RSS

๐๙.๖ พรรษาที่ ๘

เมื่อพระพุทธเจ้า ทรงเปิดโลกเสด็จลีลาลงจาดาวดึงสวรรค์ในท่ามกลางเทพยาดาและพรหมเป็นอันมาก มหาชนทั้งหลายต่างแซ่ซ้องสาธุการเสียงสนั่นหวั่นไหว พระบรมศาสดาทรงเสด็จดำเนินสูป่าไม้สีเสียดใกล้เมืองสุงสุมารคีรี แคว้นภัคคะ ทรงประทับจำพรรษาที่ ๘ ณ ป่าไม้สีเสียดเภสกลาวัน 


  • การก่อกำเนิดของคน
  • รูปฌาน,อรูปฌาน



  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

๐๙.๕ พรรษาที่ ๗

พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธ

มารดาตลอดสามเดือนเทพยาดาในโลกธาตุที่มาประชุมฟังธรรมอยู่ที่นั้นบรรลุมรรคผลสุดที่จะประมาณ ส่วนพระมหามายาเทพเจ้าผู้เป็นพระพุทธมารดาได้ทรงบรรลุพระโสดาปัตติผลสมพระประสงค์ของพระบรมศาสดา

  • พระอภิธรรม
  • การทำสังคายนา
  • การทำวัตร


  • อภิธรรม ๗ คำภีรย์
  • อภิธัมมัตถสังคหะ


  • วิถีจิต
  • หน้าที่ของจิต


  • ประเภทของจิต


  • กรรมนิมิต-คตินิมิต
  • เจตสิก


  • การจุตติและปฏิสนธิของจิต
  • จำแนกกรรม
  • ผลของกรรม


  • ลำดับการจุตติและปฎิสนธิจิต
  • มหาภูตรูป ๔



  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

๐๙.๔ พรรษาที่ ๖

ในพรรษานี้พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่มกุลพรรพต (สันนิษฐาว่า ภูเขานี้อยู่ในแคว้นมคธหรือแคว้นโกศล หรือบริเวณใกล้เคียง) แต่ใน “ปฐมสมโพธิกถา” ระบุว่า “เสด็จไปสถิตบนมกุฎบรรพตทรงทรมานหมู่อสุร เทพยดา และมนุษย์ให้ละเสียพยศอันร้ายแล้วและให้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ในพรรษาที่ ๖ นี้ พระพุทธเจ้าทรงเสด็จไปแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่นครสาวัตถิคือ การแสดงน้ำคู่กับไฟ เพื่อสยบพวกเดียรถีย์นักบวชนอกศาสนาพุทธ ในที่สุดแห่งยมกปาฏิหาริย์ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่พุทธบริษัทเพราะได้เห้นและได้ฟังธรรมเทศนาเป็นอเนก 

  • การอุบัติของพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์
  • พุทธพยากรณ์ของพระทีปังกรพุทธเจ้า


  • ประเภทของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์


  • อธิบายกัปป์ อสงไขย
  • การแตกดับของโลก


  • ภพภูมิ
  • ความแตกต่างของทวีป


  • นรกภูมิ


  • เทวทูตสูตร


  • โลกันตนรก
  • พุทธศาสนากับความหมายของนรก


  • เปรตภูมิ


  • อสุรกายภูมิ
  • ป่าหิมพานต์และสระอโนดาต


  • เทวภูมิ
  • บุพกรรมของท้าวสักกะ ตอนที่ ๑


  • บุพกรรมของท้าวสักกะ ตอนที่ ๒


  • บุพกรรมของท้าวสักกะ ตอนที่ ๓
  • สงครามของเทพกับอสุระ


  • บุพกรรมของท้าวสักกะ ตอนที่ ๔
  • เหตุกรรมของพระเจ้าสุปปพุทธะ


  • บุพกรรมของท้าวสักกะ ตอนที่ ๕
  • ธิดาทั้ง ๔ ของท้าวสักกะ


  • บุพกรรมของท้าวสักกะ ตอนที่ ๖
  • พระโพธิสัตว์


  • ฌาณ
  • ลำดับชั้นของพรหม


  • นาค
  • ครุฑ
  • คนธรรพ์


  • วลาหกเทพ
  • อายุของเทพ
  • อายุของสัตว์นรก


  • พรหมและยักษ์
  • ที่สุดโลก



  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

๐๙.๓ พรรษาที่ ๕

ในพรรษานี้ พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาที่กูฏาคาร ณ ป่ามหาวัน นครเวสาลี (ไพศาลี) ในกาลนี้พระองค์ทรงเสด็จจากกูฏาคารไปโปรดพระพุทธบิดาเสด็จสวรรคตที่กรุงกบิลพัสดุ์ และโปรดพระญาติทั้งฝ่ายศากยวงศ์และโกลิยวงศ์ ที่วิวาทเรื่องแย้งน้ำในแม่น้ำโรหิณีเพื่อการเกษตรกรรมโดยประทับที่นิโครธารามอันเป็นพระอารามที่พระญาติทรงสร้างถวายอยู่ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ พระนางมหาปชาบดีโคตมี น้าของพระพุทธเจ้าได้เข้าเฝ้าทูลอนุญาตให้สตรีละเรือนออกบวชในพระธรรมวินัย พระบรมศาสดาตรัสห้ามถึง ๓ ครั้ง

ต่อมาพระพุทธเจ้าเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์กลับไปประทับจำพรรษาที่กูฏาคาร ป่ามหาวัน นครเวสาลี ครั้นนี้พระนางมหาปชาบดีโคตมี ถึงกับปลงผมนุ่งผ้ากาสาวพัสตร์เอง ออกเดินทางพร้อมด้วยเจ้าหญิงศากยะ ๕๐๐ องค์มายังป่ามหาวัน ณ ที่นี้ พระบรมศาสดาทรงอนุญาตให้มีภิกษุณีสงฆ์ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยประทานอนุญาตให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีบวชเป็นภิกษุณีด้วยวิธีรับคุรุธรรม ๘ ประการ ส่วนเจ้าหญิงศากยะที่ตามมาทั้งหมดพระพุทธเจ้าตรัสอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์อุปสมบทให้

  • พระนางประชาบดี ยอมรับคุรุธรรม ๘ ประการ บวชเป็นภิกษุณีองค์แรก แล้วสำเร็จเป็นพระอรหันต์
  • พุทธพยากรณ์การเสื่อมสลายของพุทธศาสนา
  • ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘ ประการ


  • จำแนกผู้ที่สามารถบรรลุธรรม
  • วิชชา ๓ ญาณ ๓
  • อำนาจจิต


  • อาสวะกิเลส
  • พระนันทเถรศากยะและนางรูปนันทา



  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

๐๙.๒ พรรษาที่ ๒-๔

พรรษาที่ ๒-๓-๔ จำพรรษาที่เวฬุวัน

พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับจำพรรษา ณ ลัฏฐิวัน สวนตาลหนุ่มอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระนครราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารกษัตริย์ผู้ครองพระนครและแคว้นมคธ เข้าเฝ้าพร้อมด้วยข้าราชบริพารจำนวนมาก ทรงสดับพระธรรมเทศนา ได้ธรรมจักษุ ประกาศพระองค์เป็นอุบาสกและถวายพระเวฬุวัน ซึ่งเป็นป่าไผ่สวนที่ประพาสพักผ่อนของพระเจ้าพิมพิสาร อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกล จากพระนครราชคฤห์ นครหลวงของแคว้นมคธ เป็นที่ร่มรื่นเงียบสงบ มีหนทางไปมาสะดวก พระเจ้าพิมพิสารถวายเป็นสังฆาราม นับเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา ณ ที่นี้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษา ที่ ๒-๓-๔ เป็นลำดับการแห่งการประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้ตั้งมั่นในชมพูทวีป พระบรมศาสดาพร้อมด้วย พระอรหันต์สาวกทรงทุ่มเทจนพระพุทธศาสนาสามารถสถิตตั้งมั่นหยั่งรากลงลึกและแผ่กิ่งก้านสาขาไปสู่ปริมณฑลด้านกว้างในชมพูทวีป

ในลำดับกาลนี้พระบรมศาสดาได้ทรงตั้งตำแหน่งคู่แห่งอัครสาวกคือ พรสารีบุตรเถระ เป็นอัครสาวกเบื้องขวา พระโมคคัลลานะ เป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย พระพุทธเจ้าทรงเสด็จนครกบิลพัสดุ์ เป็นครั้งแรกภายหลังจากตรัสรู้ อนาถบิณฑิกเศรษฐีแห่งนครสาวัตถีประกาศตนเป็นอุบาสก และเริ่มต้นสร้างพระเชตุวันมหาวิหารเพื่อถวายแด่พระบรมศาสดา

