แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วินัยสงฆ์ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วินัยสงฆ์ แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์

โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐

เสขิยวัตร ๗๕

เสขิยวัตร ๗๕ สิกขาบท กำหนดนับ ๑๐ สิกขาบทเป็นวรรคหนึ่ง ๆ ได้ ๗ วรรค อีก ๕ สิกขาบทนั้นจัดเป็น ๑ รวมเป็น ๘ วรรค  
    
(สารูป ๒๖) การกระทำให้สมควรแก่สมณะ
(โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐วิธีที่จะขบฉัน
(ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖) การแสดงธรรม
(ปกิณกะ ๓) คือที่เรี่ยรายอยู่นำมายกขึ้นสู่อุเทศ

โภชนปฏิสังยุตต์มี ๓๐ สิกขาบท 
ในโภชนปฏิสังยุตต์ ให้ภิกษุพึงสำเหนียกไว้ ดังนี้

สิกขาบทที่ ๑.
ว่าเราจักทำสติเคารพรับบิณฑบาตให้เรียบร้อย มิได้ทำอาการไม่รู้ไม่เห็น เหมือนจะสาดเทเสีย

สิกขาบทที่ ๒.
ว่าเราจักหมายใจทอดนัยน์ตาลงในบาตร ไม่เหม่อเมินสายตาไปอื่นรับบิณฑบาต

สิกขาบทที่ ๓.
ว่าเราจักรับบิณฑบาตมี🔎สูปะ(๗๖) เสมอ คือ จะรับถั่วเขียว ถั่วขาว ผัก ที่แค่นควรจะนำไปด้วยมือ
ได้ พอให้เท่ากับส่วนเสี้ยวที่ ๔ แห่งข้าวสุกไม่ให้เกินประมาณ แต่จะรับกับแกงปลาเนื้อสิ่งอื่น ๆ ไม่ต้องห้าม

สิกขาบทที่ ๔.
ว่าเราจักรับบิณฑบาต พอเสมอขอบบาตรข้างใน ไม่ให้ล้นพูนปากบาตรขึ้นไป

สิกขาบทที่ ๕.
ว่าเราจักฉันบิณฑบาตทำสติเคารพ ไม่ทำอาการดังกินเล่นเช่นเด็กกิน

สิกขาบทที่ ๖.
ว่าเราจักหมายมุ่งลงในบาตร ฉันบิณฑบาตไม่เมินหน้าสายตาดูอื่น ๆ

สิกขาบทที่ ๗.
ว่าเราจักฉันบิณฑบาตเกลี่ยเสมอหน้า เปิบพอคำ ไม่ขุดเจาะให้เป็นหลุมเป็นร่องรอยลง

สิกขาบทที่ ๘.
ว่าเราจักฉันบิณฑบาต มีสูปะเครื่องคั่วผัดแล้วด้วยถั่ว พอเสมอเลี้ยวที่ ๔ แห่งข้าวสุกดังกล่าวมาแล้ว

สิกขาบทที่ ๙.
ว่าเราจักฉันบิณฑบาต ไม่ฟั้นฟอนแต่จอมกลาง กวาดมูนเข้ามาฟอนฉันแต่ตรงกลางแห่งเดียว

สิกขาบทที่ ๑๐.
ว่าเราจักมิได้กลบกับแกล้ม เครื่องคั่ว ผัด พล่า ยำ ปิ้ง จี่ทั้งปวงไว้ด้วยข้าวสุก เพราะหมายใจจะให้ทายกเอากับแกล้มอื่นมาเพิ่มเติมให้มากขึ้นด้วยโลภอาหาร

สิกขาบทที่ ๑๑.
ว่าเราไม่ได้เจ็บไข้ จักไม่ขอต้มแกงแลข้าวสุกแก่คนนอกจากญาติแลผู้ปวารณา เพื่อจะฉันเองแล้วจึงฉัน

สิกขาบทที่ ๑๒.
ว่าเราจักไม่หมายใจจะยกโทษ แลดูบาตรของภิกษุอื่น เพราะจะเพ่งเล็งโทษเป็นประมาณ

สิกขาบทที่ ๑๓.
ว่าเราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่นัก คือทำคำข้าวให้ย่อมกว่าไข่นกยูงลงมา ให้เขื่องกว่าไข่ไก่ขึ้นไป

สิกขาบทที่ ๑๔.
ว่าเราจักทำคำข้าวให้เป็นปริมณฑล คือทำให้กลมในซองมือ ไม่ปั้นให้รียาว

