วันอังคาร

โภชนวรรคที่ ๔

ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท จัดเป็น ๙ วรรค

        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)

โภชนวรรคที่ ๔ มี ๑๐ สิกขาบท ดังนี้
๑. โภชนสิกขาบท
ความว่า โภชนะของกินทายก
ตั้งไว้ในโรงทาน อุทิศทั่วไปแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์มิได้เลือกหน้า ภิกษุไม่เป็นไข้ยังจะเดินทางไปถึงกึ่งโยชน์ได้ พึงฉันได้แต่เพียงวันเดียว ถ้าไปฉันเรียงวันเป็นสองวันต้องอาบัติปาจิตตีย์

๒. คณโภชนสิกขาบท
ความว่า ทายกไปนิมนต์
ภิกษุในอาวาสเดียวกันตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ออกชื่อโภชนะว่า นิมนต์ไปกินข้าว กินเนื้อ กินปลา หรือนิมนต์ด้วยภาษาต่าง ๆ ซึ่งเป็นโวหารคฤหัสถ์ ภิกษุไปรับโภชนะนั้นมาฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่สมัย ๗ ประการคือ
        เป็นไข้ ๑
        อยู่จำพรรษาแล้ว ตั้งแต่ออกพรรษาจน
ถึงเพ็ญเดือนสิบสอง ๑
        กรานกฐินแล้วไปถึงเพ็ญเดือน
สี่ ๑
        เดินทางไกลตั้งแต่กึ่งโยชน์ขึ้นไป ๑
        ไปทางเรือ ๑
        เป็นคราวประชุมใหญ่ ๑
        เป็นคราวสมณะต่างพวกต่าง
หมู่มานิมนต์ ๑
ถ้าได้ ๗ สมัยนี้แต่อย่างหนึ่งอย่างใด
ฉันได้ ไม่มีโทษ

๓. ปรัมปรโภชนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุรับนิมนต์
ฉันเช้าของทายกไว้แล้ว รุ่งเช้าฉันโภชนะอื่น ๆ เสียก่อนแล้วจึงไปฉันที่นิมนต์นั้นต่อภายหลัง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่สมัย ๓ ประการ คือ
        เป็นไข้ ๑
        จำพรรษาแล้ว
คุ้มได้หนึ่งเดือน ๑
        กรานกฐินแล้วคุ้มได้สี่เดือน ๑

๔. กาณมาตาสิกขาบท
ความว่า ภิกษุไปเที่ยว
บิณฑบาต มีตระกูลทายกชายหญิงนำเอาขนมหรือข้าวสัตตุของกินต่าง ๆ อันทำไว้เพื่อเป็นเสบียงหรือเป็นของฝากมาปวารณาถวายให้พอตามประสงค์ ภิกษุพึงรับได้เพียงเต็ม ๓ บาตร พอเสมอขอบบาตร อย่าให้พูนล้นขอบปากบาตรขึ้นไป ถ้ารับเกิน ๓ บาตรแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้ารับถึง ๓ บาตร นำมาแล้วจึงเอาไว้เป็นของตนแต่บาตรเดียว เหลือนั้นแจกเฉลี่ยไปให้ทั่วแก่ภิกษุ ถ้าไม่แบ่งปัน ต้องวัตตเภททุกกฏ

๕. ปวาริตสิกขาบท
ความว่า ภิกษุฉันโภชนะ
สิ่งหนึ่งสิ่งใดค้างอยู่ มีทายกนำเอาสิ่งของมาเพิ่มเติม ถ้าห้ามว่าพอแล้วดังนี้ ก็เป็นอันชื่อว่าห้ามภัตรแล้ว เมื่อลุกขึ้นพ้นจากที่นั่งฉันไปแล้ว ฉันไม่ได้อีกในวันนี้ ถ้าฉันโภชนะสิ่งใดสิ่งหนึ่งอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๖. ทุติยปวารณาสิกขาบท
ความว่า ภิกษุรู้ว่าภิกษุ
อื่นฉันโภชนะแล้ว ห้ามภัตรแล้ว คิดจะติเตียนยกโทษโจทก์ด้วยอาบัติ แกล้งเอาขนมของกินหรือข้าวสุกมาปวารณาแค่นขึ้นให้ฉันอีก ภิกษุนั้นฉันอีกเมื่อไร ภิกษุผู้แค่นขึ้นให้ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๗. วิกาลโภชนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุฉันโภชนะ
และขนมของฉันต่าง ๆ ในวิกาล คือเวลาล่วงเที่ยงวันไปจนรุ่งอรุณ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สิกขาบทนี้เป็น🔎อจิตตกะ(๖๗) ถ้าล่วงเวลาถึงไม่แกล้งฉันก็ไม่พ้นโทษ เมล็ดข้าวสุก ชิ้นเนื้อ ชิ้นปลาติดฟันถึงเวลาบ่าย รสข้าวสุกของกินนั้นจะระคนด้วยเขฬะกลืนล่วงลำคอลงไป คงเป็นวิกาลโภชนะ ฉันแล้วจึงให้ชำระบ้วนปากแยงฟันเสีย อย่าให้มีอามิสติดค้างอยู่ได้จนกว่าเวลาบ่าย จึงจะควร

๘. สันนิธิการกสิกขาบท
ความว่า ภิกษุรับโภชนะ
ขนมของฉันต่าง ๆ เก็บงำไว้ฉันวันหน้าต่อไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๙. ปณีตโภชนสิกขาบท
ความว่า โภชนะของฉัน
อันประณีต คือเนยใส เนยข้น น้ำมันลูกไม้และน้ำมันเปลวสัตว์ น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ น้ำนมสด และน้ำนมส้ม ๙ สิ่งนี้ภิกษุมิได้เจ็บไข้ไปเที่ยวขอมาได้แต่มิใช่
ญาติ มิใช่ปวารณา เอามาฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่ขอของฉันนอกจาก ๙ สิ่งนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ

๑๐. ทันตโปณสิกขาบท
ความว่า ของฉันสิ้น
ทุกสิ่ง ยกเสียแต่น้ำที่กรองแล้ว ไม่เจือด้วยอามิสและไม้สีฟันเท่านั้น ของทั้งปวงถ้าคฤหัสถ์หรือสามเณรมิได้ประเคนให้ เมื่อกลืนล่วงลำคอลงไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้ายังมิได้ประเคน ภิกษุจับต้องเสียแล้ว ถึงประเคนใหม่ก็ไม่ขึ้น คงเป็นอาบัติ ถ้าจะรับประเคนก็พึงรับประเคนในหัตถบาส คือผู้ประเคนจดศอกหรือเข่ามาถวายภายในศอกคืบ จึงเป็นอันรับประเคน ถ้าห่างออกจากศอกคืบออกไป ภิกษุรับจับต้องแล้วเอามาประเคนใหม่ ก็เป็นอุคคหิตคือประเคนไม่ขึ้น ฉัน เป็นอาบัติปาจิตตีย์ (น้ำกรองแล้ว ถ้าไม่มีฝาปิด ผงลงได้ ก็ต้องประเคนใหม่ เพราะผงก็เป็นอามิส แต่ต้องเป็นน้ำที่ภิกษุกรองเอง ของเคี้ยวของฉันที่ไม่มีฝาปิด ผงลงได้ รับประเคนไว้แล้วลุกห่างไปศอกคืบ ต้องประเคนใหม่ ถ้ามีภิกษุนั่งอยู่ในหัตถบาสคุ้มได้)

หมายเหตุ : ข้อความในวงเล็บ เป็นข้อความที่เรียบเรียงเพิ่มเติมไว้ในฉบับ ร.ศ. ๑๒๘

จบโภชนวรรค ๑๐ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗

ภิกขุโนวาทวรรคที่ ๓

ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท จัดเป็น ๙ วรรค

        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)

ภิกขุโนวาทวรรคที่ ๓ มี ๑๐ สิกขาบท ดังนี้
๑. โอวาทสิกขาบท
ความว่า ภิกษุที่สงฆ์ไม่สมมติ
ไว้ให้สอนนางภิกษุณี พึงละเมิดบังคับสั่งสอนนางภิกษุณีด้วย
🔎ครุธรรม(๖๕) ๘ ประการ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าสอนด้วยธรรมสิ่งอื่นจากครุธรรม เป็นแต่อาบัติทุกกฏ

๒. สมมติสิกขาบท
ความว่า ภิกษุที่สงฆ์สมมติ
ไว้ให้สอนนางภิกษุณีแล้ว ถ้าสอนนางภิกษุณีเวลาพระอาทิตย์อัสดงพลบค่ำไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๓. อุปัสสยสิกขาบท
ความว่า ภิกษุที่สงฆ์สมมติ
แล้ว แลไปสอนนางภิกษุณีถึงอาราม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่นางภิกษุณีเป็นไข้ จึงไปสอนถึงอารามได้

๔. อามิสสิกขาบท
ความว่า ภิกษุอันริษยา
เสแสร้งแกล้งนินทากล่าวร้ายว่า ภิกษุทั้งหลายสอนนางภิกษุณีเพราะเห็นแก่🔎
อามิส(๖๖) ลาภสักการะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าสำคัญในใจว่าจริงไม่แกล้งติเตียน หรือภิกษุผู้สอนเห็นแก่ลาภจริง ถึงจะติเตียนก็ไม่มีโทษ

๕. จีวรทานสิกขาบท
ความว่า ภิกษุให้จีวรของ
ตนแก่นางภิกษุณีที่มิใช่ญาติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน ไม่มีโทษ

๖. จีวรสิพพนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุพึ่งเย็บเอง
หรือใช้ให้ผู้อื่นเย็บจีวรให้แก่นางภิกษุณีอันมิใช่ญาติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๗. อัทธานสิกขาบท
ความว่า ภิกษุกับนางภิกษุณี
ชักชวนกันเดินไปทางเดียวกันในระหว่างบ้านหนึ่ง ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกขณะล่วงระยะบ้านนั้น ๆ เว้นไว้แต่ไปทางไกลเป็นทางประกอบโจรภัย จึงไม่มีโทษที่จะต้องห้าม

๘. นาวาภิรุหนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุกับนาง
ภิกษุณีชักชวนกันไปเรือลำเดียวกัน ขึ้นล่องตามลำแม่น้ำลำคลอง ทางใต้น้ำ เหนือน้ำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ข้ามฟากไม่มีโทษ

๙. ปริปาจนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุรู้อยู่ว่า
บิณฑบาตของฉัน อันนางภิกษุณีเที่ยวขอร้อง ชักนำคฤหัสถ์ไปนิมนต์ให้สำเร็จด้วยกำลังตน แลฉันบิณฑบาตนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่คฤหัสถ์เริ่มขึ้นก่อนถ้าสิ่งของที่ภิกษุหรือสามเณรร้องบอก เป็นแต่อาบัติทุกกฏ

๑๐. รโหนิสัชชสิกขาบท
ความว่า ภิกษุกับภิกษุณี 
ตัวต่อตัวเป็นสองด้วยกัน นั่งในที่ลับตามีฝาแลม่านกั้นเป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์

จบภิกขุโนวาทวรรค ๑๐ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗

วันศุกร์

ภูตคามวรรคที่ ๒

ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท จัดเป็น ๙ วรรค

        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)

ภูตคามวรรคที่ ๒ มี ๑๐ สิกขาบท ดังนี้
๑. ภูตคามสิกขาบท
ความว่า พืชพรรณที่งอกงามขึ้นในดินในน้ำ คือ ต้นไม้ กอไม้ เถาวัลย์ กอหญ้า กอบัวสาย สาหร่าย จอก แหน เป็นต้น ชื่อว่าภูตคาม ภิกษุ ตัด ฟัน ถาก ถอน เด็ด ฉีก ยกขึ้นพ้นจากพื้นที่เกิด ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่พืชที่จะงอกได้ คือพืชที่ตัดและขุดขึ้นพ้นที่เกิดมาแล้วแต่ยังสดอยู่ และรากเหง้าหัวเมล็ดในยังจะงอกได้ต่อไป ชื่อว่าพืชคาม ภิกษุทำลายให้สูญพืชต้องอาบัติทุกกฏ