  • ประเภทของขันติ


  • จำแนกการบรรลุธรรม
  • ธรรมชาติของจิต


  • อาสวกิเลส
  • การทำบุญอุทิศ


  • เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
  • แสดงเวสสันดรชาดก


  • บวชพระนันทะ
  • บวชสามเณรราหุล
  • แสดงมหาธรรมปาลชาดก


  • นางสามาวดี ผู้อยู่ด้วยเมตตา
  • นางมาคันทิยา ผู้อาฆาตพระพุทธเจ้า


  • อนาถบิณฑิกเศรษฐี


  • มหาปุริสวิตก ๘ ประการ
  • กำเนิดชีวกโกมารภัจจ์


  • โปรดหมอชีวกโกมารภัจจ์เป็นพระโสดาบัน





  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

๐๙.๑ พรรษาที่ ๑

พรรษาที่ ๑ จำพรรษาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี 

ในตอนปลายพรรษาที่ ๑ พระพุทธเจ้าเสด็จดำเนินไปยังดำบลอุรุเวลา ตำบลใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แคว้นมคธ อีกครั้งหนึ่งทรงทรมานอุรุเวลากัสสปด้วยอิทิปาฏิหาริย์ต่าง ๆ จนอุรุเวลกัสสปผู้เป็นคณาจารย์ใหญ่ของนักบวชชฏิล ละทิ้งลัทธิบูชาไฟยอมมอบตัวเป็นพุทธสาวกขอบรรพชา ทำให้ชลฎิผู้น้องอีกสองคนพร้อมบริวารออกบวชตามด้วยทั้งหมด ครั้นบวชแล้วได้ฟังเทศนาอาทิตตปริยายสูตรจากพระพุทธเจ้าก็ได้สำเร็จพระอรหัต ทั้งสามพี่น้องคณาจารย์ชฏิลพร้อมด้วยบริวารทั้งหมดรวมหนึ่งพันองค์ จากนั้นพระบรมศาสดาได้เสด็จสู่พระนครราชคฤห์

  • จำพรรษาที่อิสิปตนมฤคทายวัน 
  • โปรดปัญจวัคคีย์ สังฆรัตนะ เกิดขึ้นครั้งแรกในโลก


  • ทรงแสดงอริยสัจ ๔ 


  • อนัตตลักขณสูตร 
  • ขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ 


  • สรุปขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา 


  • โปรดพระยสะ และสหาย ๕๔ คน 
  • สาวกออกเผยแผ่พระพุทธศาสนา 
  • ให้สาวกทั้ง ๖๐ รูป มีอำนาจบวชกุลบุตรได้


  • โปรดภัททวัคคีย์ ๓๐ รูป
  • โปรดชฎิลสามพี่น้อง บวชเป็นเอหิภิกขุ ๑,๐๐๐ รูป
  • แสดงอาทิตตปริยายสูตรสำเร็จพระอรหันต์หมด


  • เสด็จไปราชคฤห์โปรดชาวเมืองและพระเจ้าพิมพิสารเป็นโสดาบัน


  • วิถีจิต กุศลจิต อกุศลจิต


  • ถวายวัดเวฬุวันเป็นวัดแรก
  • ให้สงฆ์สาวกรับอารามที่มีผู้ถวายได้
  • พระอัญญาโกณฑัญญะบวชปุณณมันตานีบุตร (ลูกน้องสาว) บรรลุอรหันต์
  • ได้ ๒ อัครสาวก พระสารีบุตร, พระโมคคัลลานะ


  • บวชพระมหากัสสปะโดยรับโอวาท ๓ ข้อ



  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

เจตสิกกลุ่มที่ ๒ หน้า ๒


อ่านหน้าที่แล้ว


ค.โทจตุกเจตสิก ๔ กลุ่มของความโกรธ เจตสิกกลุ่มนี้จะเข้าประกอบกับจิตที่มีความดุร้าย ประทุษร้าย ทำให้ เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนทั้งตนเองและผู้อื่น เป็นทุกข์ โทษ ภัย ทั้งใน ปัจจุบันและอนาคต โทจตุกเจตสิกมี ๔ คือ

๑. โทสเจตสิก คือธรรมชาติที่เป็นเหตุให้ประทุษร้าย คับแค้นใจ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐีมีเงิน คนยากจนเข็ญใจ เทวดา หรือสัตว์เดรัจฉาน เมื่อถูกความโกรธเข้าครอบงำจิตใจแล้ว ย่อมเป็นคนหยาบช้ากักขฬะ ขาดความเมตตา ปรานี มีความดุร้ายเหมือนอสรพิษ ผู้ใดสะสมความโกรธบ่อยจะทำให้ขาดความสุขในชีวิต เกิดโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน และความโกรธนั้นย่อมส่งผลเมื่อตายลงย่อมไปเสวยผลของความโกรธ

