วันจันทร์

ปัจจัยสันนิสสตศีล

ปัจจัยสันนิสสตศีล

บัดนี้จะว่าด้วยปัจจัยสันนิสสตศีล ในปัจจัยสันนิสสตศีลนั้นความว่า ภิกษุพึงพิจารณาปัจจัยทั้ง ๔ คือ

    จีวร เครื่องนุ่งห่ม หรือผ้าอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งสมควรแก่ภิกษุจะบริโภคได้เป็นต้น ๑
    บิณฑบาต ของซึ่งเป็นอาหารอันภิกษุพึงจะรับ ฉันได้ในกาล คือเช้าถึงเที่ยง ๑
    เสนาสนะ เครื่องลาดปู มีที่นั่งหรือที่นอนเป็นต้น จะเป็นเสื่อหรือแผ่นผ้าอันใดก็ตาม ๑
    คิลานปัจจัย สิ่งที่สงเคราะห์เข้าในยาสำหรับรักษา โรคไข้เจ็บ จะเป็นยาวชีวิกก็ฉันได้ตราบเท่าสิ้นชีวิตและ ยามกาลิกมีกำหนดฉันได้ชั่วกาลวันหนึ่งตลอดคืนหนึ่ง หรือชั่ว ๗ วันเป็นกำหนดที่เรียกว่า สัตตาหกาลิก ๑

จบปัจจัยสันนิสสิตศีลสังเขปเท่านี้

สมณวิสัย


วันพฤหัสบดี

อาชีวปรสุทธิศีล

อาชีวปาริสุทธิศีล

บัดนี้ จะว่าในอาชีวปาริสุทธิศีลต่อไป อาชีวปาริสุทธิศีลนั้นว่า ให้ภิกษุพึงแสวงหาเลี้ยงชีพโดยโคจรบิณฑบาต หรือรับภัตตาหารที่ทายกนิมนต์ ซึ่งเป็นอติเรกลาภอันเป็นของบริสุทธิ์ ปราศจากมิจฉาชีพ

เลี้ยงชีวิตด้วยอเนสนากรรม คือการแสวงหาไม่ควร คือ
ให้ดอกไม้ ๑
ให้ผลไม้ ๑
ให้จุณเครื่องทา ๑
ให้ไม้สีฟัน ๑
ให้ไม้ไผ่ ๑

แก่ตระกูลผู้มิใช่ญาติและเป็นหมอให้ยารักษาไข้ แลเป็นทูตเดินข่าวสารของคฤหัสถ์ หรือหาเลี้ยงชีพด้วยอุบายต่าง ๆ มีขวนขวายช่วยทำกิจการงานเป็นต้นที่โลกนับว่าเป็นการประจบประแจงเหล่านี้ เป็นอเนสนากรรม เป็นการแสวงหาไม่ควร เพราะฉะนั้นภิกษุพึงละเว้นจากการแสวงหาเลี้ยงชีวิตอันไม่ควรเหล่านี้เสีย จึงชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยอาชีวปาริสุทธิศีลและพึงทำความศึกษาต่อไปให้ได้ความชัดเจนด้วย


จบอาชีวปาริสุทธิศีลสังเขปเท่านี้ 

สมณวิสัย

🔅 อาชีวปรสุทธิศีล

วันพุธ

อินทรียสังวรศีล

อินทรียสังวรศีล เป็นกิจของสมณะต้องประพฤติเสมอ

บัดนี้จะว่าในอินทรียสังวรศีล ความสำรวมระวังรักษาซึ่งอินทรีย์ทั้ง ๖ อันเป็น🔎อายตนะภายใน เมื่อกระทบถูกอายตนะภายนอก อย่าพึ่งทำความยินดีให้เกิดขึ้นด้วยสังกิเลสธรรม อันเป็นเครื่องเศร้าหมองในสันดาน จึงกำหนดให้เห็นลงด้วยปัญญาเป็นไปสักแต่ว่า🔎ธาตุ และยึดถือเอาพระ🔎ไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ โดยความที่ว่าเป็นของไม่เที่ยง แลเป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน เมื่อทำปัญญาให้เป็นไปโดย🔎ปัจจเวกขณวิธี พิจารณาเห็นลงซึ่งสังขารธรรมให้เป็นไปดังนี้ ก็เป็นเหตุที่จะกำจัดสังกิเลสธรรมเครื่องลามกเศร้าหมองเสียให้ห่างไกลได้ จิตของภิกษุนั้นก็ปราศจากกังวล ตั้งมั่นในการเจริญสมณธรรมเป็นเบื้องหน้า ในอินทรีย์ ๖ นี้ คือ