๒. อัญญวาทสิกขาบท
ความว่า ภิกษุแกล้งทำมารยา เมื่อพระสงฆ์ถามด้วยอาบัติแล้ว ก็กล่าวถ้อยคำอื่นกลบเกลื่อนเลือนเลอะเสีย หรือนิ่งเสียทำเป็นไม่ได้ยินไม่บอกกล่าวตามความจริง ให้พระสงฆ์เกิดความลำบากรำคาญใจ จนพระสงฆ์ต้องสวดบอกโทษเมื่อไร ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๓. อุชฌาปนกสิกขาบท
ความว่า ภิกษุแกล้งโพนทะนาติเตียนใส่โทษที่ไม่จริง แก่ภิกษุอันสงฆ์สมมติไว้ให้แจกของสงฆ์ของคณะให้ภิกษุอื่นได้ยิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าติเตียนตามโทษที่ได้รู้ได้เห็นตามจริง ไม่เป็นอาบัติ

๔. สังฆกเสนาสนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้ยกขนเตียง ตั้ง ฟูก เบาะ เก้าอี้ อันเป็นของสงฆ์ไปตั้งไว้ในที่แจ้งด้วยตน หรือใช้ให้ผู้อื่นก็ดี เมื่อจะไปจากที่นั้น ก็มิได้ยกขนเอาไปไว้ดังเก่า และมิได้บอกกล่าวมอบหมายไว้ธุระแก่ท่านผู้หนึ่งผู้ใด พอไปพ้นอุปจารที่นั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๕. ทุติยเสนาสนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุหยิบยกเครื่องปูนอนในเสนาสนะของสงฆ์ไปปูลาดเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นเอาไปปูลาดก็ดี เมื่อจะไปจากเสนาสนะนั้นก็มิได้เอาไว้ตามที่เดิม หรือมิได้มอบหมายไว้ธุระแก่ใครหลีกไป พอพ้นอุปจารเสนาสนะนั้นแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๖. อนูปขัชชสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้รู้ว่าภิกษุอื่นเข้าไปอยู่ในเสนาสนะของสงฆ์ก่อนแล้ว แกล้งริษยาไม่ให้อยู่ ได้เข้าไปนั่งนอนเบียดเสียดในที่ใกล้ภายใน ๒ ศอกคืบ หรือขนเอาเตียงตั้งไปตั้งที่ริมทวารเข้าออก ด้วยจะให้คับแคบใจจนอยู่ไม่ได้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๗. นิกกัฑฒนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้ขึงโกรธน้อยใจต่อภิกษุและขับไล่ ฉุดคร่า ผลักไสให้ไปจากเสนาสนะของสงฆ์ หรือใช้ให้ผู้อื่นขับไล่ก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๘. เวหาสกุฎีสิกขาบท
ความว่า กุฏิมีพื้นชั้นบนเป็นที่แจ้ง ไม่มีหลังคา ยังไม่ได้เรียบ พื้นล่างเป็นที่อาศัยเดินไปมาได้ เตียงตั้งตั้งติดพื้นไว้ไม่มีลิ่มสลักตรึงกับแม่แคร่ไว้ ภิกษุมานั่งนอนทับลง ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๙. มหัลลกสิกขาบท
ความว่า ภิกษุจะทำเองหรือใช้ให้ผู้อื่นทำวิหารที่อยู่ให้กว้างใหญ่ หวังจะอยู่เอง มีทายกเป็นเจ้าของจะสร้างถวาย พึงตั้งลงในที่นาของเขา จึงโบกทาให้หนาได้ แต่ที่กรอบเช็ดหน้าประตูและหน้าต่างออกไปข้างละ ๒ คืบ เพื่อจะให้ใบตาลและลิ่มสลักมั่นคง พึงมุงโบกทาเองได้เพียงสองชั้นสองหน ถ้ามุงโบกทามากกว่าสองชั้นสองหนขึ้นไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าใกล้ที่ไร่นาต้องอาบัติทุกกฏด้วย

๑๐. สัปปาณกสิกขาบท
ความว่า ภิกษุอันรู้เห็นหรือรังเกียจอยู่ว่า น้ำมีตัวสัตว์เป็นอยู่ แล้วแกล้งตักรดหญ้ารดดินลง หรือใช้ให้ผู้อื่นรดก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์

จบภูตคามวรรค ๑๐ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗

มุสาวรรคที่ ๑

ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท จัดเป็น ๙ วรรค

        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)

มุสาวรรคที่ ๑ มี ๑๐ สิกขาบท ดังนี้
๑. มุสาวาทสิกขาบท
ความว่า ภิกษุรู้แน่แก่ใจแล้วแกล้งเจรจา โป้ปด สิ่งที่ไม่มีว่ามี สิ่งที่มีว่าไม่มี อย่างนี้เป็นต้น ให้ผู้อื่นเชื่อถือว่าจริง ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๒. โอมสวาทสิกขาบท
ความว่า ภิกษุด่าทอ เสียดสี จี้ไชต่อหน้าภิกษุให้เจ็บใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๓. เปสุญญวาทสิกขาบท
ความว่า ภิกษุยุยงส่อเสียดภิกษุต่อภิกษุ ด้วยคำด่าทอให้แตกร้าวจากกันและกัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๔. ปทโสธัมมสิกขาบท
ความว่า ภิกษุสวดบทธรรม คือบาลีและคาถารวมเสียงเดียวกับอนุปสัมบันคือสามเณรและคฤหัสถ์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกขณะระยะบทบาลี แลบทแห่งธรรมคาถานั้น ๆ