เหตุเกิดของโทสะจริตมี ๙ ประการ


๒.อิสสาเจตสิก คือธรรมชาติที่มีความริษยา ความเกลียดกัน เกลียดในลาภสักการะที่เกิดขึ้นกับบุคคลอื่น เกลียดในการทำความเคารพ ความนับถือ การกราบไหว้ การบูชา ที่บุคคลกระทำกับคนอื่นๆ แต่ไม่กระทำกับตนเอง ความอิสสาหรืออิจฉานี้เกิดขึ้นได้แม้เพียงได้ทราบว่าบุคคลอื่นได้ ดีมีสุขก็ทำให้เกิดอิจฉาได้ อิจฉานี้เป็นเครื่องผูกสัตว์ไว้ไม่ให้พ้นไปจาก สังสารวัฏ ที่เรียกว่าอิสสาสังโยชน์ ทำให้ต้องเวียนเกิดเวียนตายในภพน้อย ภพใหญ่ในวัฏสงสารอันยาวนาน
๓.มัจฉริยเจตสิกคือธรรมชาติที่ตระหนี่ หวงแหน ความเห็นแก่ตัว ความมีใจแคบ ความไม่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ บุคคลที่มีความตระหนี่หวงแหน นอกจากตนเองไม่ทานแล้วยังห้ามไม่ผู้อื่นให้ทาน มัจฉริยะเมื่อเกิดประกอบกับจิต จะทำให้บุคคลนั้นเป็นผู้มีจิตใจคับแคบ ไม่มีใจที่จะอนุเคราะห์กับใครๆ บุคคลที่มีความตระหนี่จะไม่อยากให้ของๆตนกับใครๆ อยากแต่จะรับของๆคนอื่น มัจฉริยะ หรือ ความตระหนี่มี ๕ อย่างคือ
๓.๑ ความตระหนี่ที่อยู่ เช่น มีญาติเดินทางมาจากต่างจังหวัดขอพักอาศัยสัก ๒- ๓ วันก็ไม่ให้อาศัย แต่การไม่ให้บุคคลที่ทุศีล ผู้มักทำความเดือดร้อนมาอยู่อาศัย ไม่ใช่อาวาสมัจฉริยะ
๓.๒ ความตระหนี่ตระกูล เป็นการหวงสกุล เช่น ไม่ยอมให้คนอื่นร่วมใช้กลัวคนอื่นจะมาทำให้ตระกูลตกต่ำไป
๓.๓ ความตระหนี่ลาภ เช่น การที่บุคคลใดได้รับลาภสักการะ รับรางวัล เมื่อเราทราบข่าวก็ไม่ยินดีในลาภของเขา และยังคิดว่าขอให้เขาไม่ได้ลาภนั้นๆ
๓.๔ ความตระหนี่วรรณะ วรรณะ มี ๒ อย่าง ๑) ตระหนี่ผิวพรรณ ๒) ตระหนี่ในคุณความดี
๓.๔.๑ บุคคลใดมีผิวพรรณงาม มีสรีระงาม ผู้ที่ตระหนี่ใน ผิวพรรณก็จะไม่ชื่นชม
๓.๔.๒ บุคคลใดมีคุณความดี ผู้ที่ตระหนี่ในคุณความดีก็ไม่ปรารถนาที่จะสรรเสริญคุณความดีของคนอื่น
๓.๕ ความตระหนี่ธรรม ธรรม หมายถึงปริยัติธรรมและปฏิเวธธรรม บุคคลที่ตระหนี่ในธรรมจะไม่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นรู้ธรรมที่ตนได้รู้ แล้วมีความหวงแหนไว้เฉพาะตน แต่การที่ไม่ให้ธรรมะกับบุคคลที่จักทำลายธรรมจักทำธรรมให้เสื่อมเสีย อย่างนี้ไม่จัดเป็นผู้ตระหนี่ธรรม

ผลแห่งมัจฉริยะมี ๕ ดังนี้
๑. ตระหนี่ที่อยู่อาศัย จะต้องถูกเผาอยู่ในเรือนเหล็กแดง
๒. ตระหนี่ตระกูล จะเป็นผู้มีลาภน้อย
๓. ตระหนี่ลาภ จะบังเกิดในนรกคูถ
๔. ตระหนี่วรรณะ เมื่อเกิดมาทุกภพทุกชาติจะไม่มีความสวยงามและไม่ได้รับการสรรเสริญ
๕. ตระหนี่ธรรม จะบังเกิดในนรกถ่านเพลิง

