็เห็นเป็นใบพัดกำลังเคลื่อนไหวแยกเป็นใบๆ เมื่อจับหยุดมองดู ก็เห็นชัดว่าเป็นใบพัดต่างหากกัน ๒ ใบ ๓ ใบ หรือ ๔ ใบ หรือเหมือนคนเอามือจับก้านธูปที่จุดไฟติดอยู่แล้วแกว่งหมุนอย่างรวดเร็ว เป็นรูปวงกลม มองดูเหมือนเป็นไฟรูปวงกลม แต่ความจริงเป็นเพียงธูปก้านเดียวที่ทำให้เกิดรูปต่อเนื่องติดเป็นพืดไป หรือเหมือนหลอดไฟฟ้าที่ติดไฟอยู่สว่างจ้า มองเห็นเป็นดวงไฟที่สว่างคงที่ แต่ความจริงเป็นกระแสไฟฟ้าที่เกิดดับไหลเนื่องผ่านไปอย่างรวดเร็ว หรือเหมือนมวลน้ำในแม่น้ำที่มองดูเป็นผืนหนึ่งผืนเดียว แต่ความจริงเป็นกระแสน้ำที่ไหลผ่านไปๆ เกิดจากน้ำหยดน้อยๆ มากมายมารวมกันและไหลเนื่อง สิ่งทั้งหลายเช่นดังตัวอย่างเหล่านี้ เมื่อใช้เครื่องมือหรือวิธีการที่ถูกต้องมากำหนดแยกมนสิการเห็นความเกิดขึ้น และความดับไปจึงจะประจักษ์ความไม่เที่ยงแท้ ไม่คงที่ เป็นอนิจจัง


๒. ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความบีบคั้นกดดันที่มีอยู่ตลอดเวลา
ก็ถูก อิริยาบถ คือความยักย้ายเคลื่อนไหว ปิดบังไว้ ทุกขลักษณะจึงไม่ปรากฎ, ภาวะที่ทนอยู่มิได้ หรือภาวะที่คงสภาพเดิมอยู่มิได้ หรือภาวะที่ไม่อาจคงอยู่ในสภาพเดิมได้ ด้วยมีแรงบีบคั้นกดดันขัดแย้งเร้าอยู่ภายในส่วนประกอบต่างๆ นั้น จะถึงระดับที่ปรากฏแก่สายตาหรือความรู้สึกของมนุษย์ มักจะต้องกินเวลาระยะหนึ่ง แต่ในระหว่างนั้น ถ้ามีการคืบเคลื่อนยักย้ายหรือทำให้แปรรูปเป็นอย่างอื่นไปเสียก่อน ก็ดี สิ่งที่ถูกสังเกตเคลื่อนย้ายพ้นจากผู้สังเกตไปเสียก่อน หรือผู้สังเกตแยกพรากจากสิ่งที่ถูกสังเกตไปเสียก่อน ก็ดี ภาวะที่บีบคั้นกดดันขัดแย้งนั้น ก็ไม่ทันปรากฏให้เห็น ปรากฏการณ์ส่วนใหญ่มักเป็นไปเช่นนี้ ทุกขลักษณะจึงไม่ปรากฏ

ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ ในร่างกายของมนุษย์นี้แหละไม่ต้องรอให้ถึงขั้นชีวิตแตกดับดอก แม้ในชีวิตประจำวันนี้เอง ความบีบคั้นกดดันขัดแย้งก็มีอยู่ตลอดเวลาทั่วองคาพยพ จนทำให้มนุษย์ไม่อาจอยู่นิ่งเฉยในท่าเดียวได้ ถ้าเราอยู่หรือต้องอยู่ในท่าเดียวนานมาก ๆ เช่น ยืนอย่างเดียว นั่งอย่างเดียว เดินอย่างเดียว นอนอย่างเดียว ความบีบคั้นกดดัน ตามสภาวะจะค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้น ๆ จนถึงระดับที่เกิดเป็นความรู้สึกบีบคั้นกดดันที่คนทั่วไปเรียกว่าเป็นทุกข์ เช่น เจ็บปวดเมื่อย จนในที่สุดก็จะทนไม่ไหว และต้องยักย้ายเปลี่ยนไปสู่ท่าอื่นที่เรียกว่าอิริยาบถอื่น เมื่อความบีบคั้นกดดันอันเป็นทุกข์ตามสภาวะนั้นสิ้นสุดลง ความรู้สึกบีบคั้นกดดันที่เรียกว่า ความรู้สึกทุกข์ (ทุกขเวทนา) ก็หายไปด้วย (ในตอนที่ความรู้สึกทุกข์หายไปนี้ มักจะมีความรู้สึกสบายที่เรียกว่าความสุขเกิดขึ้นมาแทนด้วย แต่อันนี้เป็นเพียงความรู้สึกเท่านั้น ว่าโดยสภาวะแล้ว มีแต่ความทุกข์หมดไปอย่างเดียว เข้าสู่ภาวะปราศจากทุกข์) ในความเป็นอยู่ประจำวันนั้น เมื่อเราอยู่ในท่าหนึ่งหรืออิริยาบถหนึ่งนานๆ พอจะรู้สึกปวดเมื่อยเป็นทุกข์ เราก็ชิงเคลื่อนไหวเปลี่ยนไปสู่ท่าอื่นหรืออิริยาบถอื่นเสีย หรือเรามักจะเคลื่อนไหวเปลี่ยนท่าเปลี่ยนอิริยาบถอยู่เสมอ จึงหนีรอดจากความรู้สึกทุกข์ไปได้ เมื่อไม่รู้สึกทุกข์ ก็เลยพลอยมองข้ามไม่เห็นความทุกข์ที่เป็นความจริงตามสภาวะไปเสียด้วย ท่านจึงว่า อิริยาบถบังทุกขลักษณะ

๓. ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความแยกย่อยออกเป็นธาตุต่างๆ
ก็ถูก ฆนะ คือความเป็นแท่งเป็น ก้อนเป็นชิ้นเป็นอันเป็นมวลหรือเป็นหน่วยรวม ปิดบังไว้ อนัตตลักษณะจึงไม่ปรากฏ สิ่งทั้งหลายที่เรียกชื่อว่าอย่างนั้นอย่างนี้ ล้วนเกิดจากเอาส่วนประกอบทั้งหลายมารวบรวมปรุงแต่งขึ้น เมื่อแยกย่อยส่วนประกอบเหล่านั้นออกไปแล้ว สิ่งที่เป็นหน่วยรวมซึ่งเรียกชื่อว่าอย่างนั้นๆ ก็ไม่มี โดยทั่วไปมนุษย์มองไม่เห็นความจริงนี้ เพราะถูกฆนสัญญาคือความจำหมายหรือความสำคัญหมายเป็นหน่วยรวมคอยปิดบังไว้ เข้ากับคำกล่าวอย่างชาวบ้านว่า เห็นเสื้อ แต่ไม่เห็นผ้า เห็นแต่ตุ๊กตา มองไม่เห็นเนื้อยาง คือคนที่ไม่ได้คิดไม่ได้พิจารณา บางทีก็ถูกภาพตัวตนของเสื้อปิดบังตาหลอกไว้ ไม่ได้มองเห็นเนื้อผ้าที่ปรุงแต่งขึ้นเป็นรูปเสื้อนั้น ซึ่งว่าที่จริง ผ้านั้นเองก็ไม่มี มีแต่เส้นด้ายมากมายที่มาเรียงกันเข้าตามระเบียบ ถ้าแยกด้ายทั้งหมดออก ผ้านั้นเองก็ไม่มี หรือเด็กที่มองเห็นแต่รูปตุ๊กตา เพราะถูกภาพตัวตนของตุ๊กตาปิดบังหลอกตาไว้ ไม่ได้มองถึงเนื้อยางซึ่งเป็นสาระที่แท้จริงของตัวตุ๊กตานั้น เมื่อจับเอาแต่ตัวจริง ก็มีแต่เนื้อยาง หามีตุ๊กตาไม่ แม้เนื้อยางนั้นเองก็เกิดจากส่วนผสมต่างๆ มาปรุงแต่งขึ้นต่อๆ กันมา ฆนสัญญา ย่อมบังอนัตตลักษณะไว้ในทำนองแห่งตัวอย่างง่ายๆ ที่ได้ยกมากล่าวไว้นี้ เมื่อใช้อุปกรณ์หรือวิธีการที่ถูกต้องมาวิเคราะห์มนสิการเห็นความแยกย่อยออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ จึงจะประจักษ์ในความมิใช่ตัวตน มองเห็นว่าเป็นอนัตตา

🔅 บทที่ ๓ ไตรลักษณ์
คำอธิบายไตรลักษณ์ตามหลักวิชาในคัมภีร์
๑. ความเข้าใจเกี่ยวกับศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
        ๓.) สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์
วิเคราะห์ความหมายของไตรลักษณ์
                พิเศษ: ทุกข์ในอริยสัจ แยกให้ชัด จากทุกข์ในไตรลักษณ์
                    (ก) หมวดใหญ่ของทุกข์ 
                ชุดที่ ๑ ทุกข์ ๑๒
                ชุดที่ ๒ ทุกข์ ๒
                ชุดที่ ๓ ทุกข์ ๒
                ก) ขอบเขตความหมาย
                ข) ความหมายพื้นฐาน
                ค) ความหมายที่ไม่ต้องอธิบาย
                ง) ความหมายที่อธิบายทั่วไป
                อัตตา กับ มานะ
        คุณค่าทางจริยธรรม
            จ. คุณค่าทางจริยธรรมของไตรลักษณ์ตามลำดับข้อ
                ๑. อนิจจตา
                ๒. ทุกขตา
                ๓. อนัตตตา