๕. สหเสยยสิกขาบท
ความว่า ภิกษุนอนร่วมกับอนุปสัมบัน คือสามเณรและคฤหัสถ์ภายในเสนาสนะ มีที่มุงและที่บังอันเดียวกันยิ่งกว่า ๓ ราตรี ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คือนอนร่วมกัน ๓ ราตรีแล้ว ถึงคืนที่ ๔ เข้าเมื่อไร ตั้งแต่เวลาพลบไป เอนกายลงนอนร่วมอีก ก็ต้องอาบัติทุกขณะที่นอนลง ถ้าภิกษุจะรักษาให้พ้นอาบัติ ถึงคืนที่ ๓ จวนรุ่งอรุณให้ออกจากเสนาสนะนั้นเสีย หรือลุกขึ้นนั่งเสีย อย่านอนจนสว่าง แล้วก็ตั้งต้นนอนได้อีก ๒ คืนต่อไป เป็น
ระยะตั้งไว้ดังนี้ จึงจะพ้นอาบัติ

ที่เรียกว่า อนุปสัมบันในสิกขาบทนี้ ท่านกล่าวว่ามนุษย์ผู้ชายตั้งแต่สามเณรและคฤหัสถ์ผู้ชายลงไปจนถึง
สัตว์เดรัจฉานตัวผู้ มีแมว จังกวด พังพอนและนกพิราบเป็นต้น แต่บรรดาสัตว์ที่มีช่องปากเป็นที่ตั้งเมถุน ได้ชื่อว่าอนุปสัมบันทั้งสิ้น เสนาสนะที่จะเป็นสหเสยยะนั้น คือเสนาสนะที่ร่วมหลังคากัน ถึงจะมีฝากั้นห้อง แต่ว่ามีช่องไปมาหากันได้ ก็เป็นสหเสยยะ ถ้ามีหลังคาเดียวกันแต่ต่างห้องกัน คือไม่มีช่องที่จะไปมาในภายในได้เฉพาะต้องออกนอกชายคาจึงจะเข้าไปห้องอื่นได้ ก็ไม่เป็นสหเสยยะ ถึงพื้นหลายชั้นไม่มีช่องที่จะใช้ขึ้นใช้ลงข้างในได้ ต้องออกพ้นชายคา แล้วจึงเข้าไปในห้องชั้นในอื่นได้ก็เหมือนกัน เป็นอันไม่เกิดอาบัติ นอนร่วมสัตว์เดรัจฉานตัวผู้ยิ่งกว่า ๓ คืน เป็นแต่ต้องอาบัติทุกกฏ ว่าไว้เป็นกำหนดเท่านี้

๖. ทุติยสหเสยยสิกขาบท
ความว่า ภิกษุนอนร่วมมาตุคาม คือหญิงมนุษย์ในเสนาสนะดังกล่าวแต่เวลาพลบค่ำไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกขณะเอนกายนอน ถ้านอนร่วมสัตว์เดรัจฉานตัวเมียในราตรี ต้องอาบัติทุกกฏ

๗. ธัมมเทสนาสิกขาบท
ความว่า ภิกษุแสดงธรรมแก่มาตุคาม คือหญิงมนุษย์ที่ไม่มีผู้ชายนั่งเป็นเพื่อนด้วยได้เพียง ๖ คำ บาลี ๖ บาท คาถา ๖ ข้อ อัตถาธิบายที่นับว่าวาจาหนึ่ง ๆ ถ้ายิ่งกว่า ๖ คำขึ้นไปต้องอาบัติปาจิตตีย์

๘. ภูตาโรจนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้บรรลุฌานสมาบัติ อภิญญามรรคผล ที่เป็นมหรคตแลโลกุตตระแล้ว แลบอกเล่าแสดงคุณที่มีอยู่ในตนแต่ตามจริงแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๙. ทุฏฐลลาโรจนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุพึงบอกอาบัติชั่วหยาบ คือสังฆาทิเสสของภิกษุอื่นแก่อนุปสัมบันต้องอาบัติปาจิตย์ ยกเสียแต่ภิกษุที่สงฆ์สมมติไว้ให้คอยดูแลบอกเล่าอาบัติของภิกษุอื่น ที่ต้องอาบัติเนือง ๆ จะให้ละอายรู้ระวังตัวต่อไป

๑๐. ปฐวีขนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุขุด แคะ แงะ ง้าง คุ้ย ขีด เขียนแผ่นดิน ด้วยจอบ เสียม มีด ไม้ เล็บมือ เล็บเท้า โดยที่สุดแกล้งถ่ายปัสสาวะให้พุ่งลงเซาะดินให้เป็นรอยแตกละลาย แม้ว่าดินที่ขุดใส่ไว้ในที่ต่าง ๆ ตั้งไว้กลางแจ้ง ฝนตกทับล่วง ๔ เดือนแล้ว ขุดเองหรือบังคับใช้ให้ผู้อื่นขุดก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่จะให้ผู้อื่นขุดโดยเลศ พอให้สังเกตว่า “ท่านจงรู้ที่นี้” ไม่มีโทษ

จบมุสาวาทวรรค ๑๐ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗

ปัตตวรรคที่ ๓

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จัดเป็น ๓ วรรค คือ

จีวรวรรค ๑๐
โกสิยวรรค ๑๐
ปัตตวรรค ๑๐

ปัตตวรรคที่ ๓ มี ๑๐ สิกขาบท
๑. ปัตตสิกขาบท
ความว่า บาตรอันเป็นอติเรก คือบาตรดิน บาตรเหล็กที่ได้มาใหม่ ภิกษุได้รับได้หวงเอาเป็นเจ้าของแล้ว ยังไม่ได้อธิษฐานและวิกัป ก็พึงเก็บไว้ได้ภายใน ๑๐ วัน ถ้าพ้น ๑๐ วันไปแล้ว บาตรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าบาตรอธิษฐานไว้ใช้มีอยู่บาตรหนึ่งแล้วอธิษฐานขึ้นเป็นสองไม่ได้ ถึงจะมากเท่าใดก็ให้วิกัปไว้แก่ภิกษุหรือสามเณร เช่นอติเรกจีวรนั้นเถิด

