วันเสาร์

พุทธธรรม

หลักธรรมต่างๆ ไม่ว่าจะมีชื่อใดๆ ล้วนสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งสิ้น เพราะแสดงถึงหรือสืบเนื่องมาจากสัจธรรมเดียวกัน และเป็นไปเพื่อจุดหมายเดียวกัน แต่นำมาแสดงในชื่อต่างๆกัน โดยชี้ความจริงเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง คนละส่วนละตอนกันบ้าง แสดงคนละรูปละแนว เพื่อวัตถุประสงค์คนละอย่างบ้าง บางข้อเป็นส่วนย่อยของหลักใหญ่ บางข้อเป็นหลักใหญ่ด้วยกัน แต่มีแนวหรือรูปแบบการแสดงและความมุ่งหมายจำเพาะในการแสดงต่างกัน ลักษณะทั่วไปของพุทธธรรมนั้น สรุปได้ ๒ อย่าง คือ

๑. มัชเฌนธรรมเทศนา (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ)

หลักความจริงที่เป็นกลางตามธรรมชาติ หรือ ธรรมที่เป็นกลาง ว่าด้วยความจริงตามแนวของเหตุผลบริสุทธิ์ตามกระบวนการของธรรมชาติ นำมาแสดงเพื่อประโยชน์ในทางปฏิบัติในชีวิตจริงเท่านั้น ไม่ส่งเสริมการเข้าถึงสัจธรรมด้วยวิธีถกเถียงสร้างทฤษฎีต่างๆ และการเก็งความจริงทางปรัชญา

๒. มัชฌิมาปฏิปทา (มรรค)

ข้อปฏิบัติที่เป็นกลางตามธรรมชาติ หรือ ทางสายกลาง เป็นภาคปฏิบัติอันเป็นหลักการครองชีวิตของผู้ฝึกอบรมตน ผู้รู้เท่าทันชีวิต ไม่หลงงมงาย มุ่งผลสำเร็จคือ ความสุข สะอาด สว่าง สงบ เป็นอิสระ ที่สามารถมองเห็นได้ในชีวิตนี้

ทางสายกลางนั้น มิใช่หมายถึงอยู่กึ่งกลางระหว่าง ที่สุดทั้ง ๒ ทาง หรือกึ่งกลางของทางหลายๆทาง แต่หมายถึง ความมีเป้าหมายที่แน่ชัด แล้วกระทำตรงจุด พอเหมาะพอดีจะให้ผลสำเร็จตามเป้าหมายนั้น ไม่เขวออกไปเสีย ทางสายกลางนี้ถ้าไม่เริ่มต้นด้วยสัมมาทิฏฐิ ก็ไม่มีมัชฌิมาปฏิปทา ถ้าไม่ดำเนินตามมัชฌิมาปฏิปทา ก็แก้ปัญหาดับทุกข์ไม่สำเร็จ


( พุทธธรรมอย่างย่อ)

๑ . มัชเฌนธรรมเทศนา (ภาคแสดงหลักการ)
๑.๑ มัชเฌนธรรมเทศนา
๑.๒ ขันธ์ ๕
๑.๓ อายตนะ ๖ และวิธีปฏิบัติต่อทุกข์-สุข ๔
๑.๔ สัจจะ ๒ ระดับ
๑.๕ ไตรลักษณ์
๑.๖ ประมวลความหมายของอนัตตา
๑.๗ ปฏิจจสมุปบาท
๑.๘ ธรรมนิยาม
๑.๙ กิเลส
๑.๑๐ กรรม
๑.๑๑ กรรม ๑๒
๑.๑๒ แก้กรรม ด้วยปฏิกรรม
๑.๑๓ นิพพาน : ประโยชน์สูงสุดที่มนุษย์ควรจะได้จากชีวิตนี้
๑.๑๔ ภาวะแห่งนิพพาน
๑.๑๕ ลักษณะของพระอรหันต์ผู้เข้าถึงนิพพาน (ภาวิต ๔)
๑.๑๖ ความพร้อมที่จะมีความสุข
๑.๑๗ วิมุตติ ๕
๑.๑๘ ความเข้าใจสับสนเกี่ยวกับนิพพาน
๑.๑๙ นิพพาน มีอัตตาไหม เป็นอัตตาไหม?
๑.๒๐ พระอริยบุคคล
๑.๒๑ สังโยชน์ ๑๐
๑.๒๒ พระอริยบุคคล ๗ (ทักขิไฌยบุคคล ๗)
๑.๒๓ โสดาปัตติยังคะ ๔
๑.๒๔ สำนวนแสดงความแตกต่างระหว่างพระอริยบุคคลแต่ละระดับ
๑.๒๕ หลักการบรรลุนิพพาน
๑.๒๖ ปริญญา
๑.๒๗ หลักวิปัสสนาบางส่วนจากพระไตรปิฎก
๑.๒๘ วิสุทธิ ๗
๑.๒๙ ความเข้าใจเรื่องจิตตามหลักพระพุทธศาสนา
๑.๓๐ ตัวอย่างกระบวนการของจิตแบบ “อติมหันตารมณ์”
๑.๓๑ ประเด็นเรื่องจิตเดิมแท้

๒. มัชฌิมาปฏิปทา (ภาคปฏิบัติ)
๒.๑ มัชฌิมาปฏิปทา (มรรค ๘)
๒.๒ บุพนิมิตแห่งมรรค
๒.๓ ธรรมานุธรรมปฏิบัติ
๒.๔ การมองโลกตามความเป็นจริง
๒.๕ มรรค ๘ : ทางแห่งการเป็นอยู่ด้วยปัญญา
        ๒.๕.๑ หมวดปัญญา : สัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปปะ
        ๒.๕.๒ หมวดศีล : สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะ
        ๒.๕.๓ หมวดสมาธิ : สัมมาวายามะ, สัมมาสติ, สัมมาสมาธิ
                ๒.๕.๓.๑ ระดับของสมาธิ
                ๒.๕.๓.๒ วิธีเจริญสมาธิโดยใช้กรรมฐาน : อานาปานสติ /โอทาตกสิณ / อัปปมัญญา ๔
                ๒.๕.๓.๓ ประโยชน์ของสมาธิ
                ๒.๕.๓.๔ สติปัฏฐาน ๔
๒.๖ ถ้าปฏิบัติธรรมถูกทาง ต้องได้ปราโมทย์
๒.๗ ความไม่ประมาท
๒.๘ อริยสัจ ๔ : ความจริงอันประเสริฐ, สัจจะอย่างอริยะ

๓. อารยธรรมวิถี
๓.๑ อารยธรรมวิถี (วิถีชีวิตของคนมีอารยธรรม)
๓.๒ ความสุข และปัญหาเกี่ยวกับแรงจูงใจ
๓.๓ ความหมายของ ศีล วินัย สิกขาบท พรต วัตร ตบะ
๓.๔ พุทธศาสนา คือ ระบบการพัฒนาความสุข
๓.๕ ระดับขั้นของความสุข
๓.๖ ข้อเสีย หรือจุดบกพร่องของกามสุข
๓.๗ ข้อบกพร่องของฌานสุข
๓.๘ นิพพานสุข และบทลงท้าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น