๒. สังขารในขันธ์ ๕ กับ สังขารในไตรลักษณ์

๒. สังขารในขันธ์ ๕ กับ สังขารในไตรลักษณ์

ในภาษาไทย มีตัวอย่างมากมายที่คำพูดหรือคำศัพท์เดียวกัน แต่มีความหมายต่างกันหลายอย่าง ที่ต่างกันเล็กน้อย ยังมีเค้าความหรือลักษณะบางอย่างคล้ายคลึงหรือพอเทียบเคียงกันได้ก็มี ที่ต่างกันห่างไกลจนไม่มีอะไรเทียบหรือโยงถึงกันเลย ก็มี เช่น “กลอน” หมายถึงคำประพันธ์ประเภทหนึ่งก็ได้ หมายถึง ไม้ขัดหรือลูกสลักประตูหน้าต่าง ก็ได้ หมายถึง ลูกตุ้มที่ใช้เป็นอาวุธ ก็ได้

“เขา” ที่หมายถึงเนินอันสูงขึ้นไปบนพื้นดินพื้นดิน และ “เขา” ที่หมายถึงส่วนของกายมีลักษณะแข็งที่งอกออกมาจากหัวสัตว์บางพวก กล่าวได้ว่ามีลักษณะคล้ายกันอยู่บ้าง แต่ “เขา” ที่เป็นสรรพนามบุรุษที่สาม กับ “เขา” ที่เป็นชื่อนกพวกหนึ่ง คงพูดได้ยากว่ามีอะไรใกล้เคียงหรือเทียบคล้ายกันได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่เข้าใจความหมายนัยต่างๆ ของถ้อยคำดีแล้ว และได้ยินได้ฟังได้ใช้อยู่จนเคยชิน เมื่อพบคำเช่นนั้น ที่มีผู้ใช้พูดใช้เขียนในข้อความต่างๆ ตามปกติจะแยกได้ไม่ยากว่า คำนั้น ที่ใช้ในข้อความนั้น มีความหมายอย่างไร โดยมากจะเข้าใจได้ทันที

ตัวอย่างเช่น “จะเย็บผ้าได้ ก็ต้องใช้เข็ม จะสร้างบ้านใหญ่ท่านให้ลงเข็ม” “เขาขึ้นเขาตามล่ากวางเพื่อเอาเขา” “หญิงชราไปในเรือเดินทะเล พอได้ยินว่าจะพบลมใหญ่ ก็จะเป็นลม” “เขาหักพวงมาลัยหลบเด็กขายพวงมาลัย” “อย่าทำล้อเล่น รถนี้มีแค่สองล้อ” “พอหนังจบ เขาก็รีบคว้ากระเป๋าหนังรุดไปที่ทำงาน” “ตายังตาดี แต่ฟันไม่ดี” “กาน้ำนั้นหากินในน้ำ กาน้ำนี้คนขายกาแฟใช้หากิน” “เสียดสี จึงเสียสี” “ร่วงโรจไม่ร่วงโรย" ดังนี้ เป็นต้น ในภาษาบาลีก็เช่นเดียวกัน มีศัพท์มากมายที่มีความหมายหลายนัย ผู้ได้เล่าเรียนดีแล้ว แม้พบศัพท์เหล่านั้นที่ใช้ในความหมายหลายอย่างปะปนกันอยู่ ก็สามารถจับแยกและเข้าใจได้ทันที แต่ผู้ไม่คุ้นเคยหรือผู้แรกศึกษาอาจสับสนุนงงหรือถึงกับเข้าใจผิดได้

ตัวอย่างคำจำพวกนี้ ที่มาจากภาษาบาลี เช่น “นาค” อาจหมายถึงสัตว์คล้ายงูแต่ตัวใหญ่มาก ก็ได้หมายถึงช้างใหญ่เจนศึก ก็ได้ หมายถึงบุคคลผู้ประเสริฐ ก็ได้ “นิมิต” ในทางพระวินัย หมายถึง วัตถุที่เป็นเครื่องหมายเขตที่ประชุมสงฆ์บ้าง หมายถึงอาการแสวงหาลาภในทางที่ผิดด้วยวิธีขอเขาแบบเชิญชวนโดยนัย บ้างแต่ในทางธรรมปฏิบัติ หมายถึงภาพที่เห็นในใจในการเจริญกรรมฐาน “นิกาย” หมายถึง หมวดตอนในพระไตรปิฏกส่วนพระสูตรก็ได้ หมายถึงคณะนักบวชหรือกลุ่มศาสนิกที่แบ่งกันเป็นพวกๆ ก็ได้ “ปัจจัย” ในทางพระวินัย หมายถึงเครื่องอาศัยของชีวิต เช่น อาหาร แต่ในทางธรรม หมายถึง เหตุ หรือเครื่องสนับสนุนให้ธรรมอื่นเกิดขึ้น ขอให้พิจารณาความหมายของคำศัพท์เดียวกัน ที่ต่างนัยกันออกไป เมื่อใช้ในข้อความต่างๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

“ภิกษุรู้รสด้วยลิ้น อร่อยก็ตาม ไม่อร่อยก็ตาม เธอไม่ปล่อยให้ความติดใจหรือความขัดใจเข้าครอบงำจิต 
ภิกษุนี้ชื่อว่าสำรวมอินทรีย์ คือลิ้น” “อินทรีย์คือศรัทธา มีการยังธรรมทั้งหลายที่ประกอบอยู่ด้วยให้เข้าถึงภาวะผ่องใสเป็นรส ประดุจดังสารส้ม หรือมีการวิ่งแล่นไปหาอารมณ์เป็นรส ภิกษุพึงเจริญอินทรีย์คือศรัทธานั้น" คำว่า รส ก็ดี อินทรีย์ ก็ดี ในข้อความ ๒ ท่อนนี้ มีความหมายต่างกัน ในข้อความแรก รส หมายถึงสิ่งที่รู้ด้วยลิ้น หรือสิ่งที่เป็นอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ อินทรีย์ หมายถึงสิ่งที่เป็นเจ้าการในการรับรู้อารมณ์ กล่าวคืออายตนะภายในส่วนในข้อความหลัง รส หมายถึงกิจหรือหน้าที่ อินทรีย์หมายถึงกุศลธรรมที่เป็นเจ้าการในการกำราบอกุศลธรรมที่เป็นปฏิปักษ์

“ภิกษุพึงกระทำโยคะ เพื่อบรรลุธรรมเป็นที่ปลอดภัยจากโยคะ โยคะคำต้น หมายถึงการประกอบความ
เพียรในการเจริญภาวนา คือฝึกฝนพัฒนาจิตปัญญา โยคะคำหลัง หมายถึงธรรมคือกิเลสที่ประกอบคือเทียมหรือผูกมัดสัตว์ไว้กับทุกข์ในภพ

“ปุถุชนมองเห็นรูปบ้าง เวทนาบ้าง สัญญาบ้าง สังขารบ้าง วิญญาณบ้าง ว่าเป็นตน แต่ขันธ์ทั้ง ๕ นั้น จะเป็นตนหาได้ไม่ เพราะสังขารทั้งหลายทั้งปวงล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาคือไร้ตัวมิใช่ตนทั้งสิ้น” สังขาร คำแรกหมายถึงเพียงขันธ์หนึ่งในบรรดาขันธ์ ๕ แต่สังขารคำหลังครอบคลุมความหมายของสังขตธรรมทั้งหมดที่เป็นไปตามไตรลักษณ์

คำเกี่ยวข้องที่ต้องการอธิบายในที่นี้คือ “สังขาร” แต่ที่ได้ยกตัวอย่างคำอื่นๆ มาแสดงไว้มากมายและได้บรรยายมาอย่างยึดยาว ก็เพื่อให้เห็นว่า คำพูดในภาษาไทยก็ตาม ในภาษาบาลีก็ตาม ที่เป็นคำเดียวกัน แต่มีความหมายต่างกันเป็นสองอย่างบ้าง หลายอย่างบ้าง กว้างแคบกว่ากันบ้าง เป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวกันบ้างตลอดจนตรงข้ามกันก็มีนั้น มีอยู่มากมายและเป็นของสามัญ เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้ว มาเห็นคำว่าสังขารที่ท่านใช้ในความหมายต่างๆ หลายนัย ก็จะไม่เห็นเป็นของแปลก และจะเข้าใจมองเห็นตามได้ง่าย คำว่า “สังขาร” นั้น มีที่ใช้ในความหมายต่างๆ กันไม่น้อยกว่า ๔ นัย แต่เฉพาะที่ต้องการให้เข้าใจในที่นี้มี ๒ นัย คือ สังขารที่เป็นข้อหนึ่งในขันธ์ ๕ กับสังขารที่กล่าวถึงในไตรลักษณ์ เพราะสังขาร ๒ นัยนี้มาในหลักธรรมสำคัญ กล่าวอ้างกันบ่อย และมีความหมายคล้ายจะซ้อนกันอยู่ ทำให้ผู้ศึกษาสับสนได้ง่าย อีกทั้งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลักธรรมที่กำลังอธิบายอยู่โดยตรง เบื้องแรกขอยกคำมาดูให้เห็นชัด

    ๑. สังขาร ในขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    ๒. สังขาร ในไตรลักษณ์ : สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา


ขอนำความหมายทั้ง ๒ นัยนั้นมาทบทวน โดยเข้าคู่เทียบให้เปรียบกันดู ดังนี้

๑. สังขาร ซึ่งเป็นข้อที่ ๔ ในขันธ์ ๕
หมายถึง สภาวะที่ปรุงแต่งจิต ให้ดี ให้ชั่ว ให้เป็นกลาง ได้แก่คุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และการแสดงออกทางกาย วาจา ให้เป็นไปต่างๆ เป็นตัวการของการทำกรรม เรียกง่ายๆ ว่า เครื่องปรุงของจิต เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เมตตา กรุณา ปัญญา โมหะ โลภะ โทสะ เป็นต้น (คัมภีร์อภิธรรมจำแนกไว้ ๕๐ อย่าง เรียกว่า เจตสิก ๕๐ ในจำนวนทั้งหมด ๕๒) ซึ่งทั้งหมดนั้นล้วนเป็นนามธรรม มีอยู่ในใจทั้งสิ้น นอกเหนือจาก เวทนา สัญญา และ วิญญาณ