สิกขาบทที่ ๑๕.
ว่าเราจักไม่อ้าปากไว้คอยทำคำข้าว เมื่อเปิบคำข้าวยังไม่ถึงปาก

สิกขาบทที่ ๑๖.
ว่าเราจักไม่เปิบคำข้าว ป้อนนิ้วมือเข้าไปในปาก

สิกขาบทที่ ๑๗.
ว่าเราจักไม่พูดทั้งคำข้าว คือไม่อมคำข้าวเคี้ยวพลางพูดพลาง

สิกขาบทที่ ๑๘.
ว่าเราจักไม่เปิบคำข้าว โยน ซัดทิ้งให้เข้าไปในปาก

สิกขาบทที่ ๑๙.
ว่าเราจักไม่กัดคำข้าว แบ่งฉันแต่พอปาก กับแกล้มสิ่งอื่นไม่ต้องห้าม

สิกขาบทที่ ๒๐.
ว่าเราจักไม่ไพล่คำข้าวไว้ในแก้มให้พองตุ่ยดังลิงอมข้าวกิน

สิกขาบทที่ ๒๑.
ว่าเราจักไม่เปิบคำข้าว ฉันพลางสะบัดมือพลางให้เมล็ดข้าวสุกกระเด็นไป

สิกขาบทที่ ๒๒.
ว่าเราจักไม่เปิบคำข้าว ฉันเรี่ยรายเมล็ดข้าวให้ร่วงพรูสาง

สิกขาบทที่ ๒๓.
ว่าเราจักไม่แลบลิ้นรับคำข้าว

สิกขาบทที่ ๒๔.
ว่าเราจักไม่ฉันให้เสียงดังจับ ๆ

สิกขาบทที่ ๒๕.
ว่าเราจักไม่ฉันดูดเข้าสูดลมให้เสียงดังซูด ๆ

สิกขาบทที่ ๒๖.
ว่าเราจักไม่ฉันเลียมือ

สิกขาบทที่ ๒๗.
ว่าเราจักเปิบคำข้าวฉัน ไม่ขอดบาตรด้วยมือ แต่เมื่อจวนหมดจักกวาดรวมเข้า ไม่ต้องห้าม ข้าวต้ม ข้าวเปียกอันติดบาตรนั้น ขอด ไม่มีโทษ

สิกขาบทที่ ๒๘.
ว่าเราจักฉันไม่แลบลิ้นเลียริมฝีปาก

สิกขาบทที่ ๒๙.
ว่าเราจักไม่จับโอนฉันด้วยมืออันแปดเปื้อนอามิส

สิกขาบทที่ ๓๐.
ว่าเราจักไม่สาดเทน้ำล้างบาตร ทั้งเมล็ดข้าวลงในถิ่นบ้าน

ให้ภิกษุพึงทำความศึกษาในวิธีอันประกอบด้วยการขบฉัน อย่าให้ล่วงพระพุทธบัญญัติในโภชนปฏิสังยุตต์ ๓๐ สิกขาบทนี้
ถ้าผิดจากนี้เป็นอาบัติทุกกฏ

จบโภชนปฏิสังยุตต์ ๓๐ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗

สารูป ๒๖

เสขิยวัตร ๗๕

เสขิยวัตร ๗๕ สิกขาบท กำหนดนับ ๑๐ สิกขาบทเป็นวรรคหนึ่ง ๆ ได้ ๗ วรรค อีก ๕ สิกขาบทนั้นจัดเป็น ๑ รวมเป็น ๘ วรรค  
    
(สารูป ๒๖) การกระทำ
ให้สมควรแก่สมณะ
(โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐) วิธีที่จะขบฉัน
(ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖) การแสดงธรรม
(ปกิณกะ ๓) คือที่เรี่ยรายอยู่นำมายกขึ้นสู่อุเทศ

สารูปมี ๒๖ สิกขาบท
ในสารูป ๒๖ นี้ให้ภิกษุพึงทำการศึกษาฝึกใจสำเหนียกไว้อย่าให้หลงลืม ดังนี้
สิกขาบทที่ ๑.
ว่าเราจักนุ่งผ้าให้เป็น🔎ปริมณฑล(๗๗) คือนุ่งสงบจีบให้ชายเสมอกัน เหน็บพกให้แนบเนียน เหนือสะดือ
ขึ้นไปสัก ๔ นิ้ว ปิดเข่าลงมาประมาณ ๘ นิ้ว เมื่อนั่งลงก็จะคงปิดเข่า ๔ นิ้ว อย่างนี้ชื่อว่านุ่งผ้าเป็นปริมณฑล

สิกขาบทที่ ๒.
ว่าเราจักห่มผ้าจีวรให้เป็นปริมณฑล ถ้านอกเขตวัดให้ห่มคลุมผสมมุมม้วนขวาเข้าให้เสมอกัน (ตามบาลีใน มหาอัตฤกถาคัมภีร์ จตุตถสมันตปาสาทิกาคัมภีร์ มังคลัตถทีปนีคัมภีร์ ว่า สมปุปมาณํ จีวรํ ปารปนฺเตน สํหริตฺวา พาหาย อุปริ จปิตา อุโภ อนุตา พหิมุขา ติฏฐนุติ แปลความว่า ชายทั้ง ๒ อันพระภิกษุเมื่อห่มซึ่งจีวรจัดให้เสมอกัน ม้วนเข้าแล้ววางไว้เบื้องบนแห่งแขน มีหน้าในภายนอกให้ตั้งอยู่ริมอนุวาต ปกคอพันข้อมือแล้วหนีบไว้ใต้รักแร้ วางมอบบนแขนซ้าย ปกแข้งลงประมาณ ๔ นิ้ว ถ้าในเขตวัดให้ลดเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ถ้าห่มครองให้ชักจีวรแถบซ้ายพับขึ้นมาพาดบ่าเป็นสองชั้น พาดสังฆาฏิหน้าหลังเท่ากัน ยื่นหลังถึงขอบสบง เรียกว่า หางค่างหางโค ยื่นข้างหน้ามากเรียกว่า ชายแครงชายไหว ไม่ควร คาดรัดประคดเอวใต้นมสองนิ้ว อย่าให้ต่ำเลย ๔ นิ้ว ต้องนุ่งห่มให้เป็นปริมณฑลก่อน จึงแสดงอาบัติตก)
        หมายเหตุ : ข้อความทั้งหมดในวงเล็บ เป็นข้อความที่เรียบเรียงเพิ่มเติมไว้ในฉบับ ร.ศ. ๑๒๘