จักขุนทรีย์
(อินทรีย์ คือ ตา สำหรับดูรูป ๑)
โสตินทรีย์ (อินทรีย์ คือ สำหรับฟังเสียง ๑)
ฆานินทรีย์ (อินทรีย์ คือ จมูก สำหรับดม ๑)
ชิวหินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ลิ้น สำหรับลิ้มรส ๑)
กายินทรีย์ (อินทรีย์ คือ กายสำหรับถูกต้อง โผฏฐพพารมณ์ ๑)
มนินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ใจ สำหรับรู้เหตุผล ๑)

รวมเป็น ๖ ประการ ซึ่งให้สำรวมระวังนั้น คือ

๑. ตาได้มองเห็นรูป
ชายหญิง หรือรูปอื่น ๆ ที่ ประณีตหรือเลวทราม ที่หยาบหรือละเอียดในที่ใดที่หนึ่ง ตนจะชอบใจหรือมิชอบใจก็ตาม อย่าพึงทำความรักยินดี และความไม่รักไม่ยินดี ควรระงับความโสมนัสเป็นต้นเสีย หยั่งปัญญาลงสู่พระไตรลักษณ์แต่ส่วนเดียว อันนี้ ชื่อว่าสำรวมดีแล้วในจักษุ (ตา)

๒. หูได้ยินเสียง
บุรุษหรือสตรี และเสียงอื่น ๆ ในที่ใกล้หรือไกลประการใด อย่าพึ่งทำความรักแลยินดี และไม่รักไม่ยินดี ระงับความโสมนัสแลโทมนัสเป็นต้นเสีย หยั่งปัญญาลงสู่พระไตรลักษณ์แต่ฝ่ายเดียว อันนี้ ชื่อว่าสำรวมดีแล้วในโสตะ (หู)

๓. จมูกได้ดมกลิ่น
เหม็นหรือหอม ก็พึงระงับ ความยินดีแลไม่ยินดีไว้ หยั่งปัญญาลงสู่พระไตรลักษณ์แต่ส่วนเดียว อันนี้ชื่อว่าสำรวมดีแล้วในฆานะ (จมูก)

๔. ลิ้นได้ลิ้มรส
หวาน ขม เปรี้ยว เค็ม เป็นต้น ประการใด ๆ ก็ดี จะเป็นที่ชอบใจ หรือมิชอบก็ตาม จึงระงับความยินดีและไม่ยินดีไว้ พิจารณาให้เห็นเป็นส่วนพระไตรลักษณ์อย่างเดียว อันนี้ชื่อว่าสำรวมดีแล้วในชิวหา (ลิ้น)

๕. กายได้สัมผัส
ถูกต้องเครื่องนุ่งห่ม หรืออาสนะ ที่นั่งนอน อ่อนหรือกระด้าง หรือกระทบความร้อนเย็น เป็นต้นประการใด ๆ ก็ดี พึงระงับความยินดีและอดกลั้นความกระสับกระส่ายเสีย ทำสติให้ระลึกอยู่ในพระไตรลักษณ์ อันนี้ชื่อว่าสำรวมดีแล้วในกาย (ตัว)

๖. ใจที่คิดไปในอารมณ์ใด
ที่เป็นส่วนโลกีย์ ประกอบด้วยโสมนัสหรือโทมนัส ก็พึงอดกลั้น อย่าให้ความกำหนัดยินดีอันเป็นส่วนราคะ หรือความทุกข์เป็นเครื่องเศร้าหมองใจบังเกิดขึ้นในจิตสันดานได้ จึงผูกอยู่ในกรรมฐาน คือ🔎อนุสสติ ๑๐ หรือ🔎สติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น จึงได้ชื่อว่าสำรวมดีแล้วในใจ (ใจ)


รวมเป็นความสำรวมระวังรักษาในอินทรีย์ทั้ง ๖ อย่างนี้เรียกว่าอินทรียสังวรศีล เป็นของภิกษุจะพึง ประพฤติและปฏิบัติ เป็นเครื่องขัดเกลากิเลสเครื่อง เศร้าหมองในสันดานให้น้อยลงหรือระงับไป จิตของภิกษุนั้นจึงจะบริสุทธิ์ได้ เพราะฉะนี้ท่านจึงยกอินทรียสังวรศีล เข้าใจจตุปาริสุทธิศีลด้วย