๒. สังขาร ที่กล่าวถึงในไตรลักษณ์
หมายถึง สภาวะที่ถูกปรุงแต่ง คือ สภาวะที่เกิดจากเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นทุกอย่างประดามี ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ตาม เป็นด้านร่างกายหรือจิตใจก็ตาม มีชีวิตหรือไร้ชีวิตก็ตาม อยู่ในจิตใจหรือเป็นวัตถุภายนอกก็ตาม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังขตธรรม คือทุกสิ่งทุกอย่าง เว้นแต่นิพพาน

จะเห็นว่า “สังขาร” ในขันธ์ ๕ มีความหมายแคบกว่า “สังขาร” ในไตรลักษณ์ หรือเป็นส่วนหนึ่งของสังขารในไตรลักษณ์นั่นเอง ความต่างกันและแคบกว่ากันนี้ เห็นได้ชัดทั้งโดยความหมายของศัพท์ (สัททัตถะ) และโดยองค์ธรรม

ก. โดยความหมายของศัพท์: “สังขาร” ในขันธ์ ๕ หมายถึง สภาวะที่ปรุงแต่งจิต ตัวปรุงแต่งจิตใจและการกระทำ ให้มีคุณภาพต่างๆ เครื่องปรุงของจิต หรือแปลกันง่ายๆ ว่า ความคิดปรุงแต่ง ส่วน “สังขาร” ในไตรลักษณ์ หมายถึงสภาวะที่ถูกปรุงแต่ง คือ ถูกปัจจัยของมันปรุงแต่งขึ้นมา แปลง่ายๆ ว่า สิ่งที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง สิ่งปรุงแต่งหรือของปรุงแต่ง นอกจากความหมายจะต่างกันอย่างที่พอสังเกตเห็นได้อย่างนี้แล้ว ความหมายนั้นยังแคบกว่ากันด้วย กล่าวคือ สภาวะที่ปรุงแต่งจิต เครื่องปรุงของจิต หรือความคิดปรุงแต่ง (สังขารในขันธ์ ๕) นั้น ตัวของมันเอง ก็เป็นสภาวะที่ถูกปรุงแต่ง เป็นสิ่งปรุงแต่ง หรือเป็นของปรุงแต่ง เพราะเกิดจากปัจจัยอย่างอื่นปรุงแต่งขึ้นมาอีกต่อหนึ่ง ทยอยกันไปเป็นทอดๆ จึงไม่พ้นที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสังขารในความหมายอย่างหลัง (ในไตรลักษณ์) คือเป็นสภาวะที่ถูกปรุงแต่ง หรือเป็นของปรุงแต่งนั่นเอง “สังขาร” ในขันธ์ ๕ จึงกินความหมายแคบกว่า เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ส่วน “สังขาร” ในไตรลักษณ์กินความหมายครอบคลุมทั้งหมด

ข. โดยองค์ธรรม: ถ้าแบ่งธรรมหรือสิ่งต่างๆ ออกเป็น ๒ อย่างคือ รูปธรรม กับ นามธรรม และแบ่งนามธรรมซอยออกไปอีกเป็น ๔ อย่างคือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ จะเห็นว่า “สังขาร ในขันธ์ ๕ เป็นนามธรรมอย่างเดียว และเป็นเพียงส่วนหนึ่งในสี่ส่วนของนามธรรมเท่านั้น แต่ “สังขารในไตรลักษณ์ครอบคลุมทั้งรูปธรรมและนามธรรม อนึ่ง รูปธรรมและนามธรรมที่กล่าวถึงนี้ เมื่อแยกออกไปก็คือขันธ์ ๕ นั่นเอง

จะเห็นว่า สังขารในขันธ์ ๕ เป็นเพียงขันธ์หนึ่งในขันธ์ ๕ (เป็นลำดับที่สี่) แต่สังขารในไตรลักษณ์ครอบคลุมขันธ์ ๕ ทั้งหมด กล่าวคือ สังขาร (ในขันธ์ ๕) เป็นสังขารอย่างหนึ่ง (ในไตรลักษณ์) เช่นเดียวกับขันธ์อื่นๆ ทั้งทั้งสี่ขันธ์ นอกจากนั้น ธรรมหรือสิ่งต่างๆ ที่นำมาแบ่งในที่นี้ ก็คือสังขตธรรม ซึ่งก็เป็นไวพจน์คืออีกชื่อหนึ่งของสังขาร (ในไตรลักษณ์) นั่นเอง จึงเห็นชัดเจนว่า สังขาร (ในขันธ์ ๕) เป็นเพียงส่วนย่อยอย่างหนึ่งฝ่ายนามธรรมที่รวมอยู่ด้วยกันทั้งหมดภายในสังขาร (ในไตรลักษณ์) เท่านั้นเอง

ฉะนั้น คำกล่าวที่ว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง กับข้อความว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง จึงมีความหมายเท่าๆ กัน หรือพูดอีกนัยหนึ่ง ข้อความว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” เมื่อจะขยายออกไปให้ละเอียด ก็พูดใหม่ได้ว่า “รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง" เพื่อกันความสับสน บางทีท่านใช้คำว่า “สังขารขันธ์” สำหรับคำว่าสังขารในขันธ์ ๕ ที่เป็นเพียงส่วนหนึ่งในนามธรรม และใช้คำว่า สังขารที่เป็นสังขตธรรม หรือ “สังขตสังขาร” หรือ “สังขาร” เดี่ยวๆ สำหรับสังขารในไตรลักษณ์ที่มีความหมายครอบคลุมทั้งรูปธรรมและนามธรรม หรือขันธ์ ๕ ทั้งหมด การที่ข้อธรรม ๒ อย่างนี้มาลงเป็นคำศัพท์เดียวกันว่า “สังขาร” ก็เพราะมีความหมายเหมือนกันว่า “ปรุงแต่ง” แต่มาต่างกันตรงที่ว่า อย่างแรกเป็น “ความคิดปรุงแต่ง” อย่างหลังเป็น “สิ่งปรุงแต่ง หรือของปรุงแต่ง

🔅 บทที่ ๓ ไตรลักษณ์
คำอธิบายไตรลักษณ์ตามหลักวิชาในคัมภีร์
๑. ความเข้าใจเกี่ยวกับศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
        ๒.) สังขารในขันธ์ ๕ กับ สังขารในไตรลักษณ์
วิเคราะห์ความหมายของไตรลักษณ์
                พิเศษ: ทุกข์ในอริยสัจ แยกให้ชัด จากทุกข์ในไตรลักษณ์
                    (ก) หมวดใหญ่ของทุกข์ 
                ชุดที่ ๑ ทุกข์ ๑๒
                ชุดที่ ๒ ทุกข์ ๒
                ชุดที่ ๓ ทุกข์ ๒
                ก) ขอบเขตความหมาย
                ข) ความหมายพื้นฐาน
                ค) ความหมายที่ไม่ต้องอธิบาย
                ง) ความหมายที่อธิบายทั่วไป
                อัตตา กับ มานะ
        คุณค่าทางจริยธรรม
            จ. คุณค่าทางจริยธรรมของไตรลักษณ์ตามลำดับข้อ
                ๑. อนิจจตา
                ๒. ทุกขตา
                ๓. อนัตตตา



วันจันทร์

๑. สังขารทั้งปวง กับ ธรรมทั้งปวง

๑. ความเข้าใจเกี่ยวกับศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

๑. สังขารทั้งปวง กับ ธรรมทั้งปวง
ผู้ศึกษาจะสังเกตเห็นว่า ในข้อ ๑ และข้อ ๒ ท่านกล่าวถึงสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ แต่ในข้อ ๓ ท่านกล่าวถึงธรรมทั้งปวงว่าเป็นอนัตตา คือ ไร้ตัว หรือมิใช่ตน การใช้คำที่ต่างกันเช่นนี้ แสดงว่ามีความแตกต่างกันบางอย่างระหว่างหลักที่ ๑ และที่ ๒ คือ อนิจจตา และทุกขตา กับหลักที่ ๓ คือ อนัตตตา และความแตกต่างกันนี้จะเห็นได้ชัด ต่อเมื่อเข้าใจความหมายของคำว่า “สังขาร” และคำว่า “ธรรม”

“ธรรม” เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่สุด กินความครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างบรรดามี ทั้งที่มีได้และได้มี
ตลอดกระทั่งความไม่มี ที่เป็นคู่กับความมีนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างที่ใครก็ตามกล่าวถึง คิดถึง หรือรู้ถึง ทั้งเรื่องทางวัตถุและทางจิตใจ ทั้งที่ดีและที่ชั่ว ทั้งที่เป็นสามัญวิสัยและเหนือสามัญวิสัย รวมอยู่ในคำว่าธรรมทั้งสิ้น ถ้าจะให้ “ธรรม” มีความหมายแคบเข้า หรือจำเพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เติมคำขยายประกอบลงไปเพื่อจำกัดความให้อยู่ในขอบเขตที่ต้องการ หรือจำแนกแยกธรรมนั้นแบ่งประเภทออกไป แล้วเลือกเอาส่วนหรือแง่ด้านแห่งความหมายที่ต้องการ หรือมิฉะนั้นก็ใช้คำว่าธรรมคำเดียวเดี่ยวโดดเต็มรูปของมันตามเดิมนั่นแหละ แต่ตกลงหรือหมายรู้ร่วมกันไว้ว่า เมื่อใช้ในลักษณะนั้นๆ ในกรณีนั้น หรือในความแวดล้อมอย่างนั้นๆ จะให้มีความหมายเฉพาะในแนวความ หรือในขอบเขตว่าอย่างนั้นๆ เช่น เมื่อมาคู่กับอธรรม หรือใช้เกี่ยวกับความประพฤติที่ดี ที่ชั่วของบุคคล หมายถึง บุญ หรือคุณธรรมคือความดี เมื่อมากับคำว่า อัตถะ หรืออรรถ หมายถึง ตัวหลัก หลักการ หรือเหตุ เมื่อใช้สำหรับการเล่าเรียน หมายถึง ปริยัติ พุทธพจน์ หรือคำสั่งสอน ดังนี้เป็นต้น