สิกขาบทที่ ๓.
ว่าเราจักนุ่งห่มให้เป็นปริมณฑล ปกปิดกายด้วยดีตามวิธีที่กล่าวแล้ว เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๔.
ว่าเราจักนุ่งห่มปกปิดกายด้วยดี นั่งในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๕.
ว่าเราจักสำรวมด้วยดี ไม่คะนองมือคะนองเท้า เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๖.
ว่าเราจักสำรวมด้วยดี ไม่คะนองมือคะนองเท้า นั่งในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๗.
ว่าเราจัดทอดนัยน์ตาลงดูข้างหน้าเพียงสัก ๔ ศอก ไม่เหลียวซ้ายเหลียวขวา ไม่กลับหลังมาแลดู เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๘.
ว่าเราจักทอดตาแลดูเพียง ๔ ศอกไม่เหม่อเมินสายตาดู นั่งในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๙.
ว่าเราจักไม่เลิกจีวรขึ้นพาดบ่า ให้เห็นสายประคด เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๑๐.
ว่าเราจักไม่เลิกจีวรขึ้นพาดบ่า นั่งในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๑๑.
ว่าเราจักไม่หัวเราะดังคิกคัก เฮฮา เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๑๒.
ว่าเราจักไม่หัวเราะดังคิกคัก เฮฮา นั่งในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๑๓.
ว่าเราจักไม่พูดเสียงดังให้เกินขนาดเสียง เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๑๔.
ว่าเราจักไม่พูดเสียงดังให้เกินขนาดเสียง นั่งในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๑๕.
ว่าเราจักไม่โยกโคลงกาย เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๑๖.
ว่าเราจักไม่โยกโคลงกาย นั่งในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๑๗.
ว่าเราจักไม่กรีดกรายแขน เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๑๘.
ว่าเราจักไม่กรีดกรายแขน นั่งในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๑๙.
ว่าเราจักไม่โคลงศีรษะ กลอกหน้า เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๒๐.
ว่าเราจักไม่โคลงศีรษะ กลอกหน้า นั่งในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๒๑.
ว่าเราจักไม่เท้าสะเอว เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๒๒.
ว่าเราจักไม่เท้าแขน นั่งในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๒๓.
ว่าเราจักไม่คลุมศีรษะ เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๒๔.
ว่าเราจักไม่คลุมศีรษะ นั่งในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๒๕.
ว่าเราจักไม่เขย่งเท้า เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๒๖.
ว่าเราจักไม่รัดเข่าด้วยมือหรือผ้า นั่งในถิ่นบ้าน

ให้ภิกษุพึงสำเหนียกนึกหมายไว้ตามกิจ เป็นสารูปแก่สมณะทั้ง ๒๖ อย่างนี้
ถ้าผิดจากนี้ต้องอาบัติทุกกฏ

จบสารูป ๒๖ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗


วันศุกร์

ปาฎิเทสนียะ ๔

ปาฎิเทสนียะ ๔ สิกขาบท

๑. สิกขาบทที่หนึ่ง
ความว่า ภิกษุพึงรับของเคี้ยวของฉันด้วยมือตน แต่มือนางภิกษุณีอันมิใช่ญาติอันเข้าไปในละแวกบ้าน นำมาเคี้ยวฉันกลืนให้ล่วงลำคอลงไป ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ภิกษุนั้นพึงแสดงอาบัติแก่ภิกษุว่า “คารยุหํอาวุโส ธมฺมํ อาปชฺชึ อสปฺปายํ ปาฏิเทสนียํ ตํ ปฏิเทเสมิ” ความว่า “ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้า
ต้องแล้วซึ่งอาบัติธรรม อันพระพุทธเจ้าจึงติเตียนเป็นธรรมไม่ให้มีความสบาย คือจะทำอันตรายแก่สวรรค์และนิพพาน เป็นธรรมชื่อว่า ปาฏิเทสนียะ ควรที่ภิกษุผู้ต้องพึ่งแสดงให้เป็นปกติบริสุทธิ์ด้วยเทศนา ข้าพเจ้าขอแสดงให้เป็นปกติ ซึ่งอาบัติธรรมนั้น”

๒. สิกขาบทที่สอง
ความว่า ภิกษุมากหลายรูปด้วยกัน มีทายกนิมนต์ฉันในตระกูล ถ้าแลมีนางภิกษุณีเข้าไปตักเตือนทายกให้เอาแกงข้าวสุกของฉันไปแถมไปเติมตามภิกษุที่คุ้นเคยกัน ให้ภิกษุทั้งหลายนั้นจึงดุรุกรานขับนางภิกษุณีนั้นเสียว่า “ไม่ใช่กิจของท่าน ท่านจงหลีกถอยไปเสียให้พ้นก่อน กว่าภิกษุทั้งหลายจะฉันอิ่ม” ถ้าไม่มีภิกษุแต่สักรูปหนึ่งอาจดุขับนางภิกษุณีนั้นเสียได้ เพิกเฉยเสียสิ้น ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะสิ้นทุกรูปด้วยกัน ภิกษุหมู่นั้นพึงแสดงอาบัติแก่ภิกษุโดยวิธีดังกล่าวมาแล้ว เปลี่ยนบทกิริยาเป็นพหูพจน์ว่า “อาปซุชิมหา ปฏิเทเสม” เท่านี้

๓. สิกขาบทที่สาม
ความว่า ตระกูลเสกขบุคคลคือ โสดาบันแลสกิทาคามีที่พระสงฆ์สมมติห้ามไว้ ไม่ได้นิมนต์ไว้ก่อน แล้วเข้าไปรับบิณฑบาตไม่ได้ ภิกษุมิได้เจ็บไข้ ตระกูลนั้นก็หาได้นิมนต์ไว้แต่ก่อนไม่ เข้าไปรับของเคี้ยวของฉันด้วยมือตนเองแล้ว ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
(อธิบายสิกขาบทนี้เพิ่มเติม - ตระกูลผู้เป็นเสกขบุคคลจะเป็นผู้ทำทานโดยไม่สนใจว่าตนเองจะหมดเนื้อหมดตัว พระพุทธองค์ทรงมีเมตตา จึงสั่งห้ามไม่ให้ภิกษุเดินผ่านหน้าบ้านเพื่อรับไทยทาน เว้นแต่จะได้รับกิจนิมนต์ เพื่อที่จะไม่เป็นการรบกวนการใช้ชีวิตในเพศคฤหัสถ์ของตระกูลที่เป็นเสกขบุคคลจนเกินไป)

๔. สิกขาบทที่สี่
ความว่า เสนาสนะมีอยู่ในป่า คือที่ไกลแต่บ้านไปได้ชั่ว ๒๕ เส้น เป็นที่เล่าลือว่า มีความรังเกียจด้วยการจะไปมา มีภัยเฉพาะหน้า คือมีโจรร้ายคอยตีชิงแลเข้าซ่องสุมซุ่มซ่อนอยู่ใกล้อาราม ภิกษุอยู่ในเสนาสนะเห็นปานนั้น ทายกมิได้มาสู่หาบอกเล่า🔎เผดียง(๗๕) ไว้ให้รู้ก่อน ได้นำขาทนียโภชนียะคือของเคี้ยวของฉัน
ยาวกาลิกมาถวายถึงภายในอาราม ภิกษุไม่เป็นไข้รับด้วยมือตนเอง แล้วจึงฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ

จบปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบทเท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗

ราชวรรคที่ ๙

ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท จัดเป็น ๙ วรรค

        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)

ราชวรรคที่ ๙ มี ๑๐ สิกขาบท ดังนี้
๑. อันเตปุรสิกขาบท
ความว่า ภิกษุอันไปยังราชตระกูลพระมหากษัตริย์อันทรงราชาภิเษกแล้ว เดินตรงย่างก้าวล่วงธรณีพระทวารเข้าไปในตำหนักที่พระบรรทม เวลาเสด็จอยู่กับนางกษัตริย์รัตนมเหสี พระราชเทวียังมิได้ออกที่เฝ้า ณ ภายใน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๒. รัตนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้เห็นของ ๆ คฤหัสถ์เจ้าของลืมไว้ หรือตกอยู่ที่นอกอารามเขตวัดหรือนอกอาวาสเขตที่พักที่แรม จะเป็นเพชร พลอย ทอง เงิน รูปพรรณต่าง ๆ ที่นับว่ารัตนก็ดี สิ่งที่เป็นที่ยินดีควรเก็บงำสงวนไว้ ตั้งแต่มีดพร้าเป็นต้นไป นับว่ารัตนสมมติก็ดี จึงเก็บเอามาเองหรือให้ผู้อื่นเก็บมารักษาไว้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นแต่ตกอยู่ในอาราม ในอาวาส ของที่ตกอยู่ในอารามหรืออาวาสนั้น ภิกษุได้พบเห็นแล้วจึงเก็บเองหรือให้ผู้อื่นเก็บไว้ ด้วยสันนิษฐานเข้าใจว่าจะเป็นของ ๆ ใคร เจ้าของจะมาเอาไป อันนี้เป็นวัตรปฏิบัติสมควรถ้าไม่เก็บเอามารักษาไว้ ต้องอาบัติวัตตเภททุกกฏ

๓. วิกาลคามปเวสนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุมีกิจที่จะไปบ้านในเวลาตั้งแต่ล่วงเที่ยงวันไปจนรุ่งเช้า เพื่อนภิกษุมีอยู่ มิได้อำลาบอกเล่าให้รู้ก่อน เข้าไปในบ้านในเวลาวิกาล ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นแต่เป็นการรีบด่วนที่ควรจะพึงไป

๔. สูจิฆรสิกขาบท
ความว่า ภิกษุกระทำเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำซึ่งกล่องสำหรับใส่เข็มให้แล้ว ไปด้วยกระดูก ๑ งาช้าง ๑ เขาหรือนอ ๑ พอทำเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ มีอันทำลายเสียเป็นวินัยกรรม ถ้ายังมิได้ทำลายเสียก่อน สำแดงอาบัติไม่ตก ถ้าเป็นของผู้อื่นให้ ภิกษุเอามาใส่เข็มเมื่อใด ต้องอาบัติปาจิตตีย์เมื่อนั้น ถ้าภิกษุทำให้ผู้อื่น เป็นอาบัติทุกกฏ

๕. มัญจสิกขาบท
ความว่า ภิกษุจะให้ทำเตียงหรือตั้งขึ้นใหม่ จึงทำให้มีเท้าสูงประมาณ ๘ นิ้วพระสุคต (๑๐ นิ้ว ๓ กระเบียดช่างไม้) แม่แคร่รองเชิงข้างล่างต่างหาก วัดแต่พื้นแม่แคร่ขึ้นไปถึงพื้นเตียงเป็นประมาณ ถ้าสูงกว่า ๕ นิ้วพระสุคตเจ้าขึ้นไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตัดรอนให้ต่ำลงมาตามประมาณก่อน จึงแสดงอาบัติได้

๖. ตุโลนัทธสิกขาบท
ความว่า ภิกษุพึงให้ทำเตียงหรือสั่งหุ้มพื้นด้วยปกผ้าลาดคลุมไว้เบื้องบน พอทำเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เลิกรื้อนุ่นขึ้นเสียให้หมดก่อน จึงแสดงอาบัติได้

๗. นีสีทนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุจะให้ทำผ้านิสีทนะ คือผ้าสำหรับปูนั่ง จึงทำให้พอประมาณ คือ ยาว ๒ คืบ กว้างคืบครึ่ง ชายยาวคืบหนึ่งฉีก ๓ แฉก ติดต่อเข้าตามผืน วัดตามขนาดคืบพระสุคตเจ้า (คือ ยาว ๑ ศอก ๕ นิ้ว ๑ กระเบียด กว้าง ๑ ศอก ๓ อนุกระเบียด ชาย ๑ คืบ ๔ นิ้ว ๒ อนุกระเบียดช่างไม้) ถ้าทำให้กว้างยาวเกินประมาณนี้ พอเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตัดทอนให้ได้ขนาดก่อน จึงแสดงอาบัติได้

๘. กัณฑปฏิจฉาทิสิกขาบท
ความว่า ภิกษุจะให้ทำผ้าสำหรับปิดซับแผลหิด แผลฝี จึงทำให้ต้องด้วยประมาณ คือ ยาว ๔ คืบ กว้าง ๒ คืบตามคืบพระสุคตเจ้า (ยาว ๒ ศอกคืบ ๔ นิ้ว ๒ กระเบียด กว้าง ๑ ศอก ๔ นิ้ว ๑ กระเบียดช่างไม้) ถ้าทำเกินขนาดนี้ไป พอเสร็จต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตัดทอนลงให้ได้ขนาดเสียก่อน จึงแสดงอาบัติได้

๙. วัสสิกสาฎีกสิกขาบท
ความว่า ภิกษุจะให้ทำผ้าสำหรับอาบน้ำฝน จึงทำให้ควรประมาณ คือ ยาว ๖ คืบ กว้าง ๒ คืบครึ่ง ตามขนาดคืบพระสุคตเจ้า (ยาว ๔ ศอก ๓ กระเบียด กว้าง ๑ ศอก ๑ คืบ ๔ นิ้ว ๑ กระเบียด ๑ อนุกระเบียดอย่างช่างไม้) ถ้าทำเกินขนาดนี้ไป พอเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตัดทอนลงให้ได้ขนาดเสียก่อน จึงแสดงอาบัติได้

๑๐. สุคตจีวรสิกขาบท
ความว่า ภิกษุจะให้ทำจีวรยาวกว้างมีประมาณเท่าจีวรพระสุคต หรือเกินขนาดจีวรพระสุคตขึ้นไป พอเสร็จแล้วต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตัดทอนให้หย่อนย่อมลงก่อน จึงแสดงอาบัติได้ ขนาดจีวรพระสุคตนั้นยาว ๙ คืบ กว้าง ๖ คืบ ตามขนาดคืบพระสุคตเจ้า (ยาว ๖ ศอก ๑ นิ้ว ๒ อนุกระเบียด กว้าง ๔ ศอก ๓ กระเบียดช่างไม้) ภิกษุจะทำจีวรห่มพึงให้รู้ประมาณจีวรพระสุคต แล้วทำให้ย่อมลงมา จีวรจึงใช้ได้ ไม่เป็นอาบัติ

จบราชวรรค ๑๐ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗

วันพุธ

สหธัมมิกวรรคที่ ๘

ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท จัดเป็น ๙ วรรค

        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)

สหธัมมิกวรรคที่ ๘ มี ๑๒ สิกขาบท ดังนี้
๑. สหธัมมิกสิกขาบท
ความว่า ภิกษุเป็นคนสอนยาก เมื่อภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวสั่งสอนด้วยพระวินัยสิกขา ตนคิดจะไม่ปฏิบัติก็โต้เถียงต้านทานว่า “ข้าพเจ้ายังไม่ได้ไต่ถามภิกษุอื่น ที่ทรงพระวินัยเป็นผู้รู้เห็นตราบใด ก็จะยังไม่ศึกษาเล่าเรียนในข้อสิกขาบทตราบนั้น” ภิกษุผู้กล่าวโต้เถียงต่อภิกษุทั้งหลายด้วยไม่ปรารถนาสิกขาบท ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุอันรักใคร่ต่อสิกขาบทเมื่อจะศึกษาพระวินัยวัตรพึงให้รู้แจ้งชัด ที่ไม่สันทัดพึงไต่ถาม รู้ความแล้วพึงปรึกษาสอบสวนให้รู้แจ้ง อันนี้แลเป็นวัตรกิจอันควรในพระวินัยสิกขาบท

๒. วิเลขนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุอันไม่เอื้อเฟื้อต่อสิกขาบทเมื่อมีภิกษุแสดงพระปาฏิโมกข์ คือ อ่านเล่าท่องสวดแลคัดข้อสิกขาบทขึ้นเจรจาหวังจะให้รู้ข้อปฏิบัติ พึ่งโต้ตอบติเตียนสิกขาบทว่า “จะต้องการอะไรด้วยสิกขาบทเล็กน้อยที่จะยกขึ้นเล่าอ่านเจรจา ไม่เห็นว่าจะเป็นคุณความดีสิ่งใด เพียงแต่จะเป็นโทษที่จะเกิดความรำคาญขุ่นเคืองน้ำใจไม่ให้มีความสุข” ภิกษุติเตียนสิกขาบทด้วยอุบายนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๓. โมหาโรปนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุอันทำกิจผิดเป็นการละเมิดพระพุทธบัญญัติมาแล้ว เมื่อภิกษุได้แสดงพระปาฏิโมกข์อยู่ทุกระยะกึ่งเดือน แกล้งกลบเกลื่อนโทษตนว่าหลงทำความผิด ทำเป็นมารยากล่าวว่า “เราพึ่งรู้ฟังได้ยินได้ฟังเดี๋ยวนี้ว่า ธรรมอันนี้นับเนื่องมาในพระสูตร นับเข้าในพระวินัย เป็นข้อห้ามมาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน” ถ้าว่าภิกษุเหล่าอื่นพึงรู้ว่าเธอองค์นั้น เมื่อแสดงพระปาฏิโมกข์อยู่แต่ก่อนมาก็ได้มานั่งฟังอยู่ถึงสองครั้งสามครั้งมาแล้ว จะว่าให้มากมายไปทำอะไร อันการที่ภิกษุจะพ้นจากอาบัติเพราะไม่รู้นั้นย่อมไม่มี ภิกษุนั้นล่วงสิกขาบทใด ๆ พระวินัยธรพึงปรับอ้างโทษตามบัญญัติในสิกขาบทนั้นๆ แต่โทษที่กล่าววาจาว่าเป็นคนหลง พระสงฆ์จึงยกโทษ🔎โมหาโรปนกรรม(๗๔) เป็นองค์อาบัติยิ่งขึ้นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก จึงติเตียนว่า “ดูก่อนอาวุโส ไม่เป็นลาภมากมายของท่านเสียแล้วเสียทีที่ท่านเกิดมาเป็นมนุษย์ได้พบพระพุทธศาสนา อะไรเล่าเมื่อภิกษุแสดงพระปาฏิโมกข์อยู่ ท่านก็ไม่ได้นำพาจะจดจำใส่ใจไว้บ้างเลย” ให้ภิกษุผู้ฉลาดพึงสวดญัตติทุติยกรรมวาจา ประกาศโทษในท่ามกลางสงฆ์ เมื่อจบกรรมวาจาลงภิกษุนั้นยังทำเป็นว่าหลงอยู่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าแกล้งทำเป็นว่าหลง พระสงฆ์ยังไม่ได้ทำโมหาโรปนกรรมก่อน เป็นแต่อาบัติทุกกฏ