กุกกุจจเจตสิกคือธรรมชาติที่มีความเดือดร้อนใจในบาปที่ตนได้ทำไว้ และความดีที่คิดว่าจะทำแต่ยังไม่ได้ทำ รวมทั้งการคิดว่าสิ่งนี้ควรทำแต่ไม่ทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำแต่ได้ทำไปแล้ว เช่น ต้องการจะถือศีลทุกวันพระ แต่ก็ละเลยไม่ทำตามที่ตั้งใจ ก็จะหวนคิดถึงแล้วเกิดความวิตกกังวลใจ มีความเดือดร้อนใจในภายหลัง มีความเศร้าโศกถึงกรรมชั่วที่ได้ทำแล้วและกรรมดีที่ยังไม่ได้ทำ สรุป โทจตุกเจตสิก
โทสเจตสิก อิสสาเจตสิก มัจฉริยเจตสิก กุกกุจจเจตสิก ทั้ง ๔ นี้ เฉพาะโทสเจตสิกจะเข้าประกอบกับโทสมูลจิต ๒ ดวงเสมอ ส่วนเจตสิกที่เหลืออีก ๓ จะเกิดประกอบกับจิตได้บางครั้งบางคราวตามลักษณะของเจตสิก เช่น นายกรีฑากับนายถอยทัพ ทำงานที่เดียวกัน เมื่อนายกรีฑาได้เลื่อนตำแหน่ง เป็นเหตุทำให้ นายถอยทัพเกิดความอิจฉาและคิดวางแผนกลั่นแกล้งนายกรีฑา กรณีนี้จิตของนายถอยทัพมีโทสเจตสิกและอิสสา เจตสิกเกิดประกอบในโทสมูลจิต (แต่ไม่มีมัจฉริยเจตสิกและกุกกุจจเจตสิกเข้าประกอบ)
ง. ถีทุกเจตสิกกลุ่มของความหดหู่ท้อถอย เจตสิกกลุ่มนี้มี ๒ ดวง คือ
๑.ถีนเจตสิก คือธรรมชาติที่หดหู่ท้อถอยไม่อยากจะทำคุณงามความดี หรือเพียรพยายาม ในการงานต่างๆ เช่น การอ่านหนังสือหรือปฏิบัติธรรม จะเกิดความเบื่อหน่าย บอกไม่ถูกว่าเพราะอะไร บางครั้งตั้งใจเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ๑ สัปดาห์ แต่เกิดความท้อแท้เบื่อหน่ายจนทนไม่ไหวต้องออกจากกรรมฐาน เป็นเพราะมีความท้อถอยไม่อยากทำคุณงาม ความดีเป็นต้น
๒.มิทธเจตสิก คือธรรมชาติที่เซื่องซึม ง่วงเหงา หาวนอน ความรู้สึก ง่วงซึมนี้ทำให้หลับได้ไม่ว่าจะทำอะไรอยู่ที่ไหน ความง่วงเหงานี้ทำให้เกียจคร้าน ทำอะไรก็ไม่สำเร็จ ฉะนั้นเมื่อมิทธเจตสิกเกิดขึ้นประกอบกับจิตแล้ว จึงขวางกั้นกุศลธรรมทั้งหลายไม่ให้เกิดขึ้นในจิตใจ เหมือนกับทำนบกั้นน้ำไว้นอกนา ทำให้ต้นข้าวไม่ได้รับความชุ่มชื้นจากน้ำ
สรุป เจตสิก ๒ ดวงนี้ รวมเรียกว่า ถีนมิทธนิวรณ์ก็ได้ เป็นธรรมที่เป็นเครื่องกั้นความดี เป็นเจตสิกที่ขัดขวางต่อความเจริญก้าวหน้าในด้าน ความคิดและการกระทำทั้งปวง เจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้ จะเกิดพร้อมกันเข้าประกอบในจิตของบุคคลที่มีจิตใจไม่เข้มแข็ง
จ. วิจิกิจฉาเจตสิก กลุ่มของความลังเลสงสัย เจตสิกกลุ่มนี้มี ๑ ดวง คือวิจิกิจฉาเจตสิก คือธรรมชาติของความสงสัย ลังเล ไม่แน่ใจ เป็นเจตสิกที่เมื่อเกิดขึ้นกับจิตของบุคคลแล้ว ทำให้จิตใจเกิดความลังเลสงสัยในคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สงสัยในชาติอดีต สงสัยในชาติอนาคต สงสัยทั้งอดีตและอนาคตชาติ สงสัยในเหตุและผลของกรรม ความสงสัยเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อการทำความดีทั้งหลาย ทำให้ความดีที่ทำอยู่เกิดความชะงักงันไม่ก้าวหน้าต่อไป จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราควรจะมีความรู้ความ เข้าใจในสภาพธรรมที่กำลังเกิดขึ้นนี้ให้ดีว่า สิ่งนี้คือมารของความดี มารของมรรคผลนิพพาน


  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS