สุราปานวรรคที่ ๖
ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท จัดเป็น ๙ วรรค
(มุสาวรรค ๑๐)
(ภูตคามวรรค ๑๐)
(ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
(โภชนวรรค ๑๐)
(อเจลกวรรค ๑๐)
(สุราปานวรรค ๑๐)
(สัปปาณวรรค ๑๐)
(สหธัมมิกวรรค ๑๒)
(ราชวรรค ๑๐)
สุราปานวรรคที่ ๖ มี ๑๐ สิกขาบท ดังนี้
๑. สุราปานสิกขาบท
ความว่า ภิกษุรู้ก็ดี ไม่รู้ก็ดี ดื่มสุราคือน้ำเหล้าที่กลั่นด้วยข้าวสุกและแป้งเป็นต้น และดื่มกินเมรัย คือน้ำเมาที่ดองด้วยน้ำรสดอกไม้ลูกไม้เป็นต้น ให้ล่วงลำคอลงไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ความว่า ภิกษุคิดจะเย้าหยอกหัวเราะเล่นงี้แหย่ กระทบกระทั่งเย้าหยอกภิกษุที่รักแร้และสะเอวเป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าจี้สามเณรหรือคฤหัสถ์ เป็นอาบัติทุกกฏ
ความว่า ภิกษุเล่นน้ำดำผุดดำว่าย เผ่น โลด โดด เล่นเป็นการคะนอง ตั้งแต่น้ำท่วมข้อเท้าเป็นต้นไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ความว่า ภิกษุมิได้เอื้อเฟื้อต่อพระวินัยสิกขาบท ครั้นภิกษุอื่นสอนก็แสดงกายวาจาให้ผู้สอนรู้ว่าไม่ปรารถนาจะได้ยินได้ฟัง ไม่ปฏิบัติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ความว่า ภิกษุแกล้งหลอนหลอกภิกษุด้วยรูป รส กลิ่น เสียง และจับต้องให้ตกใจต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าหลอนหลอกสามเณรหรือคฤหัสถ์ต้องอาบัติทุกกฏ
ความว่า ภิกษุมิได้เจ็บไข้ก่อไฟขึ้นผิงเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นก่อขึ้นให้ตนก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นแต่ติดไฟด้วยกิจอื่น ๆ คือจะต้มน้ำและรมบาตรเป็นต้น ดังนี้ผิงก็ไม่เป็นอาบัติ ถ้าหนาวนักเหลือทนก็นับว่าเป็นไข้ ก่อไฟผิงก็ไม่มีโทษ
ความว่า ภิกษุอยู่ในมัชฌิมประเทศเขตโสฬสชนบท ยังไม่ถึงกึ่งเดือนอาบน้ำหรือทา🔎จุณ(๖๘) อันละลายน้ำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นแต่สมัย ๖ คือ
อุณหสมัย ตั้งแต่เดือน ๗ ไปจนถึงเพ็ญเดือน ๘ จัดเป็นคราวร้อน ๑
ปริฬาหสมัย ตั้งแต่แรมเดือน ๘ ไปถึงเพ็ญเดือน ๙ จัดเป็นคราวกระวนกระวาย ๑
คิลานสมัย คราวเจ็บไข้ ๑
กัมมสมัย คราวเมื่อทำการงาน ๑
วาตวุฏฐิสมัย คราวเมื่อต้องลมฝนธุลีต้องกาย ๑
ทั้ง ๖ สมัยนี้อาบน้ำได้ สิกขาบทนี้ห้ามแต่ในมัชฌิมประเทศ พ้นเขตนั้นเช่นสยามประเทศนี้อาบน้ำได้ทุกวัน ไม่เป็นอาบัติ
ความว่า ภิกษุได้จีวรมาใหม่ เมื่อจะนุ่งห่ม จึงทำพินทุกัปปะ คือจุดวงกลมลงที่มุมผ้าด้วยสี ๓ อย่าง คือสีเขียว ๑ สีดำคล้ำ ๑ สีตม ๑ เพื่อจะให้เสียสี เขียนเป็นวงเป็น🔎วินัยกรรม(๖๙) ๕ ว่า “อิมพินทุกปุป กโรมิ” ดังนี้ก่อนจึงนุ่งห่ม จุดวงขนาดใหญ่ให้เท่าวงหน่วยตานกยูง จุดวงขนาดเล็กให้เท่าหลังตัวเรือดก็ได้ ถ้าไม่จุดวงเป็นวินัยกรรมก่อน เอาผ้ามานุ่งห่ม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ความว่า ภิกษุวิกัปจีวรไว้แก่ภิกษุหรือนางภิกษุณี นางสิกขมานา สามเณร นางสามเณรี ด้วยตนเองแล้ว เมื่อจะคืนเอามาเป็นของตนนั้น มิให้ผู้รับวิกัปทำวินัยกรรมถอนคืนให้ก่อน เอาผ้านั้นมานุ่งห่ม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าคิดว่ายืมเอามานุ่งห่มก่อนตามความคุ้นเคยกัน ไม่เป็นอาบัติ
ความว่า ภิกษุคิดจะหยอกเย้าเพื่อนกัน หัวเราะเล่น แกล้งซ่อนบาตรหรือจีวร ผ้ารองนั่ง กล่องเข็ม 🔎สายกายพันธน์(๗๐) ของภิกษุเพื่อนกันไว้ก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นซ่อนก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าซ่อนของสิ่งอื่นนอกจากบริขาร ๕ สิ่งนั้น เป็นอาบัติทุกกฏ
🔅 ปาราชิก ๔
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓
🔅 อนิยต ๒
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
(จีวรวรรค ๑๐)
(โกสิยวรรค ๑๐)
(ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
(มุสาวรรค ๑๐)
(ภูตคามวรรค ๑๐)
(ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
(โภชนวรรค ๑๐)
(อเจลกวรรค ๑๐)
(สุราปานวรรค ๑๐)
(สัปปาณวรรค ๑๐)
(สหธัมมิกวรรค ๑๒)
(ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
(สารูป ๒๖)
(โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
(ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
(ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