“ธรรม” ที่กล่าวถึงในหลักอนัตตตา แห่งไตรลักษณ์นี้ ท่านใช้ในความหมายที่กว้างที่สุดเต็มที่ สุดขอบเขตของศัพท์ คือ หมายถึง สภาวะหรือสภาพทุกอย่าง ไม่มีขีดขั้นจำกัด ธรรมในความหมายเช่นนี้ จะเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อแยกแยะแจกแจงแบ่งประเภทออกไป เช่น จำแนกเป็นรูปธรรม และนามธรรม บ้าง โลกิยธรรมและโลกุตรธรรม บ้าง สังขตธรรม และอสังขตธรรม บ้าง กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากฤตธรรม (สภาวะที่เป็นกลางๆ) บ้าง ธรรมที่จำแนกเป็นชุดเหล่านี้ แต่ละชุดครอบคลุมความหมายของธรรมได้หมดสิ้นทั้งนั้น แต่ชุดที่ตรงกับแง่ที่ควรศึกษาในที่นี้คือ ชุด สังขตธรรม และอสังขตธรรม

ธรรมทั้งหลายทั้งปวง แยกประเภทได้เป็น ๒ อย่าง(*๑๑๙) คือ

๑. สังขตธรรม
ธรรมที่ถูกปรุงแต่ง ได้แก่ ธรรมที่มีปัจจัย สภาวะที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่งขึ้น สภาวะที่ปัจจัยทั้งหลายมาร่วมกันแต่งสรรค์ขึ้น สิ่งที่ปัจจัยประกอบเข้า หรือสิ่งที่ปรากฏและเป็นไปตามเงื่อนไขของปัจจัย เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังขาร ซึ่งมีรากศัพท์และคำแปลเหมือนกัน หมายถึง สภาวะทุกอย่าง ทั้งทางวัตถุและทางจิตใจ ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ ทั้งที่ดี ที่ชั่ว และที่เป็นกลางๆ ทั้งหมด เว้นแต่นิพพาน

๒. อสังขตธรรม

ธรรมที่ไม่ถูกปรุงแต่ง ได้แก่ ธรรมที่ไม่มีปัจจัย หรือสภาวะที่ไม่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของปัจจัย เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วิสังขาร ซึ่งแปลว่า สภาวะปลอดสังขาร หรือสภาวะที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง หมายถึง นิพพาน
--------------------------------------------------
(*๑๑๙ ดู สงคณี อ.๓๔/๓/๒; ๗๐๒/ ๒๗๗; ๙๐๗/๓๕๔ ธ.อ.๕/๑๑๒; ฯลฯ (สังขตธรรม มีคำจำกัดความแบบอภิธรรมนัยหนึ่ง ตามที่มาที่อ้างไว้ข้างต้นนั้นว่า ได้แก่ กุศลในภูมิ ๔, อกุศล, วิบากในภูมิ ๔, กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓, และรูปทั้งปวง)
--------------------------------------------------
โดยนัยนี้ จะเห็นชัดว่า สังขารคือสังขตธรรม เป็นเพียงส่วนหนึ่งของธรรม แต่ธรรมกินความหมายกว้างมีทั้งสังขารและนอกเหนือจากสังขาร คือทั้งสังขตธรรมและอสังขตธรรม ทั้งสังขารและวิสังขาร หรือทั้งสังขารและนิพพาน เมื่อนำเอาหลักนี้มาช่วยในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับไตรลักษณ์ จึงสามารถมองเห็นขอบเขตความหมายในหลักสองข้อต้นคือ อนิจจตาและทุกขตา ว่าต่างจากข้อสุดท้ายคืออนัตตตาอย่างไร



โดยสรุปได้ดังนี้
สังขาร คือ สังขตธรรมทั้งปวง ไม่เที่ยง และเป็นทุกข์ ตามหลักข้อ ๑ และข้อ ๒ แห่งไตรลักษณ์ และเป็นอนัตตาด้วยตามหลักข้อ ๓) แต่อสังขตธรรม หรือวิสังขาร คือนิพพาน ไม่ขึ้นต่อภาวะเช่นนี้ ธรรมทั้งปวง คือ ทั้งสังขตธรรมและอสังขตธรรม ทั้งสังขารและมิใช่สังขาร คือสภาวะทุกอย่างทั้งหมดทั้งสิ้น รวมทั้งนิพพาน เป็นอนัตตา คือไร้ตัว มิใช่ตน อนัตตตาเท่านั้น เป็นลักษณะร่วมที่มีทั้งในสังขตธรรมและอสังขตธรรม ส่วนอนิจจตาและทุกขตาเป็นลักษณะที่มีเฉพาะในสังขตธรรม ซึ่งทำให้ต่างจากอสังขตธรรม ในพระบาลีบางแห่งจึงมีพุทธพจน์แสดงลักษณะของสังขตธรรมและอสังขตธรรมไว้ เรียกว่า สังขตลักษณะ และอสังขตลักษณะ ใจความว่า

สังขตลักษณะ คือ เครื่องหมายที่ทำให้กำหนดรู้ หรือเครื่องกำหนดหมายให้รู้ว่าเป็นสังขตะ (ว่าเป็นสภาวะที่มีปัจจัยทั้งหลายมาร่วมกันแต่งสรรค์ขึ้น) ของสังขตธรรม มี ๓ อย่าง คือ
        ๑. ความเกิดขึ้น ปรากฏ
        ๒. ความแตกดับหรือความสลาย ปรากฎ
        ๓. เมื่อดำรงอยู่ ความผันแปร ปรากฏ

อสังขตลักษณะ คือ เครื่องหมายที่ทำให้กำหนดรู้ หรือเครื่องกำหนดหมายให้รู้ว่าเป็นอสังขตะ (ว่ามิใช่สภาวะที่ปัจจัยทั้งหลายมาร่วมกันทำขึ้นแต่งขึ้น) ของอสังขตธรรม ก็มี ๓ อย่าง คือ
        ๑. ไม่ปรากฏความเกิด
        ๒. ไม่ปรากฏความสลาย
        ๓. เมื่อดำรงอยู่ ไม่ปรากฏความผันแปร

รวมความมาอีกครั้งหนึ่งให้ชัดขึ้นอีกว่า อสังขตธรรม หรือวิสังขาร คือนิพพาน พ้นจากภาวะไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ แต่ก็เป็นอนัตตา ไร้ตัว มิใช่ตน ส่วนธรรมอื่นนอกจากนั้น คือสังขารหรือสังขตธรรมทั้งหมด ทั้งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ดังความในบาลีแห่งวินัยปิฎกผูกเป็นคาถายืนยันไว้ว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขตธรรมทั้งปวงเป็นทุกข์และเป็นอนัตตา นิพพานและบัญญัติเป็นอนัตตา วินิจฉัยมีอยู่ดังนี้" (*๑๒๑)
--------------------------------------------------
(*๑๒๑) วินย ๔/๕๒๖/๒๒๔, ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา พึ่งอ้างหลักฐานเช่น “อมตบท (นิพพาน) ว่างจากอัตตา” (อตุตสุญญมตปท์, วิสุทธิ.๓/ “นิพพานธรรมชื่อว่าว่างจากอัตตา เพราะไม่มีตัวตนนั่นเอง” (นิพพานธมุโม อตุตสเสว อภาวโต อตฺตสุญโญ, ปฏิส.อ.๒/๓๕๖)
--------------------------------------------------

🔅 บทที่ ๓ ไตรลักษณ์
คำอธิบายไตรลักษณ์ตามหลักวิชาในคัมภีร์
๑. ความเข้าใจเกี่ยวกับศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
        ๑.) สังขารทั้งปวง กับ ธรรมทั้งปวง
วิเคราะห์ความหมายของไตรลักษณ์
                พิเศษ: ทุกข์ในอริยสัจ แยกให้ชัด จากทุกข์ในไตรลักษณ์
                    (ก) หมวดใหญ่ของทุกข์ 
                ชุดที่ ๑ ทุกข์ ๑๒
                ชุดที่ ๒ ทุกข์ ๒
                ชุดที่ ๓ ทุกข์ ๒
                ก) ขอบเขตความหมาย
                ข) ความหมายพื้นฐาน
                ค) ความหมายที่ไม่ต้องอธิบาย
                ง) ความหมายที่อธิบายทั่วไป
                อัตตา กับ มานะ
        คุณค่าทางจริยธรรม
            จ. คุณค่าทางจริยธรรมของไตรลักษณ์ตามลำดับข้อ
                ๑. อนิจจตา
                ๒. ทุกขตา
                ๓. อนัตตตา



วันพฤหัสบดี

กาลิกบัพพ์

กาลิกบัพพ์

บัดนี้ จะว่าด้วย🔎กาลิก(๙๒) มี ๔ คือ


๑. ยาวกาลิก คือ โภชนะทั้ง ๕
ข้าวสุก ขนม🔎กุมมาส(๙๓) ข้าวสัตตู เนื้อปลา แลขาทนียะ มีลูกไม้รากไม้เป็นต้น ที่สำเร็จอาหารกินได้โดยปรกติ เป็นยาวกาลิก ฉันได้แต่เช้าชั่วเที่ยง ถ้าเที่ยงแล้วไป ฉันเป็นปาจิตตีย์ ถ้าประเคนแรมคืนไว้เป็นสันนิธิ ฉันเป็นปาจิตตีย์ ถ้าทำให้เป็นอันโตวุฏฐะ คือไว้ในอกัปปิยกุฎี เป็นอันโตปักกะ คือให้สุกในกัปปิยกุฎีเป็นสามปากะ คือให้สุกเอง ฉันเป็นทุกกฏ