๒. อูนปัญจพันธนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุมีบาตรดินอันรานร้าว มีที่ผูกยังไม่ถึง ๕ แห่ง คือ มีรอยร้าวยังไม่ถึง ๑๐ นิ้ว ไปแลกเปลี่ยนขอร้องเสาะแสวงขวนขวายหาบาตรใหม่ ได้มา บาตรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าบาตรนั้นร้าวหลายแห่ง ๆ ละ ๒ นิ้ว ๔ นิ้ว ๕ นิ้วบ้าง คิดบรรจบครบ ๑๐ แล้วจะเที่ยวขอก็ควร แต่ต้องขอจากญาติที่ปวารณา ตามพระพุทธานุญาตเถิด

บาตรนิสสัคคีย์นั้น ให้ภิกษุเจ้าของบาตรพึงสละในท่ามกลางสงฆ์ พระสงฆ์ผู้รู้วัตรพึงรับไว้ พระเถรานุ
เถระจึงให้บาตรของตนแลของตนทดแทนทอนกันต่อ ๆ ลงไปตามลำดับพรรษา จนถึงภิกษุบวชใหม่ ภิกษุนั้นจึงเปลี่ยนบาตรของตนให้แก่ภิกษุเจ้าของบาตรนิสสัคคีย์นั้นให้ใช้แทนไปจนกว่าจะแตกทำลาย อันนี้เป็นวัตรชอบตามพระพุทธาธิบาย

๓. ปัญจเภสัชชสิกขาบท
ความว่า ยาที่ภิกษุใช้จะพึงฉัน ๕ อย่าง เนยใส ๑ เนยข้น ๑ น้ำมันลูกไม้หรือเปลวสัตว์ ๑ น้ำผึ้ง ๑ น้ำอ้อย ๑ ภิกษุรับประเคนแล้ว จึงเก็บไว้ฉันได้ ๗ วัน ถ้าฉันไม่หมด พึงสละให้ภิกษุอื่นเสีย อย่าหวงเอาไว้เป็นของตัวให้ล่วง ๗ วันไป ถ้าหวงไว้จนรุ่งขึ้นวันที่ ๘ แล้ว ของนั้นเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์

๔. วัสสิกสาฎีกสิกขาบท
ความว่า ผ้าสำหรับไว้ผลัดอาบน้ำฝน ให้ภิกษุเสาะแสวงหา ขอร้องในที่ญาติและที่ปวารณา อย่าให้เป็นอกตวิญญัติ ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๗ ถึงวันดับ เป็นสมัยที่เที่ยวหาตั้งแต่ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงวันเพ็ญ เป็นสมัยที่ตัดฉีกเย็บย้อม ถึงวันเข้าพรรษาแล้วพึงอธิษฐานไว้ผลัดอาบน้ำ ตลอดถึงวันเพ็ญ เดือน ๑๒ สิ้นฤดูฝน ถ้าหาได้ ทำไม่ทันในการที่ว่ามานี้ จะทำได้เมื่อไร เย็บย้อมแล้วเมื่อใดล้ำเข้ามา ณ ภายในฤดูฝนก็ได้ จึงอธิษฐานไว้อาบน้ำฝนจนสิ้นฤดูตามปรารถนาเถิดไม่ต้องห้าม แต่จะหาจะทำให้ลับล่วงออกไป ฝ่ายข้างขึ้นเดือน ๗ เป็นอันล่วงพระพุทธบัญญัติ ผ้านั้นเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถึงว่าจะขอมาแต่บิดามารดา แต่ตั้งใจว่าจะเอามาไว้ทำผ้าอาบน้ำฝน ก็มิพ้นโทษในสิกขาบทนี้

๕. จีวรัจฉินทนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้ให้จีวรแก่ภิกษุอื่นด้วยตน แต่ให้ด้วยสัญญาว่ายังเป็นของตนเหมือนอย่างให้ยืมนุ่งห่ม ครั้นจึงโกรธเคืองขึ้นมา กลับแย่งยื้อชิงเอาคืนมาเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นชิงมาก็ดี จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถึงบริขารอื่น ๆ ก็อนุโลมเข้าในจีวรเหมือนกัน ถ้าให้ด้วยขาดอาลัยเป็นของภิกษุรับแล้วกลับชิงเอาคืนมานั้น ความปรับปรุงเป็นธุรนิกเขปาวหารตามราคาจีวรนั้น

๖. สุตตวิญญัติสิกขาบท
ความว่า ภิกษุพึงไปขอเส้นด้ายแก่คฤหัสถ์ซายหญิงที่มิใช่ญาติ มิใช่ปวารณา เอามาวานช่างหูกที่มิใช่ญาติ มิใช่ปวารณา ให้ทอเป็นผืนผ้าควรวิกัป ผ้านั้นเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าเจ้าของด้ายหรือช่างหูกเป็นญาติ หรือเป็นผู้ปวารณาอยู่แต่ฝ่ายหนึ่ง เป็นแต่อาบัติทุกกฏ

๗. มหาเปสการสิกขาบท
ความว่า คหบดีหรือคหปตานีคฤหัสถ์ชายหญิงอันมิใช่ญาติ จึงไปจ้างช่างหูกให้ทอผ้าไว้ หมายใจออกวาจาว่าจะถวายแก่ภิกษุชื่อนั้น ๆ แต่หาได้ปวารณาให้ภิกษุไปดูแลว่ากล่าวให้ทอตามใจชอบไว้แต่ก่อนไม่ ภิกษุได้ยินข่าวแล้วจึงไปสู่หาช่างหูก ว่ากล่าวบังคับให้ทอผ้าให้ยาว กว้าง เนื้อแน่นเรียบร้อย งามดี ให้เกินกำหนดเส้นด้ายที่เจ้าของกำหนดไว้ เพิ่ม บำเหน็จให้แก่ช่างหูกบ้างสักเล็กน้อย โดยที่สุดถึงโภชนบิณฑบาต เมื่อได้ผ้ามาถึงมือเมื่อใด ผ้านั้นเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้ากำหนดให้ทอไม่เกินเส้นด้ายของทายกไป ก็ไม่มีโทษ