จบอินทรียสังวรศีลสังเขปแต่เพียงเท่านี้

(อธิบายเพิ่มเติม วิสุทธิมรรค 🔎อินทรียสังวรศีล)

สมณวิสัย

🔅 อินทรียสังวรศีล

วันอังคาร

อธิกรณสมถะ ๗

อธิกรณสมถะ ๗ ประการ
คือ ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแต่งตั้งบัญญัติไว้ เพื่อจะให้พระสงฆ์ระงับอธิกรณ์ ข้อผิดของภิกษุบริษัทที่เกิดขึ้นแล้วนั้น ๆ มีอุบายวิธี ๗ ประการ อธิกรณ์ที่พระสงฆ์จะต้องระงับด้วยอธิกรณสมถะ ๗ นั้นมี ๔ คือ
วิวาทาธิกรณ์ ๑
อนุวาทาธิกรณ์ ๑
อาปัตตาธิกรณ์ ๑
กิจจาธิกรณ์ ๑

เป็น ๔ ประการฉะนี้ อันการที่ภิกษุมีความเห็น🔎วิปลาส(๗๓) เกิดความวิวาท กล่าวต่าง ๆ กัน ให้วิปริตผิดเพี้ยนพระธรรมวินัย นี้ชื่อว่า วิวาทาธิกรณ์ การที่ภิกษุติดตาม ว่ากล่าว ทักท้วง ยกโทษกันด้วย🔎ศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ อาชีววิบัติ(๗๘-๘๑) แต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้ชื่อว่า อนุวาทาธิกรณ์ การที่ภิกษุต้องอาบัติทั้ง ๗ กอง คือ ปาราชิก ๑ สังฆาทิเสส ๑ ถุลลัจจัย ๑ ปาจิตตีย์ ๑ ปาฏิเทสนียะ ๑ ทุกกฏ ๑ ทุพภาสิต ๑ แต่กองใดกองหนึ่ง นี้ชื่อว่า อาปัตตาธิกรณ์ การที่ภิกษุทำกิจที่พระสงฆ์จะพึงกระทำทั้ง ๔ คือ 🔎อปโลกนกรรม(๘๒) ดังอปโลกน์เข้าสงฆ์ ๑ ญัตติกรรมอย่างสวดอุโบสถแลสวดปวารณา ๑ ญัตติทุติยกรรม
อย่างสวดผูกสวดถอนพัทธสีมาแลสวดกฐิน ๑ ญัตติจตุตถกรรม อย่างสวดอุปสมบทและสวดปริวาส มานัต อัพภาน ๑ กรรมทั้ง ๔ นี้กำเริบเพราะไม่เป็นกรรม หรือไม่เป็นวรรค เป็นญัตติวิบัติ เป็นอนุสาวนาวิบัติ แต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้ชื่อว่า กิจจาธิกรณ์

อธิกรณ์ทั้ง ๔ นี้ พระสงฆ์พึงระงับลงไว้ด้วยอธิกรณสมถะ มีอุบายวิธีเป็น ๗ ประการ คือ
อุบายวิธีที่ ๑.
ให้พระสงฆ์จึงให้🔎สัมมุขาวินัย(๘๓) นำอธิกรณ์เสียเฉพาะหน้าพระสงฆ์ เฉพาะหน้าพระวินัยธร เฉพาะหน้าโจทก์จำเลยยอมรับผิดชอบพร้อมหน้ากัน

อุบายวิธีที่ ๒.
ให้พระสงฆ์พึงให้สติวินัย นำอธิกรณ์เสียด้วย อันสมมติให้เป็นผู้มีสติแท้ ดังสมมติให้แก่พระอรหันตเจ้า

อุบายวิธีที่ ๓.
ให้พระสงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยนำอธิกรณ์เสียได้ ให้เป็นแต่เพียงว่าผู้หลงเคลิ้มสติไปเฉพาะเป็นบ้า จะโจทก์นำอธิกรณ์ให้ระงับด้วยก็มิขึ้น ปรับอาบัติก็ไม่ได้