กัปปิยกุฎี คือโรงเรือนสำหรับเก็บเครื่องใช้สอยที่สมควรแก่สมณะ

๒. ยามกาลิก คือ ปานะ ๘ 
น้ำมะม่วง ๑
น้ำชมพู่ ๑
น้ำกล้วยมีเมล็ด ๑
น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด ๑
น้ำลูกมะทราง ๑
น้ำลูกองุ่น ๑
น้ำรากบัว ๑
น้ำลิ้นจี่ ๑

กับทั้งน้ำผลไม้เป็นยามกาลิกอนุปสัมบันทำไม่ให้สุกด้วยไฟ รับประเคนแล้ว ฉันได้วันหนึ่ง พ้นจากนั้นไป ฉันเป็นทุกกฏ

๓. สัตตาหกาลิก คือ เภสัชชะทั้ง ๕ 
เนยใส ๑
เนยข้น ๑
น้ำมัน ๑
น้ำผึ้ง ๑
น้ำอ้อย ๑

เป็นสัตตาหกาลิก รับประเคนแล้วฉันได้ ๗ วัน เกินจากนั้นไป ฉันเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์

๔. ยาวชีวิก คือ
สมุนไพร ขมิ้น ขิง ว่านน้ำ ว่านเปราะ อุตตพิด ข่า แฝก แห้วหมู น้ำฝาด สะเดา น้ำฝาดมูกมัน น้ำฝาดกะดอม น้ำฝาดบอระเพ็ด น้ำฝาดกินพิมาน ใบสะเดา ใบมูกมัน ใบกะดอม ใบกะเพรา ใบฝ้าย ลูกพิลังกาสา ดีปลี พริก สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม ผลแห่งโกฐ ยางที่ไหลออกจากต้นหิงคุ และเกลือ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ เป็นยาวชีวิก รากไม้ใบไม้ที่พ้นออกจากของพระพุทธเจ้าอนุญาต ที่ไม่สำเร็จกิจได้โดยปรกติ เป็นยาวชีวิกทั้งสิ้น เมื่อมีปัจจัยฉันได้ในกาลทั้งปวง กาลิก ๔ นี้ไม่รับประเคนก่อน ฉันเป็นปาจิตตีย์

น้ำ ไม้สีฟัน พ้นจากกาลิก ๔ ไม่ต้องรับประเคน

จบกาลิกบัพพ์แต่เท่านี้

ทุพภาสิต

ทุพภาสิต

ภิกษุแกล้งพูดหยอกล้อ หรือใช้คำพูดเสียดแทงให้เจ็บใจ โดยหมายให้ได้ความอัปยศ ด้วยกล่าวโอมสวาท หรือด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐ อย่าง คือ
       ๑. ชาติ ได้แก่ชั้นหรือกำเนิดของคน
       ๒. ชื่อ
       ๓. โคตร คือตระกูลหรือแซ่
       ๔. การงาน
       ๕. ศิลปะ
       ๖. โรค
       ๗. รูปพรรณสัณฐาน
       ๘. กิเลส
       ๙. อาบัติ
       ๑๐. คำสบประมาทอย่างอื่นๆ

คำพูดคำด่าเหล่านี้ หากภิกษุกล่าวแก่ภิกษุด้วยกัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กล่าวแก่อนุปสัมบัน(สามเณร, คฤหัสถ์) ต้องอาบัติทุกกฏ

ตามสิกขาบทที่ ๒ แห่ง🔎มุสาวาทวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

วันอังคาร

ทุกกฏ

ทุกกฏ

สจิตตกะ มีเจตนาที่จักกระทำ จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม หากมีเจตนาเป็นอาบัติทุกกฏ
- ภิกษุอย่านุ่งห่มผ้าดังคฤหัสถ์
- อย่าทรงผ้าสีต่าง ๆ มีสีเขียวแลเหลืองเป็นต้น
- อย่าทรงผ้ามีชายไม่ได้ตัด แลผ้ามีชายยาว แลมีชายเป็นดอกไม้ แลผ้ามีชายเป็นแผ่น
- อย่าทรงเสื้อกางเกง แลหมวกผ้าโพก
- อย่านั่งรัดเข่าด้วยผ้าสังฆาฏิ
- อย่ามีแต่ผ้านุ่งแลผ้าห่มเข้าบ้าน
- ภิกษุไม่เป็นไข้ อย่าไปด้วยยาน แลอย่าใส่รองเท้าเข้าบ้าน
- อย่าใส่รองเท้า ๒ ชั้น ๓ ชั้น แลรองเท้าสีต่าง ๆ มีสีเขียวเป็นต้น แลรองเท้าปกส้นปกหลังเท่าเป็นต้น แลรองเท้าไม้รองเท้าหญ้าเป็นต้น
- อย่าทาแลผัดย้อมหน้า แลย้อมตัวด้วยเครื่องทาเครื่องย้อม
- อย่าทรงเครื่องประดับ มีตุ้มหูเป็นต้น
- อย่าให้เขาถอนผมหงอก
- อย่าให้เขาตัดผม
- อย่าให้เขาตัดซึ่งหนวด
- ไม่เป็นไข้อย่าสองดูเงาในกระจกแลภาชนะแห่งน้ำ
- อย่าเพ่งดูนิมิตหญิง
- เมื่ออาบน้ำอย่าสีกายในต้นไม้ ในเสา ในฝา
- อย่าเอาหลังต่อหลังสีกัน
- ไม่เป็นไข้อย่ากั้นร่มนอกอุปจารวัด
- อย่าให้เขาเขียนรูปภาพ

- อย่าเอาบาตรคล้องแขน
- อย่าเอาบาตรวางบนเตียงตั้ง บนร่ม บนตัก บนพรึง ที่ปริภัณฑ์
- อย่าเอาบาตรวางบนพื้นคมแข็ง
- อย่าเอาของเป็นเดนใส่ในบาตร
- อย่าเอาบาตรเปียกเก็บไว้ การตากแดดก็อย่าตากบาตรให้นาน
- อย่านั่งอาสนะยาวกับหญิง แล🔎บัณเฑาะก์(๘๕)แลอุภโตพยัญชนก(๘๖)
- อย่านั่งที่เตียงตั้งกับอสมานาสนิก ผู้อาสนะไม่เสมอกัน คือผู้แก่แลอ่อนกว่ากัน ตั้งแต่ ๒ พรรษา ๓ รูป
- อย่านั่งนอนที่นอนสูงใหญ่ มีเตียงตั้งมีเท้ากว่าประมาณ แลเบาะฟูกยัดนุ่น แลเครื่องลาดทำด้วยขนแกะวิจิตรต่าง ๆ เป็นต้น
- อย่าทรงหมอนใหญ่ประมาณกิ่งกาย
- อาสนะเขาปูไว้ไม่ได้พิจารณาก่อนนั่งอย่านั่ง
- อย่านอนในที่นอนอันเรี่ยรายด้วยดอกไม้
- อย่าห้ามอาสนะภิกษุผู้แก่
- อย่าไหว้อวันทิยบุคคล ๑๐ คือ
    อุปสมบททีหลัง ๑
    อนุปสัมบัน ๑
    ผู้มีสังวาสต่างกัน เป็นผู้แก่แต่เป็นอธัมมวาที่ ๑
    มาตุคาม ๑
    บัณเฑาะก์ ๑
    🔎 ปาริวาสิกะ(๘๗)
    🔎 มูลายปฏิกัสสนารหะ(๘๘)
    มานัตตารหะ ๑
    มานัตตจาริกะ ๑
    อัพภานารหะ ๑

- อย่าเอาเสนาสนะของสงฆ์จะพึงบริโภคในที่อื่นไปบริโภคในที่อื่น
- ภิกษุฉันค้างอยู่อย่าให้เธอลุก
- อย่าไล่ให้ภิกษุไข้ลุกจากเสนาสนะของสงฆ์
- พึงอุปัฏฐากภิกษุไข้
- เป็นผู้ใข้เล็กน้อยอย่ากางกั้นเสนาสนะ
- ถือเอาเสนาสนะแล้ว อย่ากางกั้นสิ้นกาลทั้งปวง
- ผู้เดียวอย่ากางกั้นเสนาสนะ ๒ แห่ง
- อย่ารับอย่าฉันเนื้อปลาดิบ
- อย่าฉันอุททิสมังสะ เนื้อปลาที่เขาฆ่าเฉพาะสหธรรมิก
- อย่าเรียนอย่าบอกเดรัจฉานวิชา
- เถระไม่ได้เชื้อเชิญก่อน อย่าแสดงธรรมในท่ามกลางสงฆ์
- อย่าขับร้องสวดแสดงธรรมด้วยเสียงขับอันยาว
- ไม่มีผ้ากรองน้ำอย่าเดินทาง
- ภิกษุอื่นยืมผ้ากรองน้ำอย่าหวง
- อย่าให้ของศรัทธาไทย คือของที่เขาให้ด้วยศรัทธาให้ตกไป คือให้อนามัฏฐบิณฑบาต ของกินที่ยัง
ไม่ได้ฉันเป็นต้นแก่คฤหัสถ์
- อย่าทำอย่าให้แลอย่านำข่าวสาร แลอย่าสงเคราะห์ตระกูลด้วยให้ดอกไม้ลูกไม้เป็นต้น

- อย่าประพฤติอนาจารต่าง ๆ เป็นต้นว่า ปลูกเองหรือให้ผู้อื่นปลูกซึ่งกอไม้ รดน้ำเองหรือให้ผู้อื่นรด เก็บ
เองหรือให้ผู้อื่นเก็บ ร้อยกรองดอกไม้เองหรือให้ผู้อื่นร้อยกรอง แลเล่นของเล่นต่าง ๆ มีหมากแยกเป็นต้น
- อย่ากลิ้งโยนศิลาเล่น
- อย่าขึ้นต้นไม้
- อย่าจุดป่า
- อย่าใช้อกัปปิยบริขารต่าง ๆ คือร่ม เครื่องจีวร รังดุม บาตรภาชนะเครื่องใช้ 🔎ธัมกรก(๘๙) ประคดเอว 🔎ลูกถวิน(๙๐) หัวประคด ฝึกกุญแจ มีดพับ มีดตัดเล็บ มีดตัดไม้ ไม้สีฟัน ไม้เท้าเป็นต้น เหล่านี้เป็นของวิจิตรงดงามด้วยลวดลายปักเย็บ เครือวัลย์วิการต่าง ๆ ไม่ควร
- อย่าทรงพัดวีชนีทำด้วยขนทรายจามรี
- อย่าเคี้ยวไม้สีฟันยาวกว่า ๘ นิ้ว สั้นกว่า ๔ นิ้ว
- อย่าทำการสั่งสมเครื่องโลหะแลเครื่องสัมฤทธิ์
- อย่าชักชวนบรรพชิตในกรรมอันไม่ควร
- เป็นช่างโกนอยู่ก่อน อย่ารักษามีดโกนไว้
- เครื่องประดับหญิง รูปหญิง ข้าวเปลือก ๗ แก้ว ๑๐ เครื่องดนตรีผลไม้ในต้นอย่าถูกต้อง
- อย่าลูบคลำภาชนะใส่ของยังไม่ได้ประเคน
- เที่ยวบิณฑบาต ผงตกลงในบาตร พึงประเคนเสียหรือล้างเสียก่อน

- ภิกษุเป็นอาคันตุกะ จะเข้าไปในวัดอื่น พึงถอดรองเท้าลดร่มเปิดศีรษะเสีย
- ภิกษุผู้แก่พึงอนุโมทนาในโรงฉัน
- ภิกษุ ๔ องค์ ๕ องค์ พึงนั่งคอยท่าอยู่อย่านั่งเบียดภิกษุแก่
- อย่าห้ามอาสนะภิกษุหนุ่ม
- อย่านั่งทับผ้าสังฆาฏิในโรงฉัน
- อย่าเทน้ำให้ถูกผ้าสังฆาฏิแลภิกษุที่นั่งใกล้
- ออกไปบิณฑบาตอย่าเข้าให้เร็วนัก
- อย่ายืนให้ไกลให้ใกล้นัก
- อย่ากลับช้านัก
- อย่ากลับเร็วนัก
- อย่าแลดูหน้าทายก
- จะชำระเสนาสนะ อย่าตบเคาะที่ใกล้ภิกษุ แลใกล้วิหารกุฎี แลใกล้น้ำฉันน้ำใช้ แลอย่าตบเคาะในที่เหนือลม
- อยู่กุฎีเดียวกับภิกษุแก่ไม่บอกก่อน อย่าให้อุเทศแลปริปุจฉา
- อย่าสาธยายแสดงธรรม ตามประทีป ดับประทีปเปิดปิดหน้าต่าง
- อย่ากระทบภิกษุแก่ด้วยมุมจีวร
- ถ่ายอุจจาระแล้วน้ำไม่มี อย่าล้าง
- อย่าไปเว็จกุฎี ตามลำดับผู้แก่ ให้ไปตามลำดับที่มา
- อย่าเข้าเวจกุฏิให้เร็วนัก
- อย่าเลิกผ้านุ่งเข้าไป
- อย่าเบ่งดังอึด ๆ
- อย่าเคี้ยวไม้สีฟันพลาง
- อย่าถ่ายเว็จนอกร่อง
- อย่าถ่ายปัสสาวะนอกราง
- อย่าบ้วนน้ำลายในรางปัสสาวะ
- อย่าชำระด้วยไม้คมไม้ผุ
- อย่าทิ้งไม้ชำระในหลุมคูถ
- อย่าออกให้เร็ว
- อย่าเลิกผ้านุ่งออกมา
- อย่าชำระด้วยน้ำดังจับปุ ๆ
- อย่าเหลือน้ำไว้ในหม้อชำระ
- เปื้อนให้ล้าง เต็มให้เท รกให้กวาด
- ย้อมจีวรตากแถวน้ำยังไม่ขาด อย่าหลีกไป
- พึงปฏิบัติด้วยดีในอุปัชฌาย์อาจารย์
- ไม่บอกอุปัชฌาย์อาจารย์ก่อน อย่าทำการให้แลรับจีวรเป็นต้นแก่คนบางคน แลเข้าบ้านไปป่าช้า หลีกสู่ทิศ 

เหล่านี้เป็นสจิตตกะ


อจิตตกะ ไม่มีเจตนาที่จักกระทำ คือ ถึงแม้ไม่จงใจทำ แต่เหตุเกิดขึ้นแล้วก็ต้องอาบัติทุกกฏ
- ภิกษุอย่าพึ่งไปดูฟ้อนขับประโคม
- ไม่ผูกประคดอย่าเข้าบ้าน
- มีบาตรในมืออย่าผลักบานประตู
- อย่านอนที่เตียงตั้งเครื่องลาดอันเดียวกันแลนอนผ้าห่มผืนเดียวกัน
- อย่าฉันอย่าดื่มในภาชนะอันเดียวกัน
- อย่าฉันกระเทียม
- พื้นทำบริกรรมแลเครื่องลาดของสงฆ์ เท้าไม่ได้ล้าง เท้าเปียก ใส่รองเท้าอยู่ อย่าเหยียบ
- อย่าอิงฝา เขาทำบริกรรม
- เตียงตั้งของสงฆ์ลาดด้วยผ้าของตนก่อนพึงนอน
- อย่าไว้ผมแลหนวด เครา แลขนจมูกแลเล็บให้ยาว
- อย่าขัดเล็บ
- อย่าถอนขนในที่แคบ
- ไม่ได้ดูก่อนอย่าทิ้งหยากเยื่อของเป็นเดนเป็นต้น นอกฝานอกกำแพง
- อย่าทิ้งของเป็นเดนแลอุจจาระในไร่นาของเขา
- ไม่พิจารณาก่อนอย่าฉันเนื้อ
- อย่าฉันเนื้อช้าง เนื้อม้า เนื้อสุนัข เนื้องู เนื้อราชสีห์ เนื้อเสือโคร่ง เนื้อเสือเหลือง เนื้อหมี เนื้อเสือดาว
- นอนกลางวันให้ปิดประตู

เหล่านี้เป็นอจิตตกะ

- พึงเว้นจากรับข้าวเปลือก ดินแลไร่นาทาสชายหญิง โค แกะ กระบือไก่ สุกร เป็นต้น
เหล่านี้ไม่ทำตาม เป็นทุกกฏ


วันจันทร์

ถุลลัจจัย

ถุลลัจจัย
จักพรรณนาในถุลลัจจยาบัติ ข้อหนึ่งภิกษุอย่าพึงสละ ข้อหนึ่งอย่าพึงแจก ครุภัณฑ์ที่เป็นของสงฆ์ถ้าสละ หรือแจกก็เป็นถุลลัจจัยด้วยพุทธบัญญัติห้ามไว้

ถุลลัจจัย ว่าด้วย ครุภัณฑ์ นั้นมี ๕ หมวด ดังนี้
หมวดที่ ๑ (๒ อย่าง)
สวนดอกไม้ลูกไม้ ๑
ที่ดินพื้นสวน ๑

หมวดที่ ๒ (๒ อย่าง)
วิหาร คือ กุฏิตึกเรือนที่อยู่ เป็นต้น ๑
ที่ดินพื้นแห่งวิหาร ๑ 

หมวดที่ ๓ (๔ อย่าง)
เตียง ๑
ตั้ง ๑
ฟูก ๑
หมอน ๑

หมวดที่ ๔ (๙ อย่าง)
หม้อทำด้วยโลหะ ๑
คะนนทำด้วยโลหะ ๑
กระปุกขวดทำด้วยโลหะโตจุของกว่า ๕ ทะนานมคธขึ้นไป ๑
กระถางกระทะทำด้วยโลหะ แม้เล็กจุน้ำได้ซองมือเดียว ๑
โลหะนั้นเป็นชื่อแห่งทองเหลือง ทองขาว ทองแดง ทองสัมฤทธิ์ ของหล่อ แลมีดใหญ่ที่ตัดฟันของใหญ่ พ้นจากตัดไม้สีฟัน แลปอกอ้อยขึ้นไปได้ ๑
ขวานเครื่องผ่าไม้ ๑
พึ่งเครื่องถากไม้ ๑
จอบเสียมเครื่องขุดดิน ๑
เหล็กหมาดบิดหล่า เครื่องเจาะไข ๑

หมวดที่ ๕ (๘ อย่าง)
เถาวัลย์ยาวแต่กิ่งแขนขึ้นไป ๑
ไม้ไผ่ยาว ๘ นิ้วขึ้นไป ๑
หญ้ามุงกระต่าย ๑
หญ้าปล้อง ๑
หญ้าต่าง ๆที่สำหรับมุงบังได้แต่กำมือหนึ่งขึ้นไป ๑
ดินปกติและดินที่สีต่าง ๆ เป็นเครื่องทา ๑
เครื่องใช้ทำด้วยไม้ต่างๆ ยาวแต่ ๙ นิ้วขึ้นไป ๑
เครื่องใช้ทำด้วยดินต่าง ๆ ๑

บรรจบเป็นของ ๒๕ สิ่ง สิ่งเหล่านี้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทายกถวายแก่สงฆ์ก็ดี เกิดในที่สงฆ์ก็ดี ชื่อว่าเป็นของสงฆ์ เป็นครุภัณฑ์ อันสงฆ์และคณะและบุคคลจะพึงสละและแจกไม่ได้ ถึงสละและแจกไป ก็ไม่เป็นอันสละและแจก คงเป็นของ ๆ สงฆ์อยู่อย่างเดิม ภิกษุได้สละหรือแจกของเหล่านี้ ด้วยถือตัวว่าเป็นใหญ่ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ถ้าเสียสละหรือแจกด้วยไถยจิต ให้พระวินัยธรพึงปรับอาบัติตามราคาของนั้น ๆ

ครุภัณฑ์เหล่านี้กำหนดเห็นว่าทำอย่างนี้จะเป็นอุปการะแก่สงฆ์ เอาสิ่งที่เป็นของถาวรแลกเปลี่ยนสิ่งที่เป็นของถาวรด้วยกันก็ดี เอาสิ่งนอกนั้นที่เป็นกัปปิยะแม้ที่ราคามากแลกเปลี่ยนของนอกนั้นด้วยกัน ด้วยการแลกเปลี่ยนเป็นกัปปิยะก็ดีก็ควร หรือจะเสียสละครุภัณฑ์เหล่านั้นที่เป็นของเลวแล้ว แลกเปลี่ยนบิณฑบาตเป็นต้นเอามาบริโภค เพื่อจะรักษาเสนาสนะเป็นต้น ที่เป็นของดีในเวลาข้าวแพงเป็นต้นก็ควร ในครุภัณฑ์เหล่านี้ของสิ่งใด สิ่งหนึ่งมีไม้ไผ่เป็นต้น ภิกษุจะถือเอาเพื่อประโยชน์ตนพึงทำผาติกรรมใช้หนี้ตอบแทนให้เสมอกันหรือยิ่งกวาจึงถือเอาก็ควร

หม้อบาตรถ้วยขันทองห้า กาน้ำที่ไม่จุน้ำได้ ๕ ทะนานมคธก็ดี ไม้ด้ามหยอดตา กล้องยานัตถ์ ไม้ไขหู เข็มเย็บผ้า เข็มเย็บใบไม้ มีดพับ เหล็กแหลมเล็ก ๆ กุญแจดาล เป็นต้น เครื่องโลหะก็ดี เครื่องไม้ก็ดีที่ทำค้างอยู่ เหล่านี้ไม่เป็นครุภัณฑ์ เป็นของแจกได้ เถาวัลย์และไม้ เป็นต้น เมื่อทำการสงฆ์และการเจดีย์เสร็จแล้วเหลืออยู่จะน้อมเข้าไปในการบุคคลก็ควร ซึ่งว่ามานี้สังเขป ถ้าประสงค์จะรู้พิสดาร พึงดูในจตุตถสมันตปาสาทิกา เถิด ฯ

ถุลลัจจัย ว่าด้วย สัตถกรรม
ข้อหนึ่ง อย่าให้เขาทำสัตถกรรมในที่แคบ
ข้อหนึ่ง อย่าให้เขาทำสัตถกรรมในโอกาสที่เพียง ๒ นิ้ว แต่ที่ใกล้คือทวารหนัก ถ้าให้เขาทำ ต้องถุลลัจจัย สัตถกรรมนั้น คือตัดหรือผ่าหรือแทงหรือขีด ด้วยศัสตราหรือเข็มหรือหนามหรือกระเทาะศิลาหรือเล็บก็ดี อันใดอันหนึ่ง ในโอกาสที่กำหนดในทวารหนักนั้น อย่างนี้ชื่อว่าทำสัตถกรรมทั้งสิ้น เป็นถุลลัจจัย แล้วบีบหัวใส้ด้วยหนังหรือผ้าอันใดอันหนึ่ง ก็อย่าพึ่งทำด้วยอาการทั้งสิ้นนั้นชื่อว่า วัตถิกรรม ถ้าทำเป็นถุลลัจจัย

ก็แลว่าในโอกาสที่เพียง ๒ นิ้ว แต่ที่ใกล้ที่แคบ คือทวารหนักนั้น ห้ามแต่สัตถกรรมและวัตถิกรรมในที่แคบอย่างเดียว ก็แต่ว่าภิกษุจะหยอดน้ำแสบน้ำด่างในหัวใส้นั้น หรือจะเอาเชือกอันใดอันหนึ่งผูกรัดหัวไส้ ก็ควรอยู่ ถ้าหากว่าหัวไส้นั้นขาดออกมาด้วยน้ำแสบหรือเชือก ชื่อว่าขาดด้วยดี ไม่มีโทษ

จะทำสัตถกรรม ผ่าเจาะในอัณฑะที่บวมนั้นไม่ควรเพราะเหตุนั้นจะทำอัณฑะควักเอาพืชออกเสีย ด้วยคิดจะทำให้หายโรคเช่นนี้ อย่าพึงทำ ก็แต่จะรมจะย่างด้วยเพลิงแลทายาเหล่านี้ ไม่ห้าม ในทวารหนักจะเอากรวยใบไม้ หรือเกลียวชุด หรือกระบอกไม้ไผ่ที่ทายาสวม แล้วเอาน้ำด่างน้ำแสบหยอดลงในกรวย หรือเอาน้ำมันเทลงไปในกระบอกไม้ไผ่นั้น ให้ไหลเข้าไปในทวารหนักดังนี้ควรอยู่

ถุลลัจจัย ว่าด้วย สจิตตกะและอจิตตกะ
๔ สิกขาบทนี้เป็นสจิตตกะ ไม่รู้ ไม่เป็นอาบัติ
ข้อหนึ่งภิกษุอย่าพึ่งฉันเนื้อมนุษย์ ถ้าฉันเป็นถุลลัจจัย ด้วยทรงห้ามไว้ ใช่แต่เนื้ออย่างเดียว แม้กระดูกและเลือด หนังแลขนก็ไม่ควร สิกขาบทนี้เป็นอจิตตกะรู้ไม่รู้ก็เป็นอาบัติ

อนึ่ง ถุลลัจจยาบัติมีมาก ไม่ได้ขึ้นสู่ปาฏิโมกขุเทศว่าโดยอาคัฏฐานที่มามี ๓ สถาน คือ
มาในขันธกะแห่ง ๑ เรียกชื่อว่าขันธกถุลลัจจัย
มาในวินีตวัตถุแห่งปาราชิกแลสังฆาทิเสสแห่ง ๑ เรียกชื่อว่า วินีตวัตถุถุลลัจจัย
มาในวิภังค์แห่งปาราชิกแลสังฆาทิเสสแห่ง ๑ เรียกชื่อว่าวิภังคถุลลัจจัย
เพราะเหตุนั้นบัญญัติแห่งถุลลัจจยาบัติจึงมีมาก ไม่มีกำหนด

ขันธกถุลลัจจัยนั้น ดังนี้
ภิกษุอย่าพึ่งถือ🔎ติตถิยวัตร(๘๔) เปลือยกายไม่นุ่งห่มถ้าภิกษุใดปฏิบัติดังนี้ต้องถุลลัจจัย
ภิกษุอย่าทรงผ้าคากรอง อย่าทรงผ้าที่เขากรองถักด้วยเปลือกไม้ อย่าทรงผ้าที่เขาทำด้วยกระดาน อย่าทรงผ้ากัมพลทำด้วยขนหางสัตว์ อย่าทรงผ้าทำด้วยปีกนกเค้า อย่าทรงหนังเสือ อย่าทรงผ้าทำด้วยปอ ผ้าเหล่านี้เป็นธงแห่งติตถิยะ ภิกษุใดทรงผ้าเหล่านี้ ต้องถุลลัจจัย

ข้อหนึ่งภิกษุอย่าพึ่งต้ององคชาตนิมิตแห่งเดรัจฉานตัวเมีย ด้วยจิตกำหนด ถ้าถูกต้องเป็นถุลลัจจัย
ข้อหนึ่งวันอุโบสถหรือวันปวารณา ภิกษุเจ้าอาวาสตั้งแต่ ๔ หรือ ๕ ขึ้นไป รู้อยู่ว่าภิกษุเจ้าอาวาสด้วยกันหรือภิกษุเป็นอาคันตุกะอื่น อยู่ในสีมาอันเดียวกันมีอยู่แต่ยังไม่มาสู่โรงอุโบสถโรงปวารณา เข้าหัตถบาสแกล้งจะให้เธอเหล่านั้นฉิบหาย หรือด่วนทำอุโบสถหรือปวารณาเสียก่อน ต้องถุลลัจจัย เหล่านี้ก็ดี ถุลลัจจัย ๔ ข้อก่อนก็ดี เป็นขันธกถุลลัจจัย

วินิตวัตถุถุลลัจจัย มีดังนี้
ภิกษุหนึ่งปรารถนาจะให้อสุจิเคลื่อนเดินทางไป อสุจิไม่เคลื่อน ต้องถุลลัจจัย
อนึ่งภิกษุเคล้าคลึงหญิงที่ตายแล้ว ต้องถุลลัจจัย ๆ อย่างนี้ชื่อ วินิตวัตถุถุลลัจจัย

วิภังคถุลลัจจัยนั้นมีหลายอย่าง
คือ เป็นอนุสาวนถุลลัจจัยบ้าง วิมติถุลลัจจัยบ้าง ยถาสัญญาถุลลัจจัยบ้าง ยถาเขตตถุลลัจจัยบ้าง ยถาวัตถุถุลลัจจัยบ้าง ยถาปโยคถุลลัจจัยบ้าง ยถาวัชชถุลลัจจัยบ้าง อนุสาวนถุลลัจจัยนั้น ดังอาบัติถุลลัจจัย เพราะสงฆ์ทำสมนุภาสนกรรม ๔ อย่าง หรือ ๘ อย่าง อันใดอันหนึ่งแก่ภิกษุหรือภิกษุณี เพื่อจะให้ละกรรมนั้น ๆ เสีย แลเธอไม่ละเสียจบอนุสาวนาที่ ๑ ที่ ๒ ลง ต้องถุลลัจจัย ๆ อย่างนี้ชื่อว่า อนุสาวนถุลลัจจัย ๆ นี้ เมื่อจบอนุสาวนาที่ ๓ นี้ ต้องครุกาบัติ แล้วรำงับไปเอง ไม่ต้องแสดง