๘. อัจเจกจีวรสิกขาบท
ความว่า วันขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ยังอีก ๑๐ วัน จึงจะถึง
🔎วันมหาปวารณา(๖๒) อัจเจกจีวร คือผ้ารีบผ้าด่วนจะพึงเกิดแก่ภิกษุ คือผ้าที่ทายกเป็นไข้หนัก หรือรีบจะไปการศึกสงคราม จะเร่งถวายให้ทันใจจะรอไว้ช้าวันไปไม่ได้ เฉพาะจะถวายตั้งแต่วันขึ้น ๕ ค่ำไป ชื่อว่าอัจเจกจีวร ภิกษุรู้ว่าผ้ารีบผ้าด่วนแล้วพึงทำเถิด จะไม่ได้วิกัปหรืออธิษฐาน ก็พึงไว้ได้ถึงเพ็ญเดือน ๑๒ ถ้าได้กรานกฐินอนุโมทนาแล้ว ก็คุ้มได้ออกไปถึงเพ็ญเดือน ๔ ถ้าไม่วิกัปอธิษฐาน พ้นนั้นแล้วผ้านั้นเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์

๙. สาสังกสิกขาบท
ความว่า ภิกษุอันเข้าปุริมพรรษาในคามันตเสนาสนะ คือวัดใกล้บ้านถ้วนไตรมาสแล้ว เมื่อจะไปอยู่ในเสนาสนะป่าไกลบ้านออกไป ตั้งแต่ ๕๐๐ ชั่วคันธนู คือนับว่า ๒๕ เส้นไปถึง ๑๐๐ เส้น ที่นั้นมีภัยด้วยใจรป่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ฝากจีวรไว้ผืนใดผืนหนึ่งในบ้าน 
🔎โคจร(๖๓) ไกลแต่เสนาสนะมาชั่ว ๕๐๐ คันธนู เป็นอันคุ้มไตรจีวรได้ตลอดถึงเดือนเพ็ญ ๑๒ ถ้าจะมีที่ไปจากเสนาสนะนั้น พึงมายังเสนาสนะนั้นภายใน ๖ วัน ถ้าไม่ทัน🔎อรุณ(๖๔) ในวันที่ ๗ ขึ้นแล้ว ไตรจีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุใช้ได้จีวรอวิปวาสสมมติ จึงไม่เกิดอาบัติปาจิตตีย์

๑๐. ปริณตสิกขาบท
ความว่า ภิกษุผู้รู้อยู่ว่าลาภสิ่งของอันทายกตั้งจิตจะอุทิศถวายสงฆ์ พึงว่ากล่าวชักโยงหน่วงโน้มมาให้ถวายแก่ตน ถ้าถึงมือเมื่อใด ลาภสิ่งของนั้นเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์

จบปัตตวรรค ๑๐ สิกขาบท

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗

วันพฤหัสบดี

โกสิยวรรคที่ ๒

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จัดเป็น ๓ วรรค คือ

จีวรวรรค ๑๐
โกสิยวรรค ๑๐
ปัตตวรรค ๑๐

โกสิยวรรคที่ ๒ มี ๑๐ สิกขาบท
๑. โกสิยสิกขาบท
ความว่า ภิกษุพึงทำเองหรือใช้ให้ผู้อื่นทำ ซึ่ง
🔎สันถัต(๕๔) รองนั่งหล่อเจือด้วยเส้นไหมสันถัตนั้นเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าเป็นสันถัตทอ ไม่เป็นอาบัติ

๒. สุทธกาฬกสิกขาบท
ความว่า ภิกษุทำเองหรือใช้ให้ผู้อื่นทำซึ่งสันถัดด้วยขนเจียมมีสีดำล้วน ไม่หล่อปนอย่างละส่วนให้ต่างสี สันถัดนั้นเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์

๓. ทวิภาคสิกขาบท
ความว่า ภิกษุจะให้ทำสันถัตใหม่หล่อด้วยขนเจียม จึงให้ถือเอาขนสีดำ ๒ ส่วน ขนสีขาว ๑ ส่วน  เป็น ๓ ส่วน ขนเจียมสีแดง ๑ ส่วน เป็น ๔ ส่วน ถ้าไม่เอาตามประมาณที่กำหนดไว้นี้ สันถัดนั้นเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ ขนเจียมสีดำเฉพาะ ๒ ส่วนถ้วน ขนเจียมสีขาว สีแดง ถึงจะเกินกว่าส่วนหนึ่งขึ้นไป ก็ไม่เป็นอาบัติ สันถัตเป็นนิสสัคคีย์ทั้ง ๓ นี้ แม้สละเป็นวินัยกรรมแล้ว ผู้รับจะคืนให้ ก็ไม่ควรจะบริโภคได้อีกเลย

๔. ฉัพพัสสสิกขาบท
ความว่า ภิกษุให้ทำสันถัตหล่อขึ้นใหม่แล้ว พึงทำไว้อาศัยใช้สอยรองนั่งไปตลอด ๖ ปี ถ้ายังไม่ถึง ๖ ปี จะสละแก่ภิกษุอื่นก็ดี ไม่สละก็ดีให้ทำให้หล่อสันถัตใหม่อื่นอีกเล่า สันถัตนั้นเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุอันได้สมมติแต่สงฆ์แล้ว แม้จะหล่อสันถัดใหม่ ก็ไม่เป็นอาบัติ

๕. นิสีทนสันถัตสิกขาบท
ความว่า ภิกษุจะให้ทำให้หล่อสันถัตรองนั่งขึ้นใหม่ พึงให้เอาสันถัตเก่าไว้คืบพระสุคต ๑ โดยรอบ เพื่อจะทำให้เสียสี ถ้าไม่ทำดังว่านี้สันถัดนั้นเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ สันถัตเป็นนิสสัคคีย์ทั้ง ๒ อย่างนี้ ถ้าภิกษุสละเป็นวินัยกรรมแล้วเอามาบริโภคได้ ไม่เป็นอาบัติ

๖. เอพกโลมสิกขาบท
ความว่า ภิกษุเดินทางไกลไปกำหนดด้วย ๑๐๐ โยชน์ จะพึงมีผู้นำเอาขนเจียมมาถวาย เมื่อปรารถนาจะได้ก็พึงรับเถิด ถ้าไม่มีผู้ช่วยนำไปให้ พึงนำไปเองได้ล่วงทางไกลเพียง ๓ โยชน์เป็นอย่างยิ่ง ถ้าเกิน ๓ โยชน์ออกไปสักเส้นผมหนึ่ง ขนเจียมนั้นเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์

๗. เอหกโลมโธวาปนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุพึงใช้ภิกษุณีอันมิใช่ญาติให้ซักหรือย้อม ให้สางเส้นขนเจียม ขนเจียมนั้นเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์

๘. รูปิยคหณสิกขาบท
ความว่า ภิกษุรับเงินทองด้วยมือตนเองก็ดี บังคับให้ผู้อื่นรับไว้เพื่อตนก็ดี ยินดีมุ่งตรงเฉพาะต่อเงินทองที่ตนให้เก็บไว้ก็ดี เงินทองนั้นเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ ใช่จะเป็นนิสสัคคิยวัตถุแต่เงินทองเท่านั้นหามิได้รูป
🔎มาสก(๕๕) ที่สำหรับซื้อจ่ายต่าง ๆ เหมือนอย่างหอยเบี้ยกะแปะปี้ ซึ่งเป็นเครื่องหมายแทนเงินเป็นต้น โดยอย่างต่ำถึงซี่ไม้ไผ่ เม็ดในผลไม้ที่โลกสังเกตกำหนดไว้ใช้ซื้อจ่ายแลกเปลี่ยนได้ตามประเทศนั้น ๆ ภิกษุจะรับยินดีก็ไม่ควร ล้วนเป็นมหานิสสัคคิยวัตถุทั้งสิ้น ก็แลอุบายที่จะบริโภคจตุปัจจัย เพราะอาศัย🔎กัปปิย(๕๖) มูล ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ให้นั้นก็มีอยู่ ถ้ามีผู้นำเอาเงินทองและรูปมาสกมาถวายเป็นราคาจตุปัจจัยสี่ ก็พึงห้ามเสีย อย่าพึงรับ อย่าพึ่งยินดีตรงต่อเงินทองนั้น (เพราะเงินทองเป็นปัจจัยสี่ ทำจีวรไม่ได้ ทำบิณฑบาตไม่ได้ ทำเสนาสะไม่ได้ ทำยาแก้ไข้ก็ไม่ได้ แต่ถ้าไวยาวัจกรเอาเงินไปแลกเปลี่ยนเอาปัจจัยสี่มาถวาย ภิกษุยินดีตรงปัจจัยสี่สักเท่าไร ก็ไม่เป็นนิสสัคคีย์สักบาทเดียว ถ้าภิกษุถูกต้องเสียแล้วก็เป็นนิสสัคคีย์อยู่นั่นแหละ)

ถ้าเขามอบไว้แก่ไวยาวัจกรก็พึงปฏิบัติเช่นอย่างราคาจีวร ที่พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตไว้ในราชสิกขาบทเท่านั้น ถ้ามีผู้เอาเงินทองมากองลงต่อหน้า แล้วว่า “ข้าพเจ้าจะถวายแก่พระผู้เป็นเจ้าไว้ จะได้ซื้อหาสิ่งของอะไรตามปรารถนา” ภิกษุยินดีด้วยใจ แต่ว่าห้ามด้วย กาย วาจา ให้รู้ว่ารับไม่ได้ ไม่ควร ก็ไม่เป็นอาบัติ เมื่อมิได้ห้ามด้วยกาย วาจา แต่ห้ามด้วยจิตว่าไม่ควรรับเป็นแท้ ก็ไม่เป็นอาบัติ ถ้าภิกษุได้ห้ามด้วยกาย หรือวาจาแลจิต แต่อย่างหนึ่งแล้วเขาก็ว่า “ข้าพเจ้าถวายแก่พระผู้เป็นเจ้าเป็นอันขาด” แล้วก็หลีกไปถ้ามีอุบาสกอื่นมาเห็นเขาแล้ว จึงถามขึ้น ภิกษุพึงบอกเล่าไปตามเหตุ อุบาสกนั้นเป็นผู้รู้
🔎วัตรปฏิบัติ(๕๗) ของภิกษุได้รับเข้าแล้วมาว่า “ข้าพเจ้าขอปวารณาเป็นไวยาวัจกร รักษาไว้เอง พระผู้เป็นเจ้าจงแสดงที่รักษาให้ข้าพเจ้าเถิด” ภิกษุบอกว่า “ที่นี้แหละเป็นที่เก็บกัปปิยมูล” จะว่าอย่างนี้ก็ควร แต่อย่าพึ่งบังคับว่า “ท่านเก็บไว้ที่นี้ มิควร ไม่พ้นอาบัติ”