๔. ปหารทานสิกขาบท
ความว่า ภิกษุพึ่งโกรธขัดเคืองต่อภิกษุด้วยกันแล้ว จึงให้ซึ่งประหาร คือตีรันชกต่อย ทุบ ถอง ถีบ เตะ ซัด ขว้าง ตลอดลงมาจนถึงทิ้งกลีบอุบลเป็นที่สุด ให้ถูกต้องกายภิกษุอื่นด้วยความโกรธ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตีผู้อื่นนอกจากภิกษุตลอดลงไปถึงสัตว์เดรัจฉาน ต้องอาบัติทุกกฏ

๕. ตลสัตติกสิกขาบท
ความว่า ภิกษุพึ่งโกรธขัดเคืองต่อภิกษุด้วยกัน แล้วจึงเงือดเงื้อฝ่ามือ หรือเครื่องประหารที่เนื่องอยู่ในมือ ตลอดจนถึงดอกอุบลเป็นที่สุด ให้ภิกษุที่ตนโกรธนั้นตกใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าเลือดเนื้อแก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ

๖. อมูลกสิกขาบท
ความว่า ภิกษุอันเกิดความพิโรธ ริษยา พึ่งตามกำจัด โจทก์หากล่าวโทษภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสส ไม่มีเหตุเดิมที่เป็นเลศอิงอ้างได้ ด้วยหมายใจจะให้ได้ความอับอาย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าโจทก์ด้วยอาบัติอื่น ๆ ต้องอาบัติทุกกฏ

๗. สัญจิจจสิกขาบท
ความว่า ภิกษุคิดหยอกเย้าเพื่อนภิกษุด้วยกัน ให้เกิดความรำคาญไม่สบายใจเล่นสักครู่สักพักหนึ่ง แกล้งตั้งความรังเกียจให้เป็นความร้อนใจ ด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือแกล้งว่าเราเห็นว่าท่านยังไม่ครบ ๒๐ ปีถ้วนในการอุปสมบท หรือว่าท่านฉันเพลในเวลาบ่าย ท่านนั่งในที่ลับกับหญิงเป็นต้น อย่างนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แกล้งว่าสามเณรต้องอาบัติทุกกฏ

๘. อุปัสสุติสิกขาบท
ความว่า ภิกษุทั้งหลายเกิดทะเลาะวิวาทกันอยู่ จึงเข้าไปแอบอ้อมมองคอยฟังความว่า ภิกษุทั้งหลายจะกล่าวทุ่มเถียงด่าทอกันอย่างไร จะให้ได้ยินความนั้นถนัด ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าไม่จำเพาะหน้าตรง ๆ ประสงค์จะระงับความวิวาทไม่เป็นอาบัติ

๙. ขียนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้ให้ฉันทะยินยอมพร้อมใจแก่ภิกษุทั้งหลายอันทำสังฆกรรมเป็นธรรม ต้องตามพระวินัยบัญญัติแล้วภายหลังกลับติเตียนว่ากรรมนั้นไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้ากรรมนั้นไม่เป็นธรรมจริง แม้ติเตียนก็ไม่มีโทษ

๑๐. ปักกมนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุอันมาประชุมด้วยสงฆ์ในหมู่สงฆ์แล้ว เมื่อมีกิจวินัยบัญญัติอยู่ยังมิทันเสร็จ หรือเวลาสวดญัตติไม่ทันจบ ไม่ได้ให้ฉันทะแก่สงฆ์ลุกขึ้นหลีกหนี้ไปเสียเฉย ๆ ทำให้สังฆกรรมกำเริบ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๑๑. จีวรทานขียนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้มาประชุมด้วยสงฆ์บอกกล่าวพร้อมเพรียงกัน ยกจีวรลาภที่เกิดขึ้นแก่สงฆ์ออกให้แก่ภิกษุที่รับธุระสงฆ์แล้ว ภายหลังกลับติเตียนยกโทษว่า ภิกษุทั้งหลายน้อมนำจีวรลาภของสงฆ์ไปให้ตามมิตรตามสหาย ภิกษุผู้ติเตียนต้องอาบัติปาจิตจีย์ ถ้าติเตียนในลาภสิ่งอื่นที่ควรแจกนอกจากจีวร เป็นอาบัติทุกกฏ

๑๒. ปุคคลปริณามนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุเมื่อรู้ว่าลาภที่ทายกตั้งจิตจะอุทิศถวายแด่สงฆ์ ไปชักโยงให้แก่บุคคล คือจำเพาะตัวภิกษุเสีย ต้องอาบัติปาจิตตีย์

จบสหธัมมิกวรรค ๑๒ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗

สัปปาณวรรคที่ ๗

ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท จัดเป็น ๙ วรรค

        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)

สัปปาณวรรคที่ ๗ มี ๑๐ สิกขาบท ดังนี้
๑. สัญจิจจปาณสิกขาบท
ความว่า ภิกษุแกล้งฆ่าสัตว์ดิรัจฉานให้ตายลงด้วยตามเจตนา ไม่เลือกว่าสัตว์เล็กใหญ่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์โดยโทษนี้ล่วงพระพุทธบัญญัติ แต่จะมีโทษน้อยมากนั้นเป็นตามโทษที่โลกจะพึงเว้นโดยธรรมดา

๒. สัปปาณสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้รู้เห็นหรือรังเกียจว่าน้ำมีตัวสัตว์เป็น ก็มิได้กรองให้บริสุทธิ์ก่อน ฝ่าฝืนบริโภคบ้วนปากล้างหน้า เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๓. อุกโกฏนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุรู้ว่าสังฆกรรมมีอธิกรณ์ อันพระสงฆ์ได้ชำระเสร็จแล้วโดยเป็นธรรมและมาเลิกถอนกรรมนั้นเสีย โต้แย้งว่าพระสงฆ์ทำไม่เป็นธรรม เพื่อจะทำใหม่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๔. ทุฏฐลลปฏิจฉาทสิกขาบท
ความว่า ภิกษุเมื่อรู้อาบัติชั่วหยาบของภิกษุอยู่เต็มใจ คือรู้ว่าภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว ช่วยคิดปิดบัง เอื้อนอำอาบัติของภิกษุนั้นไว้ไม่ให้แพร่งพราย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุฏฐุลลาบัติในสิกขาบทนี้ เฉพาะแต่สังฆาทิเสสอย่างเดียว

๕. อนวีสติสิกขาบท
ความว่า ภิกษุเมื่อรู้ว่ากุลบุตรมีอายุยังไม่ครบ ๒๐ ปี ทั้งนับในครรภ์และให้อุปสมบท ยกเป็นภิกษุขึ้นด้วย🔎ญัตติจตุตถกรรม(๗๑)วาจา พระอุปัชฌาย์ต้องอาบัติปาจิตตีย์ พระอาจารย์ผู้สวดกรรมวาจา ทั้งคณะสงฆ์ต้องอาบัติทุกกฏทุกรูปด้วยกัน ผู้อุปสมบทนั้นก็หาเป็นภิกษุไม่ เป็นแต่เพียงสามเณรเท่านั้น

๖. เถยยสัตถสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้รู้ได้เห็นว่าพวกหมู่โจรที่คอยปล้นตีชิง หรือหมู่พ่อค้าจะบังของต้องห้ามข้ามด่านข้าม🔎ขนอน(๗๒)รู้ว่าเป็นคนร้ายอยู่เต็มใจและได้ชักชวนพวกโจรหรือพ่อค้านั้นเป็นเพื่อนเดินทางไกลไปด้วยกัน พอล่วงระยะบ้านหนึ่งเป็นที่สุด ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๗. มาตุคามสังวิธานสิกขาบท
ความว่า ภิกษุชักชวนมาตุคามหรือหญิงมนุษย์เป็นเพื่อนเดินทางไกลไปด้วยกัน พอล่วงระยะบ้านหนึ่งเป็นที่สุด ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๘. อริฏฐสิกขาบท
ความว่า ภิกษุเกิดทิฏฐิผิดคิดเห็น🔎วิปลาส(๗๓) พึงติเตียนพระพุทธศาสนา “ธรรมวินัยเหล่าใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นธรรม ทำอันตรายแก่ผู้ที่ต้องเสพ โดยที่จริงธรรมวินัยเหล่านั้นไม่ทำอันตรายแก่ใครได้ หาเป็นจริงดังพระองค์ตรัสไว้ไม่” เมื่อเธอมีทิฏฐิผิดกล่าวตู่พระพุทธเจ้าดังนี้ ภิกษุทั้งหลายพึงทักท้วงว่ากล่าวสั่งสอน จะให้ละความที่ถือผิดนั้นเสีย ยังกล่าวแข็งขึ้นดื้อดึงอยู่อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลายพึ่งพาไปยังท่ามกลางสงฆ์ แล้วสวดสมนุภาสน์ประกาศโทษจนจบกรรมวาจาที่ ๓ ลง ถ้าเธอยังไม่ละความถือผิดนั้น
เสียได้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๙. อุกจิตตสัมโภคสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้รู้เห็นว่าภิกษุอันกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า พระสงฆ์ได้สวดสมนุภาสน์ ประกาศโทษแล้ว ยังหาละทิฏฐิผิดเสียไม่ก็สมโภคคบหาร่วมกินร่วมอาวาสอยู่หลับนอนด้วยกัน ภิกษุผู้คบนั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์

๑๐. นาสิตสิกขาบท
ความว่า สมณเทศ คือสามเณรอันจวนจะได้อุปสมบท หากกล่าวติเตียนพระพุทธวจนะ ดังที่ภิกษุกล่าวแล้วในสิกขาบทที่ ๘ นั้น ภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวสั่งสอนแล้ว ก็ยังหาละทิฏฐินั้นเสียไม่ จึงให้ฉิบหายเสียจากเพศสมณะขับไล่ไปเสียแล้ว ภิกษุรูปใด เมื่อรู้แล้วก็ยังชักโขงเล้าโลมสมณเทศนั้นมาไว้ให้ปฏิบัติอยู่กินหลับนอนในสำนักตน ภิกษุนั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์

จบสัปปาณวรรค ๑๐ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