หญิง...ภิกษุสงสัยอยู่ว่าหญิงหรือมิใช่ แลกำหนัดยินดีถูกต้องกายหญิงนั้นด้วยกายตน ต้องถุลลัจจัย ถุลลัจจัยดังนี้ชื่อว่าวิมติถุลลัจจัย เพราะต้องด้วยความสงสัย
หญิง....ภิกษุสำคัญว่าเป็น 🔎
บัณเฑาะก์(๘๕) กำหนัดยินดีถูกต้องกายหญิงนั้นด้วยกายตน ต้องถุลลัจจัย ถุลลัจจัยดังนี้ชื่อว่า ยถาสัญญาถุลลัจจัย เพราะเป็นอาบัติตามสัญญาความสำคัญ

ภิกษุมีความกำหนัด สรรเสริญหรือติเตียนอวัยวะหญิงเบื้องบนแต่รากขวัญลงไป เบื้องต่ำแต่เข่าขึ้นมา ยกทวารหนักทวารเบาเสีย ต้องถุลลัจจัย ถุลลัจจัยดังนี้ชื่อว่า ยถาเขตตถุลลัจจัย เพราะเป็นอาบัติตามเขต

ภิกษุจับต้องกายบัณเฑาะก์ด้วยกายตน ด้วยความกำหนัด ต้องถุลลัจจัย ถุลลัจจัยดังนี้ชื่อว่า ยถาวัตถุถุลลัจจัย เพราะเป็นอาบัติตามวัตถุ

ภิกษุมีไถยจิตจะพาทาสเขาหนี ชวนก็ดี หรือไม่ก็ดีให้ทาสนั้นยกเท้าที่แรกก้าวไป ต้องถุลลัจจัย ถุลลัจจัย
ข้อนี้ชื่อว่า ยถาปโยคถุลลัจจัย เพราะเป็นอาบัติตามประโยค

ภิกษุเฉพาะตนเอง แลอ้างเอาผู้อื่นเป็นปริยาย อวดอ้างอุตตริมนุสสธรรมว่า ผู้ใดอยู่ในวิหารของท่านผู้นั้นเป็นพระอรหันต์ ดังนี้เป็นต้น ผู้ฟังรู้ความในขณะนั้น เธอนั้นต้องถุลลัจจัย ถุลลัจจัยดังนี้ชื่อว่า ยถาวัชชถุลลัจจัย เพราะเป็นอาบัติตามโทษ

เพราะอาบัติถุลลัจจัยมีมากต่าง ๆ อย่างนี้ จึงไม่มีกำหนดดังปาราชิกแลสังฆาทิเสสเป็นต้น ฯ


จบถุลลัจจัยแต่เท่านี้

สมณวิสัย

ปัจจเวกขณวิธี ๔ ประการ

ปัจจเวกขณวิธี ๔ ประการ
ในการที่จะพิจารณาปัจจัยทั้ง ๔ นี้ ท่านแบ่งออก เป็น ๔ อย่าง เรียกว่า ปัจจเวกขณะ ๔

๑. ธาตุปัจจเวกขณ์ ให้พิจารณาเห็นสักว่าเป็นธาตุ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ให้พิจารณาเมื่อได้รับจตุปัจจัยอัน ใดอันหนึ่ง ได้แก่ “ยถาปจจย์ ฯลฯ สุญโญ” ให้พิจารณา เห็นโดยสักว่าธาตุ อันนี้เรียกว่า ธาตุปัจจเวกขณ์

๒. พิจารณาก่อนแต่กาลบริโภค ให้เห็นว่าเป็นของจึงเกลียดโดย🔎ปฏิกูลกรรมฐาน ได้แก่ “สพุพานิ ปน อิมานิ หรือ สพโพ ปนายํ ฯลฯ ชายนุติ หรือ ชายติ” ดังนี้ เรียกว่า ปฏิกูลปัจจเวกขณ์

๓. ในขณะจะบริโภคให้พิจารณาในส่วน “ตงขณิก ปจจเวกขณ์” ได้แก่ “ปฏิสงฺขา โยนิโส” ทั้ง ๔ บทแล้วแต่ปัจจัยที่บริโภค นี้เรียกว่า ตังขณิกปัจจเวกขณ์

๔. ในส่วนอดีตปัจจเวกขณ์ ได้แก่ “อชุช มยา” ฯลฯ เป็นส่วนที่ทรงอนุญาตให้ไว้ เพื่อความหลงลืมในเวลารับเวลาบริโภค ความว่า เมื่อภิกษุได้รับหรือบริโภคปัจจัยทั้ง ๔ มิได้พิจารณาในธาตุปัจจเวกขณ์ หรือ ปฏิกูลปัจจเวกขณ์ แลตั้งขณิกปัจจเวกขณ์ แล้วภายหลังกำหนดในวันเดียวเท่านั้น อย่าให้ทันอรุณใหม่ขึ้นมาก็ให้ พิจารณาในอดีตปัจจเวกขณ์ต่อไป ถ้าไม่ได้พิจารณาใน อดีตปัจจเวกขณ์ในวันนั้น ชื่อว่าอิณบริโภค คือการ 🔎บริโภคประกอบด้วยหนี้ในวันนั้น เพราะฉะนั้น ภิกษุอย่าพึงประมาทปล่อยสติในการพิจารณานี้เสียเลย รวมเป็นปัจจเวกขณ์ ๔ ประการ

ในปัจจัยสันนิสสตศีลที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ พิจารณาปัจจัยทั้ง ๔ โดยปัจจุกเวกขณวิธีทั้ง ๔ ประการนี้ เพื่อจะได้ละกิเลสอาสวะเครื่องเศร้าหมองอันกองอยู่ ในสันดานให้ระงับ ห่างไกลจากความกำหนัดยินดีใน วัตถุกามแลกิเลสกามเป็นต้น ให้ภิกษุทำความศึกษาในปัจจเวกขณทั้ง ๔ ในพระบาลีและเนื้อความให้เข้าใจ ชัดเจน อย่าให้เป็นสักแต่ว่าตามบาลี ให้ตั้งใจหยั่งปัญญา ลงพิจารณาให้เห็นโดยจริงด้วย จึงจะเป็นเครื่องชำระ อาสวะเครื่องหมักดองในสันดานได้

จบปัจจเวกขณวิธีเท่านี้

สมณวิสัย

🔅 อินทรียสังวรศีล
🔅 อาชีวปรสุทธิศีล
🔅 ปัจจัยสันนิสสิตศีล
🔅 ปัจจเวกขณวิธี ๔ ประการ
🔅 ถุลลัจจัย
🔅 ทุกกฏ
🔅 ทุพภาสิต
🔅 กาลิกบัพพ์
🔅 พินทุ, อธิษฐาน, วิกัป, ปัจจุทธรณ์
🔅 คำแสดงอาบัติ
🔅ข้อปฎิบัติของภิกษุที่ต้องทำ

ปัจจัยสันนิสสตศีล

ปัจจัยสันนิสสตศีล

บัดนี้จะว่าด้วยปัจจัยสันนิสสตศีล ในปัจจัยสันนิสสตศีลนั้นความว่า ภิกษุพึงพิจารณาปัจจัยทั้ง ๔ คือ

    จีวร เครื่องนุ่งห่ม หรือผ้าอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งสมควรแก่ภิกษุจะบริโภคได้เป็นต้น ๑
    บิณฑบาต ของซึ่งเป็นอาหารอันภิกษุพึงจะรับ ฉันได้ในกาล คือเช้าถึงเที่ยง ๑
    เสนาสนะ เครื่องลาดปู มีที่นั่งหรือที่นอนเป็นต้น จะเป็นเสื่อหรือแผ่นผ้าอันใดก็ตาม ๑
    คิลานปัจจัย สิ่งที่สงเคราะห์เข้าในยาสำหรับรักษา โรคไข้เจ็บ จะเป็นยาวชีวิกก็ฉันได้ตราบเท่าสิ้นชีวิตและ ยามกาลิกมีกำหนดฉันได้ชั่วกาลวันหนึ่งตลอดคืนหนึ่ง หรือชั่ว ๗ วันเป็นกำหนดที่เรียกว่า สัตตาหกาลิก ๑

จบปัจจัยสันนิสสิตศีลสังเขปเท่านี้

สมณวิสัย


วันพฤหัสบดี

อาชีวปรสุทธิศีล

อาชีวปาริสุทธิศีล

บัดนี้ จะว่าในอาชีวปาริสุทธิศีลต่อไป อาชีวปาริสุทธิศีลนั้นว่า ให้ภิกษุพึงแสวงหาเลี้ยงชีพโดยโคจรบิณฑบาต หรือรับภัตตาหารที่ทายกนิมนต์ ซึ่งเป็นอติเรกลาภอันเป็นของบริสุทธิ์ ปราศจากมิจฉาชีพ

เลี้ยงชีวิตด้วยอเนสนากรรม คือการแสวงหาไม่ควร คือ
ให้ดอกไม้ ๑
ให้ผลไม้ ๑
ให้จุณเครื่องทา ๑
ให้ไม้สีฟัน ๑
ให้ไม้ไผ่ ๑

แก่ตระกูลผู้มิใช่ญาติและเป็นหมอให้ยารักษาไข้ แลเป็นทูตเดินข่าวสารของคฤหัสถ์ หรือหาเลี้ยงชีพด้วยอุบายต่าง ๆ มีขวนขวายช่วยทำกิจการงานเป็นต้นที่โลกนับว่าเป็นการประจบประแจงเหล่านี้ เป็นอเนสนากรรม เป็นการแสวงหาไม่ควร เพราะฉะนั้นภิกษุพึงละเว้นจากการแสวงหาเลี้ยงชีวิตอันไม่ควรเหล่านี้เสีย จึงชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยอาชีวปาริสุทธิศีลและพึงทำความศึกษาต่อไปให้ได้ความชัดเจนด้วย


จบอาชีวปาริสุทธิศีลสังเขปเท่านี้ 

สมณวิสัย

🔅 อาชีวปรสุทธิศีล