อุบายวิธีที่ ๔.
ให้พระสงฆ์พึงให้ปฏิญญาตกรณะ ปฏิญญาณรับโทษสมคำโจทก์จำเลย

อุบายวิธีที่ ๕.
ให้พระสงฆ์พึงให้เยยยสิกา กิริยาที่ให้อธิกรณ์ระงับด้วยพวกธรรมวาที่ชุกชุมมากว่า สมมติให้สัญญาแก่กันตามสำคัญด้วยฉลาก

อุบายวิธีที่ ๖.
ให้พระสงฆ์พึงให้ตัสสปาปิยสิกา กิริยาที่ให้อธิกรณ์ระงับด้วยสมมติยกโทษแก่ภิกษุมีบาปหนาหนักต้องอาบัติเนือง ๆ กำจัดเสียจากหมู่สงฆ์ ทรมานให้ละพยศลง เห็นว่าเธอนั้นยังจักเยียวยาได้ พึงสวดระงับอธิกรณ์ให้

อุบายวิธีที่ ๗.
ให้พระสงฆ์พึงให้ติณวัตถารกวินัย นำอธิกรณ์ให้สงบลงไว้ ดังลาดหญ้าทับกองคูถไว้ เพราะอธิกรณ์นั้นหยาบช้าเข้มข้นจวนจะถึงสังฆเภท พระวินัยธรตัดสินไม่ตกลง พระสงฆ์จึงพร้อมกันสวดสัญญาให้อธิกรณ์นั้นสาบสูญเสีย

ธรรม ๗ ประการนี้ ชื่อว่า อธิกรณสมถะ เป็นวิธีที่จะระงับข้อผิดกิจพระวินัยบัญญัติของภิกษุบริษัท พระธรรมวินัย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ ได้ยกขึ้นยังพระปาฏิโมกขุเทศ เป็นประเภทสิกขาบทบัญญัติรวมเข้าไว้เป็น ๒๒๗ สิกขาบท สำหรับพระสงฆ์ทำอุโบสถทุกระยะกึ่งเดือน สืบศาสนายุกาลมาถึงกาลปัจจุบันนี้ ขอท่านทั้งหลายแต่บรรดาที่อุปสมบทในพระพุทธศาสนาจงอุตสาหะท่องบ่นพระบาลีปาฏิโมกข์ให้จำขึ้นวาจา ใจ กำหนดความตามข้อพระพุทธบัญญัติที่ได้คัดขึ้นไว้โดยย่อนี้ให้แม่นยำ แล้วพึงศึกษาเล่าเรียนไว้ไถ่ถามหาความพิสดารต่อไป

จบพระปาฏิโมกขสังวรศีล ๒๒๗ สิกขาบท


🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗

ปกิณกะ ๓

เสขิยวัตร ๗๕

เสขิยวัตร ๗๕ สิกขาบท กำหนดนับ ๑๐ สิกขาบทเป็นวรรคหนึ่ง ๆ ได้ ๗ วรรค อีก ๕ สิกขาบทนั้นจัดเป็น ๑ รวมเป็น ๘ วรรค  
    
(สารูป ๒๖) การกระทำให้สมควรแก่สมณะ
(โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐) วิธีที่จะขบฉัน
(ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖) การแสดงธรรม
(ปกิณกะ ๓คือที่เรี่ยรายอยู่นำมายกขึ้นสู่อุเทศ


ปกิณกะมี ๓ สิกขาบท 
ในปกิณกะ ๓ สิกขาบทนี้ ให้ภิกษุพึงทำความศึกษาสำเหนียกหมายไว้ ดังนี้

สิกขาบทที่ ๑.
ว่าเรามิได้เจ็บไข้ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระปัสสาวะ

สิกขาบทที่ ๒.
ว่าเรามิได้เจ็บไข้ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ บ้วนน้ำลาย รดลงในภูตคามอันเขียวสด คือ กอไม้ หย่อมหญ้า เครือลัดดา เสวาลชาติ อันงอกงามบนบกและในน้ำ

สิกขาบทที่ ๓.
ว่าเรามิได้เจ็บไข้ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ บ้วนน้ำลาย ลงไปในน้ำที่ควรจะดื่มกินได้

ให้ภิกษุพึงสำเหนียกนึกหมายจำไว้ ในปกิณกะสิกขาบทนี้

จบเสขิยวัตร ๗๕ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗

ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖

เสขิยวัตร ๗๕

เสขิยวัตร ๗๕ สิกขาบท กำหนดนับ ๑๐ สิกขาบทเป็นวรรคหนึ่ง ๆ ได้ ๗ วรรค อีก ๕ สิกขาบทนั้นจัดเป็น ๑ รวมเป็น ๘ วรรค  
    
(สารูป ๒๖) การกระทำให้สมควรแก่สมณะ
(โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐) วิธีที่จะขบฉัน
(ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖การแสดงธรรม
(ปกิณกะ ๓) คือที่เรี่ยรายอยู่นำมายกขึ้นสู่อุเทศ


ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์มี ๑๖ สิกขาบท
ในเทสนาปฏิสังยุตต์นั้น ให้ภิกษุผู้จะแสดงธรรมกล่าวสั่งสอนพึงศึกษาสำเหนียกนึกไว้ในใจ ดังนี้

สิกขาบทที่ ๑.
ว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้อันถือร่มกางอยู่ในมือ

สิกขาบทที่ ๒.
ว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้อันถือท่อนไม้กระบอง ๔ ศอกอยู่ในมือ

สิกขาบทที่ ๓.
ว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้อันถือศัสตรา คือ มีด พร้า ดาบ หอก ง้าว ตรี เป็นต้น

สิกขาบทที่ ๔.
ว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ถืออาวุธ คือ ธนู หน้าไม้ เกาทัณฑ์ ขวาก หลาว เป็นต้น

สิกขาบทที่ ๕.
ว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ อันสอดใส่รองเท้าไม้ฟังอยู่

สิกขาบทที่ ๖.
ว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ อันสอดใส่รองเท้าต่าง ๆ ยืนฟังธรรม

สิกขาบทที่ ๗.
ว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ อันนังฟังบนยวดยาน คานหาม รถ เกวียน เป็นต้น

สิกขาบทที่ ๘.
ว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ อันนอนฟังอยู่บนที่นอน

สิกขาบทที่ ๙.
ว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ อันนั่งรัดเข่าด้วยมือหรือผ้าฟังอยู่

สิกขาบทที่ ๑๐.
ว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ อันสวมหมวกโพกพันศีรษะฟังอยู่

สิกขาบทที่ ๑๑.
ว่าเราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ อันคลุมศีรษะฟังอยู่

สิกขาบทที่ ๑๒.
ว่าเรานั่งอยู่ไม่มีเครื่องปูลาด จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ อันนั่งอยู่บนอาสนะมีเครื่องปูลาด

สิกขาบทที่ ๑๓.
ว่าเรานั่งอาสนะต่ำ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ อันนั่งฟังอยู่บนอาสนะสูง

สิกขาบทที่ ๑๔.
ว่าเราจักไม่ยืนแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ อันนั่งฟังอยู่

สิกขาบทที่ ๑๕.
ว่าเราเดินไปข้างหลังจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นใข้ อันเดินไปข้างหน้า

สิกขาบทที่ ๑๖.
ว่าเราเดินไปอยู่นอกหนทาง จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ อันเดินไปตามทาง

ให้ภิกษุพึงศึกษาสำเหนียกในวิธีแสดงธรรม อย่าให้ผิดจากพระพุทธบัญญัติ ในเทสนาปฏิสังยุตต์สิกขาบทนี้ ถ้าผิดจากนี้เป็นอาบัติทุกกฏ

จบธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ ๑๖ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗

วันจันทร์

โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐

เสขิยวัตร ๗๕

เสขิยวัตร ๗๕ สิกขาบท กำหนดนับ ๑๐ สิกขาบทเป็นวรรคหนึ่ง ๆ ได้ ๗ วรรค อีก ๕ สิกขาบทนั้นจัดเป็น ๑ รวมเป็น ๘ วรรค  
    
(สารูป ๒๖) การกระทำให้สมควรแก่สมณะ
(โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐วิธีที่จะขบฉัน
(ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖) การแสดงธรรม
(ปกิณกะ ๓) คือที่เรี่ยรายอยู่นำมายกขึ้นสู่อุเทศ

โภชนปฏิสังยุตต์มี ๓๐ สิกขาบท 
ในโภชนปฏิสังยุตต์ ให้ภิกษุพึงสำเหนียกไว้ ดังนี้

สิกขาบทที่ ๑.
ว่าเราจักทำสติเคารพรับบิณฑบาตให้เรียบร้อย มิได้ทำอาการไม่รู้ไม่เห็น เหมือนจะสาดเทเสีย

สิกขาบทที่ ๒.
ว่าเราจักหมายใจทอดนัยน์ตาลงในบาตร ไม่เหม่อเมินสายตาไปอื่นรับบิณฑบาต

สิกขาบทที่ ๓.
ว่าเราจักรับบิณฑบาตมี🔎สูปะ(๗๖) เสมอ คือ จะรับถั่วเขียว ถั่วขาว ผัก ที่แค่นควรจะนำไปด้วยมือ
ได้ พอให้เท่ากับส่วนเสี้ยวที่ ๔ แห่งข้าวสุกไม่ให้เกินประมาณ แต่จะรับกับแกงปลาเนื้อสิ่งอื่น ๆ ไม่ต้องห้าม

สิกขาบทที่ ๔.
ว่าเราจักรับบิณฑบาต พอเสมอขอบบาตรข้างใน ไม่ให้ล้นพูนปากบาตรขึ้นไป

สิกขาบทที่ ๕.
ว่าเราจักฉันบิณฑบาตทำสติเคารพ ไม่ทำอาการดังกินเล่นเช่นเด็กกิน

สิกขาบทที่ ๖.
ว่าเราจักหมายมุ่งลงในบาตร ฉันบิณฑบาตไม่เมินหน้าสายตาดูอื่น ๆ

สิกขาบทที่ ๗.
ว่าเราจักฉันบิณฑบาตเกลี่ยเสมอหน้า เปิบพอคำ ไม่ขุดเจาะให้เป็นหลุมเป็นร่องรอยลง

สิกขาบทที่ ๘.
ว่าเราจักฉันบิณฑบาต มีสูปะเครื่องคั่วผัดแล้วด้วยถั่ว พอเสมอเลี้ยวที่ ๔ แห่งข้าวสุกดังกล่าวมาแล้ว

สิกขาบทที่ ๙.
ว่าเราจักฉันบิณฑบาต ไม่ฟั้นฟอนแต่จอมกลาง กวาดมูนเข้ามาฟอนฉันแต่ตรงกลางแห่งเดียว

สิกขาบทที่ ๑๐.
ว่าเราจักมิได้กลบกับแกล้ม เครื่องคั่ว ผัด พล่า ยำ ปิ้ง จี่ทั้งปวงไว้ด้วยข้าวสุก เพราะหมายใจจะให้ทายกเอากับแกล้มอื่นมาเพิ่มเติมให้มากขึ้นด้วยโลภอาหาร

สิกขาบทที่ ๑๑.
ว่าเราไม่ได้เจ็บไข้ จักไม่ขอต้มแกงแลข้าวสุกแก่คนนอกจากญาติแลผู้ปวารณา เพื่อจะฉันเองแล้วจึงฉัน

สิกขาบทที่ ๑๒.
ว่าเราจักไม่หมายใจจะยกโทษ แลดูบาตรของภิกษุอื่น เพราะจะเพ่งเล็งโทษเป็นประมาณ

สิกขาบทที่ ๑๓.
ว่าเราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่นัก คือทำคำข้าวให้ย่อมกว่าไข่นกยูงลงมา ให้เขื่องกว่าไข่ไก่ขึ้นไป

สิกขาบทที่ ๑๔.
ว่าเราจักทำคำข้าวให้เป็นปริมณฑล คือทำให้กลมในซองมือ ไม่ปั้นให้รียาว

สิกขาบทที่ ๑๕.
ว่าเราจักไม่อ้าปากไว้คอยทำคำข้าว เมื่อเปิบคำข้าวยังไม่ถึงปาก

สิกขาบทที่ ๑๖.
ว่าเราจักไม่เปิบคำข้าว ป้อนนิ้วมือเข้าไปในปาก

สิกขาบทที่ ๑๗.
ว่าเราจักไม่พูดทั้งคำข้าว คือไม่อมคำข้าวเคี้ยวพลางพูดพลาง

สิกขาบทที่ ๑๘.
ว่าเราจักไม่เปิบคำข้าว โยน ซัดทิ้งให้เข้าไปในปาก

สิกขาบทที่ ๑๙.
ว่าเราจักไม่กัดคำข้าว แบ่งฉันแต่พอปาก กับแกล้มสิ่งอื่นไม่ต้องห้าม

สิกขาบทที่ ๒๐.
ว่าเราจักไม่ไพล่คำข้าวไว้ในแก้มให้พองตุ่ยดังลิงอมข้าวกิน

สิกขาบทที่ ๒๑.
ว่าเราจักไม่เปิบคำข้าว ฉันพลางสะบัดมือพลางให้เมล็ดข้าวสุกกระเด็นไป

สิกขาบทที่ ๒๒.
ว่าเราจักไม่เปิบคำข้าว ฉันเรี่ยรายเมล็ดข้าวให้ร่วงพรูสาง

สิกขาบทที่ ๒๓.
ว่าเราจักไม่แลบลิ้นรับคำข้าว

สิกขาบทที่ ๒๔.
ว่าเราจักไม่ฉันให้เสียงดังจับ ๆ

สิกขาบทที่ ๒๕.
ว่าเราจักไม่ฉันดูดเข้าสูดลมให้เสียงดังซูด ๆ

สิกขาบทที่ ๒๖.
ว่าเราจักไม่ฉันเลียมือ

สิกขาบทที่ ๒๗.
ว่าเราจักเปิบคำข้าวฉัน ไม่ขอดบาตรด้วยมือ แต่เมื่อจวนหมดจักกวาดรวมเข้า ไม่ต้องห้าม ข้าวต้ม ข้าวเปียกอันติดบาตรนั้น ขอด ไม่มีโทษ

สิกขาบทที่ ๒๘.
ว่าเราจักฉันไม่แลบลิ้นเลียริมฝีปาก

สิกขาบทที่ ๒๙.
ว่าเราจักไม่จับโอนฉันด้วยมืออันแปดเปื้อนอามิส

สิกขาบทที่ ๓๐.
ว่าเราจักไม่สาดเทน้ำล้างบาตร ทั้งเมล็ดข้าวลงในถิ่นบ้าน

ให้ภิกษุพึงทำความศึกษาในวิธีอันประกอบด้วยการขบฉัน อย่าให้ล่วงพระพุทธบัญญัติในโภชนปฏิสังยุตต์ ๓๐ สิกขาบทนี้
ถ้าผิดจากนี้เป็นอาบัติทุกกฏ

จบโภชนปฏิสังยุตต์ ๓๐ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗

สารูป ๒๖

เสขิยวัตร ๗๕

เสขิยวัตร ๗๕ สิกขาบท กำหนดนับ ๑๐ สิกขาบทเป็นวรรคหนึ่ง ๆ ได้ ๗ วรรค อีก ๕ สิกขาบทนั้นจัดเป็น ๑ รวมเป็น ๘ วรรค  
    
(สารูป ๒๖) การกระทำ
ให้สมควรแก่สมณะ
(โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐) วิธีที่จะขบฉัน
(ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖) การแสดงธรรม
(ปกิณกะ ๓) คือที่เรี่ยรายอยู่นำมายกขึ้นสู่อุเทศ

สารูปมี ๒๖ สิกขาบท
ในสารูป ๒๖ นี้ให้ภิกษุพึงทำการศึกษาฝึกใจสำเหนียกไว้อย่าให้หลงลืม ดังนี้
สิกขาบทที่ ๑.
ว่าเราจักนุ่งผ้าให้เป็น🔎ปริมณฑล(๗๗) คือนุ่งสงบจีบให้ชายเสมอกัน เหน็บพกให้แนบเนียน เหนือสะดือ
ขึ้นไปสัก ๔ นิ้ว ปิดเข่าลงมาประมาณ ๘ นิ้ว เมื่อนั่งลงก็จะคงปิดเข่า ๔ นิ้ว อย่างนี้ชื่อว่านุ่งผ้าเป็นปริมณฑล

สิกขาบทที่ ๒.
ว่าเราจักห่มผ้าจีวรให้เป็นปริมณฑล ถ้านอกเขตวัดให้ห่มคลุมผสมมุมม้วนขวาเข้าให้เสมอกัน (ตามบาลีใน มหาอัตฤกถาคัมภีร์ จตุตถสมันตปาสาทิกาคัมภีร์ มังคลัตถทีปนีคัมภีร์ ว่า สมปุปมาณํ จีวรํ ปารปนฺเตน สํหริตฺวา พาหาย อุปริ จปิตา อุโภ อนุตา พหิมุขา ติฏฐนุติ แปลความว่า ชายทั้ง ๒ อันพระภิกษุเมื่อห่มซึ่งจีวรจัดให้เสมอกัน ม้วนเข้าแล้ววางไว้เบื้องบนแห่งแขน มีหน้าในภายนอกให้ตั้งอยู่ริมอนุวาต ปกคอพันข้อมือแล้วหนีบไว้ใต้รักแร้ วางมอบบนแขนซ้าย ปกแข้งลงประมาณ ๔ นิ้ว ถ้าในเขตวัดให้ลดเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ถ้าห่มครองให้ชักจีวรแถบซ้ายพับขึ้นมาพาดบ่าเป็นสองชั้น พาดสังฆาฏิหน้าหลังเท่ากัน ยื่นหลังถึงขอบสบง เรียกว่า หางค่างหางโค ยื่นข้างหน้ามากเรียกว่า ชายแครงชายไหว ไม่ควร คาดรัดประคดเอวใต้นมสองนิ้ว อย่าให้ต่ำเลย ๔ นิ้ว ต้องนุ่งห่มให้เป็นปริมณฑลก่อน จึงแสดงอาบัติตก)
        หมายเหตุ : ข้อความทั้งหมดในวงเล็บ เป็นข้อความที่เรียบเรียงเพิ่มเติมไว้ในฉบับ ร.ศ. ๑๒๘

สิกขาบทที่ ๓.
ว่าเราจักนุ่งห่มให้เป็นปริมณฑล ปกปิดกายด้วยดีตามวิธีที่กล่าวแล้ว เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๔.
ว่าเราจักนุ่งห่มปกปิดกายด้วยดี นั่งในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๕.
ว่าเราจักสำรวมด้วยดี ไม่คะนองมือคะนองเท้า เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๖.
ว่าเราจักสำรวมด้วยดี ไม่คะนองมือคะนองเท้า นั่งในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๗.
ว่าเราจัดทอดนัยน์ตาลงดูข้างหน้าเพียงสัก ๔ ศอก ไม่เหลียวซ้ายเหลียวขวา ไม่กลับหลังมาแลดู เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๘.
ว่าเราจักทอดตาแลดูเพียง ๔ ศอกไม่เหม่อเมินสายตาดู นั่งในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๙.
ว่าเราจักไม่เลิกจีวรขึ้นพาดบ่า ให้เห็นสายประคด เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๑๐.
ว่าเราจักไม่เลิกจีวรขึ้นพาดบ่า นั่งในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๑๑.
ว่าเราจักไม่หัวเราะดังคิกคัก เฮฮา เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๑๒.
ว่าเราจักไม่หัวเราะดังคิกคัก เฮฮา นั่งในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๑๓.
ว่าเราจักไม่พูดเสียงดังให้เกินขนาดเสียง เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๑๔.
ว่าเราจักไม่พูดเสียงดังให้เกินขนาดเสียง นั่งในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๑๕.
ว่าเราจักไม่โยกโคลงกาย เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๑๖.
ว่าเราจักไม่โยกโคลงกาย นั่งในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๑๗.
ว่าเราจักไม่กรีดกรายแขน เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๑๘.
ว่าเราจักไม่กรีดกรายแขน นั่งในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๑๙.
ว่าเราจักไม่โคลงศีรษะ กลอกหน้า เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๒๐.
ว่าเราจักไม่โคลงศีรษะ กลอกหน้า นั่งในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๒๑.
ว่าเราจักไม่เท้าสะเอว เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๒๒.
ว่าเราจักไม่เท้าแขน นั่งในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๒๓.
ว่าเราจักไม่คลุมศีรษะ เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๒๔.
ว่าเราจักไม่คลุมศีรษะ นั่งในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๒๕.
ว่าเราจักไม่เขย่งเท้า เดินไปในถิ่นบ้าน

สิกขาบทที่ ๒๖.
ว่าเราจักไม่รัดเข่าด้วยมือหรือผ้า นั่งในถิ่นบ้าน

ให้ภิกษุพึงสำเหนียกนึกหมายไว้ตามกิจ เป็นสารูปแก่สมณะทั้ง ๒๖ อย่างนี้
ถ้าผิดจากนี้ต้องอาบัติทุกกฏ

จบสารูป ๒๖ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