ถ้ามีพ่อค้าขายสิ่งของต่าง ๆ อย่างพ่อค้าร้องขายบาตรมา แม้ว่าภิกษุนั้นอยากจะได้บาตร ฟังว่า “เราก็อยากจะได้บาตรอยู่ กัปปิยมูลก็มีอยู่ แต่ไม่มี🔎กัปปิยการก(๕๘) จะสำเร็จให้” ถ้าว่าพ่อค้านั้นรับเข้ามาว่า “ข้าพเจ้าจะขอรับเป็นกัปปิยการกเอง พระผู้เป็นเจ้าจงเผยประตูชี้ที่เก็บกัปปิยมูลให้ข้าพเจ้าเถิด” ภิกษุจะเผยประตูชี้ที่เก็บให้ว่า “กัปปิยมูลเขาเก็บไว้ที่นี้” ก็ควร แต่อย่าพึ่งบังคับว่า “ท่านจงเอาไป” ดังนี้เป็นอันไม่ควรถ้าพ่อค้าจะให้บาตรควรแก่ราคา ก็พึงรับบาตรนั้นตามปรารถนาเถิด แต่เห็นว่าราคามันมากเกินไป จะห้ามว่า “เราไม่พอใจบาตรของท่านแล้ว กัปปิยมูลนั้นเป็นอย่างใดก็เอาไว้ตามที่เถิด” ดังนี้ก็ควร

ว่ามาทั้งนี้ด้วยประสงค์จะให้รู้อุบายที่จะบริโภคปัจจัยจะไม่ให้เกิดอาบัติ เพราะจิตมิได้ยินดีตรงรูปิยะเงินทองฝ่ายเดียว ถ้าทายกเขามอบหมายกัปปิยมูลไว้กับกัปปิยการก ก็อย่าพึ่งยินดีตรงๆต่อรูปิยะเงินทองนั้นพึงตั้งจิตว่าเราจะได้อาศัยบริโภคปัจจัยที่ควร เมื่อจะปรารถนากัปปิยภัณฑะสิ่งไร ก็อย่าได้บังคับว่า “ท่านจงไปซื้อสิ่งของอันนั้นมาให้แก่เรา” บังคับว่าอย่างนี้ไม่ควรพึ่งบอกเล่าว่า “เราต้องการสิ่งของอันนั้นๆ” พอเป็นกลาง ๆ อย่างนี้จึงควร แต่อันจะห้ามจิตมิให้ยินดีมุ่งตรงต่อรูปิยะเงินทองนั้นยากนัก อาศัยภิกษุมีเจตนาหนักในสิกขาบทนั้นเป็นประมาณ อย่าเห็นแต่การจะรักษากายเลี้ยงท้องให้ยิ่งกว่าการรักษาสิกขาบทเลย

๙. รูปิยสังโวหารสิกขาบท
ความว่า ภิกษุพึงถึงซึ่ง
🔎รูปิยสังโวหาร(๕๙) มีประการต่าง ๆ คือซื้อจ่ายสิ่งของที่แล้วด้วยรูปิยะเงินทองเช่นเดียวกัน แลซื้อจ่ายของที่ควรแก่วัตถุสิ่งของ ซื้อด้วยรูปิยะเงินทอง แลขายด้วย🔎สมณบริขาร(๖๐) เอารูปิยะเงินทองเก็บไว้ สิ่งของทั้งปวงนั้นเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์

วัตถุสิ่งของซื้อมาด้วยรูปิยะเงินทอง สำเร็จด้วยอกัปปิยโวหารนั้น เป็นมหานิสสัคคีย์ ซึ่งจะสละเป็นวินัยกรรม แล้วเอามาใช้สอยไม่ได้อีกต่อไป แม้ว่าสิ่งของเป็นมหานิสสัคคีย์แล้ว ถ้าว่าจะเอาไปปะปนคละเคล้าเข้ากับสิ่งของที่บริสุทธิ์ รสน้ำย้อมเป็นต้นซาบกัน สิ่งที่บริสุทธิ์นั้นก็พลอยเป็นนิสสัคคีย์ไปด้วย เหมือนอย่างรางย้อมผ้าที่เป็นมหานิสสัคคีย์ แล้วรสน้ำย้อมติดซาบอยู่ในรางนั้น ถ้าเอาผ้าที่บริสุทธิ์ไปย้อมลงในรางนั้นเล่า
ให้รสน้ำย้อมติดซาบมาในผ้าที่บริสุทธิ์ ก็พลอยให้ผ้าที่บริสุทธิ์นั้นเป็นนิสสัคคีย์ไปด้วย อนึ่งวัตถุที่บริสุทธิ์แท้แต่อาศัยด้วยมหานิสสัคคีย์วัตถุ ก็พลอยเป็นนิสสัคคีย์ไปด้วย เหมือนอย่างเข็มเย็บผ้าหรือพร้าขวานที่ถากไม้กรัก หม้อที่จะต้มน้ำย้อมผ้า แลฟันที่จะเป็นเชื้อใส่ไฟก็ดี ถ้าเป็นมหานิสสัคคีย์เสียแล้ว ก็พลอยให้ผ้าที่สุย้อมลงในน้ำย้อมนั้นเป็นผ้านิสสัคคีย์ไปด้วย ว่ามาทั้งนี้พอเป็นตัวอย่างที่ภิกษุจะหลบหลีกอาบัติเสีย ไปบริโภคปัจจัยที่ควรตามปรารถนา ไม่ให้เกิดอาบัติได้

๑๐. กยวิกกยสิกขาบท
ความว่า ภิกษุพึงถึงซึ่งความแลกเปลี่ยนมีประการต่าง ๆ คือยื่นให้และรับเอาสิ่งของที่เป็นกัปปิยะต่อสิ่งของที่เป็นกัปปิยะเหมือนกันกับคฤหัสถ์นอกจากสหธรรมิกบริษัททั้ง ๕ คือ
        ภิกษุ ๑
        ภิกษุณี ๑
        
🔎สิกขมานา(๖๐) ๑
        สามเณร ๑
        สามเณรี ๑
สิ่งของที่ภิกษุแลกเปลี่ยนได้มานั้นเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ แม้ว่าบิดามารดาของตัวก็แลกเปลี่ยนสิ่งของนั้นไม่ได้ในสิกขาบทนี้ แต่จะให้กันขอกันไม่ต้องห้าม ตามที่นับว่าญาติและปวารณา อย่าให้เป็นการแลกเปลี่ยนซื้อขายต่อกัน จึงจะพ้นอาบัติ

จบโกสิยวรรค ๑๐ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